เจ็บแต่จบ หรือยืดเยื้อแบบเรื้อรัง

เจ็บแต่จบ หรือยืดเยื้อแบบเรื้อรัง


ถ้าทำตามทฤษฎีอย่างนี้แล้ว ในชีวิตจริงท่านคิดว่าคนที่ทำงานแบบเรื่อย ๆ มาเรียง ๆ จนเงินเดือนตันจะทำงานและรับผิดชอบมากขึ้นกว่าเดิมได้จริงหรือเปล่าล่ะครับ ?

เพราะความเป็นจริง (ที่ไม่ได้อยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์) ก็คือพอไปเลื่อนตำแหน่งคนที่เงินเดือนตันแต่ขาดศักยภาพ ขาดความสามารถที่จะรับผิดชอบในตำแหน่งที่สูงขึ้นไปได้นั้น ก็จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาอีกหลาย ๆ ด้านที่จะเข้าคิวกันมาให้แก้ไขกันแบบไม่จบไม่สิ้นยังไง อาทิ

1. เมื่อคนที่ถูกเลื่อนขึ้นไปไม่สามารถ perform ได้ในตำแหน่งนั้น ๆ

บริษัทจะลดตำแหน่งหรือลดเงินเดือนลงมาก็ไม่ได้ แถมปัญหายังตามมาอีกว่า แล้วจะย้ายคนคนนี้ไปที่ไหนดี เพราะถ้าปล่อยให้ทำงานในตำแหน่งนี้ก็จะทำให้งานสะดุดมีปัญหาไปหมด

2. แม้จะถูกเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น แต่เจ้าตัวก็ยังทำงานเหมือนเดิม แบบเดิม

ที่เพิ่มเติมคือเพดานเงินเดือนที่สูงมากขึ้น ในขณะที่บริษัทต้องแบกรับ staff cost ที่เพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่พนักงานทำงานเท่าเดิมหรือเผลอ ๆแย่กว่าเดิมเสียอีก อย่างนี้เป็นธรรมไหมสำหรับบริษัท

3. คนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกน้องก็ไม่ยอมรับ ไม่ศรัทธา

เพราะอายุงานมากขึ้นเพียงอย่างเดียวแต่ performance เท่าเดิมหรือลดลงก็จะไม่สามารถบริหารหรือจูงใจลูกน้องที่เป็นคนรุ่นใหม่เอาไว้ได้ โดยเฉพาะลูกน้องที่มีฝีมือมีศักยภาพก็จะทยอยกันหนี เข้าตำรา “เลื่อนตำแหน่ง 1 ครั้ง ได้หัวหน้าที่เลวเพิ่มขึ้น 1 คน แต่เสียลูกน้องที่เก่ง ๆไปเกือบหมด” เพราะไปนั่งขวางทางน้อง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่า

4. สร้างค่านิยมผิด ๆ ให้กับพนักงานในองค์กรว่าทำงานไม่ดีไม่เป็นไร

ขอให้ทู่ซี้อยู่ไปนาน ๆ ยาวไป…ยาวไปก็แล้วกัน เดี๋ยวบริษัทก็เลื่อนตำแหน่งให้เอง ถ้ามีคนคิดอย่างงี้มาก ๆ ถามว่าบริษัทนั้นจะเป็นยังไงในอนาคต

5. ฯลฯ

ทั้งหมดที่ผมพูดมานี้ไม่ได้แปลว่าไม่เห็นใจคนเก่าที่ทำงานอยู่กับบริษัทมานานนะครับ ผมเข้าใจดี เพราะทำงานอยู่กับเรื่องพวกนี้มากว่า 35 ปีแล้ว แต่อยากจะให้มองด้วยใจเป็นธรรมคือ “พนักงานต้องไม่เอาเปรียบบริษัท ในขณะที่บริษัทก็ต้องไม่เอาเปรียบพนักงาน” ด้วยเช่นเดียวกัน

การทำงานมายาวนานกับบริษัทเป็นเรื่องดี แสดงถึงความผูกพัน ความมี loyalty ที่ดีกับองค์กรในด้านหนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่งพนักงานก็ควรจะต้องพัฒนาตัวเองให้มีขีดความสามารถให้เพิ่มขึ้นเพื่อเติบโตไปพร้อมกับบริษัทเพื่อให้มีผลงานที่ดีมากขึ้นไปด้วยเช่นเดียวกัน

เพราะถ้าใครคิดว่าอยู่มานานเพียงอย่างเดียวแล้วทำทุกอย่างเหมือนเดิมมาโดยตลอดแล้วจะหวังให้เงินเดือนและตำแหน่งขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ไม่พัฒนาตัวเอง ความสามารถยังคงเท่าเดิมหรือแย่ลง ผลงานที่เป็นรูปธรรมก็ไม่มี ผมว่ามันก็คงผิดตรรกะความเป็นจริงแล้วล่ะครับ

เพราะ “มีแต่คนเสียสติเท่านั้นที่ทำทุกอย่างเหมือนเดิม แต่หวังจะให้ผลลัพธ์มันดีขึ้น” (ไอน์สไตน์กล่าวไว้) นี่จึงเป็นเหตุผลจากประสบการณ์ของผมว่าเหตุใดจึงไม่ควรเลื่อนตำแหน่งให้กับคนที่อยู่มานานจนเงินเดือนตัน

แม้ไม่เลื่อนตำแหน่งให้และจำเป็นจะต้อง freeze เงินเดือนเอาไว้เท่าเดิม (ที่ max) แต่เราก็ยังมีวิธีดูแลเยียวยาพนักงานที่อยู่มานานจนเงินเดือนตัน(ที่ยังมีทัศนคติที่ดีกับบริษัท) ได้อีกหลายวิธีโดยไม่ต้องไปขยายเพดาน max ขึ้นไปหรือไม่จำเป็นต้องเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นก็ได้

ส่วนพวกที่อยู่มานาน แล้วมีแต่ทัศนคติที่แย่ ๆ คอยแพร่ข่าวลือร้าย ๆ หรือคอยแต่จะเป็นหัวแถวเรียกร้องโน่นนี่จากบริษัท แต่ตัวเองไม่เคยคิดจะทำอะไรให้ดีขึ้น อย่างนี้ก็คงอยู่ที่ฝ่ายบริหารนะครับว่า ควรจะให้ไปต่อ…หรือพอแค่นี้จะให้เจ็บแต่จบ หรือยืดเยื้อแบบเรื้อรัง

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.prachachat.net

 1402
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

เคยสงสัยไหมว่าระหว่างการลดหย่อนภาษีทุกเม็ด กับการไม่ลดหย่อนภาษี มีเงินได้สุทธิเท่าไหร่ก็คำนวณภาษีจ่ายเท่านั้นเลย อันไหนถึงจะคุ้มค่าหรือดีกว่ากัน? วันนี้ผู้เขียนก็เลยมีเรื่องมาเล่าให้ทุกคนฟังกัน
917 ผู้เข้าชม
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวนึงที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว
878 ผู้เข้าชม
ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่อง คุณสมบัติของผู้นำ มองย้อนยุคกลับไปสู่อดีต สิ่งแรกซึ่งเป็นสัจธรรมของชีวิตและสังคมที่ใคร่ขอนำมาย้ำความสำคัญไว้ ณ โอกาสนี้คือ หากไม่มีวันนั้นย่อมไม่มีวันนี้ การที่ชี้ให้หวนกลับไปมองสู่อดีต เพื่อประโยชน์ของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งพึงได้รับอย่างลึกซึ้ง น่าจะได้แก่ ผลจากการคิดได้ถึงสิ่งอันเป็นที่มา ย่อมทำให้เกิดการเจริญสติภายในรากฐานของแต่ละคน เพื่อให้ชีวิตอนาคตรู้ความจริงและใช้ เป็นพื้นฐานในการก้าวต่อไปได้มั่นคงยิ่งขึ้น ผู้ใหญ่ในอดีตเคยยืนยันสัจธรรมของการดำเนินชีวิต ฝากไว้ให้ลูกหลานรับไปพิจารณาว่า จะทำอะไรอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ ขอให้ทำหน้าที่ ณ จุดนั้นอย่างดีที่สุด อย่าได้ คิดโลภโมโทสัน ทำให้เกิดความทุกข์แก่ตนเอง และสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่อยู่ ร่วมกันในสังคม
2079 ผู้เข้าชม
HR หรือพนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นตำแหน่งงานที่มีความสำคัญต่อองค์กรไม่แพ้ตำแหน่งอื่น ๆ เพราะพวกเขาคือคนที่จะกำหนดทิศทางในการพัฒนาพนักงานในองค์กร สรรหาผู้สมัครที่มีความสามารถเข้ามาเติมเต็มองค์กรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยผลักดันพนักงานให้เติบโตไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าขององค์กร งานประเภทนี้จึงต้องอาศัยความช่างสังเกตรวมไปถึงการเข้าหาเพื่อพูดคุยกับพนักงานโดยตรง ถ้าคุณเป็น HR มือใหม่แล้วไม่รู้จะทำตัวอย่างไรเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากพนักงานในองค์กร
4474 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์