เงินเดือนและรายได้แต่ละเดือน ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง

เงินเดือนและรายได้แต่ละเดือน ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง

มาทำความเข้าใจ เงินเดือนหรือรายได้สำหรับลดหย่อนภาษี นั้นมีอะไรบ้าง สำหรับเงินหรือรายได้ในแต่ละเดือนที่เรียกว่าเงินได้พึงประเมิน นั้นสามารถนำไปลดหย่อนหักลดภาษีได้อย่างไรบ้าง และสามารถแบ่งออกได้กี่ประเภทมีอะไรบ้าง

อันดับแรกเราจำเป็นต้องหาเงินได้พึงประเมินในแต่ละเดือนของเราก่อนโดย เงินได้พึงประเมิน นั้นคือ  เงินเดือนหรือรายได้แต่ละเดือนที่เราได้ ก็ต้องนำมาคิดคำนวณด้วยเช่นกัน โดย เงินได้พึงประเมิน แบ่งออกเป็น 8 ประเภทดังนี้

  • เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

  • เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้

  • เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

  • เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ

  • เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

  • เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

  • เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

  • เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

สมมติว่า นาย ออม พนักงานบริษัทเอกชน มีเงินเดือน 30,000 บาท เขาจะหักภาษีได้ ดังนี้

  • นายอดออม มีรายได้ทั้งปี 30,000 บาท x 12 เดือน = 360,000 บาท

  • เนื่องจาก “เงินเดือน” เป็นรายได้ตาม 40(1) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ดังนั้น นายอดออม ต้องนำรายได้ทั้งปีมาคูณ 50% จะได้ 360,000 x 50% = 180,000 บาท

  • ถึงแม้กฎหมายจะบอกว่า หักได้ 50% ก็จริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท หมายความว่า นายอดออม จะหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น

ค่าลดหย่อน ที่สามารถนำมาลดภาษีได้

เงินเดือนลดหย่อนภาษี

ค่าลดหย่อน เรียกแบบง่ายๆคือค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่เราเสียไปแต่จะต้องเป็นค่าลดหย่อนที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ค่าลดหย่อนของผู้มีเงินได้

  • ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ นำมาใช้หักลดภาษี หากเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว

  • ค่าลดหย่อนในการเลี้ยงดูบิดามารดา

  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบูตรหรือดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เป็นต้น

2. ค่าลดหย่อนจากการออมหรือการลงทุน

ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ เอาไปทำการลงทุน เอาไปฝากธนาคารเพื่อออมเงินในประกันชีวิตที่มีระยะเวลา 10 ขึ้นไปหรือกองทุนต่าง ๆ ตามที่ทางกฎหมายกำหนด เช่น

  • ประกันชีวิตระยะเวลาคุ้มครองเกิน 10 ปีขึ้นไป

  • กองทุน รวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

  • กองทุน ออมเงินในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

3. ค่าลดหย่อนกรณีพิเศษจากรัฐ

ค่าลดหย่อนประเภทนี้จะเกิดก็ต่อเมื่อรัฐบาลสมัยนั้น ๆ มีนโยบายพิเศษออกมา ซึ่งมีความไม่แน่นอนต้องรอข่างจากทางรัฐบาลเท่านั้น เช่น

  • ค่าลดหย่อนในการซื้อบ้านหลังแรก

  • ค่าลดหย่อนโครงการช็อปช่วยชาติ

  • ค่าลดหย่อนโครงเที่ยวเมืองรอง

4. ค่าลดหย่อนจากการบริจาค

ค่าลดหย่อนนี้ทางกฎหมายต้องการตอบแทนคนที่เสียสละ บริจาคเงินเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยผู้ที่บริจาคเงินให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรซึ่งอยู่ในรายชื่อที่กรมสรรพากรประกาศไว้ จะสามารถนำเงินบริจาคมาลด หย่อนภาษีได้ เช่น

  • บริจาคเงินให้วัด

  • บริจาคเงินให้โรงเรียน

  • บริจาคเงินให้โรงพยาบาล

  • บริจาคเงินให้สถานเลี้ยงเด็กเร่ร่อน หรือมูลนิธิต่างๆ

  • (โดยจะต้องมีรายชื่อตามที่ทางกรมสรรพากรประกาศไว้เท่านั้น)

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.moneyguru.co.th

 2087
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

คำถามนี้น่าสนใจมากนะครับ เพราะว่ามันมีผลทั้งกับทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายที่มองหางานก็ต้องเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ ฝ่ายที่จะรับเข้าทำงานก็ต้องนัดหมายคนที่เกี่ยวข้องเพื่อลงตารางเวลาสัมภาษณ์ ก่อนอื่นเราต้องกลับมาดูที่จุดประสงค์ของการสัมภาษณ์งานก่อน
4141 ผู้เข้าชม
ขึ้นชื่อว่า "คน" ยังไงคงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ยิ่งในยุคธุรกิจขยายตัว ตอบรับกับการ เปลี่ยนแปลงรอบด้านด้วยแล้ว การวางกลยุทธ์ธุรกิจย่อมหลีกไม่พ้นต้องวางกลยุทธ์การบริหารงานบุคคล และพัฒนาคนด้วยเช่นกัน ล่าสุด ดีลอยท์ฯได้เปิดเผยผลสำรวจที่เรียกว่า "Talent Edge 2020" ซึ่ง ร่วมทำกับฟอร์บส อินไซต์ส เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและพนักงานในประเด็นต่าง ๆ ครอบคลุม 400 บริษัทที่มีขนาดธุรกิจมูลค่ามากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในอเมริกาเหนือ, เอเชีย-แปซิฟิก, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
3881 ผู้เข้าชม
อย่างที่ทราบกันว่าเอกสารทางราชการนั้นมีมากมาย สำหรับ HR มือใหม่อาจจะงงๆ ว่าชื่อย่อของเอกสารเหล่านั้นมันคือเอกสารอะไรกันนะ วันนี้แอดมินจะมาแนะนำเอกสาร 3 ตัวหลักๆด้วยกัน ได้แก่ ภ.ง.ด.1, ภ.พ.20 และ 50 ทวิ ว่าคืออะไรนะคะ
15613 ผู้เข้าชม
กองทุน SSF (Super Savings Fund) รูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งนอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังช่วยให้คนออมระยะยาวขึ้น ใครอยากทราบว่า SSF มีเงื่อนไขต่างจากกองทุน LTF อย่างไร ลองมาทำความเข้าใจกัน
4158 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์