• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ปี 2563 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้

ปี 2563 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ปี 2563 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้

ปี 2563 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้

ปีหน้านี้ (2563) พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ แต่การจัดเก็บภาษีที่จริงๆ จะล่าช้าออกไป 4 เดือน จากเดิมที่ประชาชนต้องชำระภาษี ภายในเดือน เม.ย. 63 เลื่อนไปเป็นเดือน ส.ค. 63 เพราะกฎหมายลูกอีก 8 ฉบับ ยังไม่แล้วเสร็จ

อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ. ใหม่นี้ ค่อนข้างซับซ้อน ทำให้หลายคนยังสับสนว่า ตนเองต้องเสียภาษีหรือไม่ แล้วต้องเสียภาษีในอัตราเท่าใด Workpoint News จึงเรียบเรียงข้อมูลมาสรุปให้แฟนข่าวในบทความนี้

1. ที่อยู่อาศัย

- สำหรับ “ที่อยู่อาศัย” หลังแรก  (ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน)

  • ถ้าผู้อ่าน มีบ้านแค่ 1 หลัง พร้อมที่ดิน โดยบ้านและที่ดินมีมูลค่ารวมกัน ไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องกังวลเลย เพราะกฎหมายยกเว้นภาษีให้ ไม่ต้องเสียภาษี

  • ส่วนคนที่มีบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ในช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 จะเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามมูลค่าของบ้านและที่ดิน ตั้งแต่ 0.03-0.10% (ตามภาพ)

  • หลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.3%


ส่วน วิธีคำนวณภาษี สำหรับคนที่มีบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป จะคำนวณตามนี้

1. สมมติว่า เรามีบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 60 ล้านบาท อัตราภาษีที่เราต้องเสียก็คือ 0.03% (มูลค่ามากกว่า 50-75 ล้านบาท)

2. แต่ไม่ได้เอามูลค่าทั้งหมด 60 ล้านบาท มาคำนวณนะ เพราะกฎหมายยกเว้นให้ 50 ล้านบาทแรก

ดังนั้น ต้องนำมูลค่าบ้านและที่ดิน มาลบ มูลค่าที่กฎหมายยกเว้นให้ก่อน นั่นคือ 60 – 50 = 10 ล้านบาท แล้วจึงนำ 10 ล้านบาท มาคูณ 0.03% เท่ากับ 3,000 บาท หมายความว่า ถ้าเรามีบ้านและที่ดิน มูลค่า 60 ล้านบาท เราจะเสียภาษี (ช่วง 2 ปีแรก) 3,000 บาท หรือล้านละ 300 บาทนั่นเอง

- อีกกรณีหนึ่ง สำหรับ “ที่อยู่อาศัย” คือ เป็นเจ้าของบ้าน แต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน  (บ้านหลังแรกและมีชื่อในทะเบียนบ้าน)

  • กฎหมายก็ยกเว้นให้เช่นกัน โดยคนที่เป็นเจ้าของบ้าน มูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี

  • ส่วนคนที่เป็นเจ้าของบ้าน มูลค่าเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ในช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 ต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามราคาของสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.02-0.10% (ตามภาพ)

  • แล้วหลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.3%

  • ส่วนวิธีคำนวณภาษีนั้นเหมือนกัน โดยลบมูลค่าที่กฎหมายยกเว้นให้ออกไปก่อน ซึ่งกรณีนี้คือ 10 ล้านบาทแรก  แล้วค่อยนำมูลค่าที่เหลือมาคูณอัตราภาษี

- “ที่อยู่อาศัย” หลังที่ 2 เป็นต้นไป

  • ไม่ได้รับการยกเว้นใดๆ

  • โดยช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 ต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.02-0.10% (ตามภาพ)

  • แล้วหลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.3%

การคำนวณภาษี จะคิดตั้งแต่บาทแรก เช่น มีดอนโดฯ มูลค่า 3 ล้านบาท ก็เอา 3 ล้านบาท คูณ 0.02% เท่ากับ 600 บาท หมายความว่า ถ้าเราเป็นเจ้าของคอนโดฯ มูลค่า 3 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ของเรา จะต้องเสียภาษี 600 บาท (ช่วง 2 ปีแรก) หรือล้านละ 200 บาทนั่นเอง

2. ที่ดินทำการเกตษร

- ที่ดินทำการเกษตร กรณี “บุคคลธรรมดา” (ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว)

  • สำหรับเกษตรกรทั่วๆ ไป ที่มีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องกังวลเช่นกัน เพราะกฎหมายยกเว้นให้ ไม่ต้องเสียภาษี

  • ส่วนเกษตรกร ที่มีที่ดินมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ช่วง 3 ปีแรก คือ 2563-2565 กฎหมายยกเว้นให้ ยังไม่ต้องเสียภาษี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เวลาประชาชนเตรียมตัว

  • หลังจากนั้น คือปี 2566 เป็นต้นไป เกษตรกรที่มีที่ดิน มูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.15%

  • วิธีคำนวณภาษี ก็เหมือนกับกรณีที่อยู่อาศัย โดยลบมูลค่าที่กฎหมายยกเว้นให้ออกไปก่อน กรณีนี้คือ 50 ล้านบาทแรก แล้วค่อยนำมูลค่าที่เหลือมาคูณอัตราภาษี


- ดินทำการเกษตร กรณี “นิติบุคคล”  (ขึ้นทะเบียนเป็นบริษัททำเกษตรกรรมแล้ว)

  • กรณีบริษัทที่ทำการเกษตร ไม่ได้รับการยกเว้นเหมือนบุคคลธรรมดา  โดยช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 จะต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.01-0.10% (ตามภาพ)

  • หลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.15%


3. ใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น ใช้เชิงพาณิชย์ ฯลฯ

  • เสียภาษีตั้งแต่บาทแรกเช่นกัน โดยช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 จะต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.30-0.70% (ตามภาพ)

  • หลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 1.2%


สำหรับที่ดินประเภทนี้ หลายคนกังวลว่าถ้ามีที่อยู่อาศัยหลายหลัง เช่น มีบ้านชานเมือง และมีคอนโดฯ ใกล้รถไฟฟ้า หรือมีบ้านต่างจังหวัด 1 หลัง และมีบ้านในกรุงเทพฯ ด้วย กรณีแบบนี้ บ้านหลังที่ 2 หรือดอนโดฯ จะถูกเรียกเก็บภาษีเป็น ที่อยู่อาศัย  หรือ ประเภทอื่นๆ  เพราะอัตราภาษีต่างกัน

อย่างไรก็ตาม กฎหมายเปิดโอกาสให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทักท้วงการเรียกเก็บภาษีได้ เมื่อได้รับเอกสาร “แบบประเมินภาษี” จากหน่วยงานของรัฐแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้รับประมาณเดือน มิ.ย. 63

4. ที่ดินว่างเปล่า

  • สำหรับที่ดินว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 เจ้าของจะต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.30-0.70% (ตามภาพ)

  • หลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 1.2%

  • หากทิ้งร้างติดต่อกัน 3 ปี อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นอีก 0.3% และจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 3 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 3%


สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : workpointnews.com

 1956
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 10 ประการของงาน HR "Best Practice" หรือ "วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ" เริ่มเป็นที่คุ้นเคยกันในวงการธุรกิจ และอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง แท้จริงแล้วสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวผลงานที่ได้ แต่เป็นการนำเสนอวิธีการหรือกระบวนการที่ทำแล้วดีที่สุดในการได้ผลงานที่ดี เด่นสำเร็จออกมาแล้วนำเอาวิธีการหรือกระบวนการนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อให้แต่ละที่นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของตัวเองชาว HR ที่ไม่ต้องการตกยุคก็ต้องค้นคว้าหา "HR Best Practice" มาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
5614 ผู้เข้าชม
คนที่เพิ่งทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือทำงานประจำควบคู่กับการขายของออนไลน์มักเจอปัญหาเรื่องการเสียภาษี ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาษีอะไรบ้างที่ต้องจ่าย และมีเอกสารอะไรที่ต้องเก็บบ้าง
3044 ผู้เข้าชม
ยื่นเสียภาษี จำเป็นต่อการขอสินเชื่อกู้บ้านจริงหรือ..? แล้วถ้าคนที่ยังไม่ได้เริ่มเสียภาษี ไม่มีสิทธิกู้ซื้อบ้านเลย จริงหรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบกัน
2306 ผู้เข้าชม
ช่วงปลายปี-ต้นปี เป็นโอกาสของผู้ประกันตนคนทำงานแจ้ง เปลี่ยนหรือย้ายสถานพยาบาลใหม่ให้ถูกใจใกล้บ้าน ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น วิธีการยื่นแบบแจ้งเปลี่ยนสถานพยาบาลทำได้ง่ายๆ คือ
2646 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์