ทำความเข้าใจ กองทุน SSF ตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่มาแทน LTF

ทำความเข้าใจ กองทุน SSF ตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่มาแทน LTF

 

ปีภาษี 2562 ถือเป็นปีสุดท้ายแล้ว สำหรับการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งกองทุน SSF (Super Savings Fund) รูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งนอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังช่วยให้คนออมระยะยาวขึ้น ใครอยากทราบว่า SSF มีเงื่อนไขต่างจากกองทุน LTF อย่างไร ลองมาทำความเข้าใจกัน

กองทุน SSF คืออะไร ?

กองทุน SSF หรือ Super Savings Fund เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมที่ลงทุนหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท ปรับรูปแบบมาจากกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF (Long Term Equity Fund) ที่ลงทุนในหุ้นเป็นหลัก เพราะกองทุน SSF มีจุดประสงค์หลักเพื่อการออม ร่วมกับใช้ลดหย่อนภาษีของผู้มีรายได้ที่ต้องยื่นภาษีในแต่ละปีนั่นเอง

กองทุน SSF ใช้ลดหย่อนภาษีได้เมื่อไร ?

ใช้สิทธิ์ซื้อลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่ปี 2563-2567 รวมระยะเวลา 5 ปี หลังจากนั้นจะมีการประเมินผลอีกครั้งว่าจะต่ออายุหรือไม่

กองทุน SSF ซื้อลดหย่อนภาษีได้เท่าไร ?

  • กองทุน SSF ให้เราซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท  (จากเดิมกองทุน LTF สามารถซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท)
     
  • ไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขในการซื้อต่อเนื่อง
     
  • จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF เมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี

กองทุน SSF ซื้อแล้วต้องถือครองนานแค่ไหน ?

  • เพื่อการออมระยะยาวขึ้น หากซื้อกองทุน SSF จะต้องถือไว้นานอย่างน้อย 10 ปี โดยไม่สามารถขายได้ หากขายก่อนครบกำหนด จะถือว่าทำผิดเงื่อนไขลดหย่อนภาษี อาจจะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมดทันที และต้องจ่ายเงินเพิ่มให้รัฐย้อนหลังด้วย
     
  • ระยะเวลา 10 ปี จะนับจากวันที่ซื้อ เช่น ซื้อกองทุน SSF วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จะครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2573 ต่างจากกองทุน LTF เดิมที่นับตามปีปฏิทิน 
     
  • หากครบกำหนดแล้ว สามารถขายคืนได้ โดยกำไรที่ได้จากการขายคืนจะได้รับยกเว้นภาษี (หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด)
     
  • สามารถสับเปลี่ยนกองทุน SSF ไปยังกองทุน SSF ข้าม บลจ. ได้

ใครได้ประโยชน์จากกองทุน SSF ?

จากการปรับรูปแบบกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีครั้งนี้ จะทำให้คนที่ยังมีรายได้ไม่สูง หรือมีฐานภาษีต่ำถึงปานกลางได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เพราะสามารถซื้อกองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 30% ของเงินได้พึงประเมิน 

          เช่น หากเรามีรายได้ 400,000 บาท/ปี จะซื้อ LTF ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% หรือ 60,000 บาท แต่เมื่อเปลี่ยนเป็น SSF จะซื้อลดหย่อนได้สูงสุด 30% หรือ 120,000 บาท

          กลับกัน ในกลุ่มคนที่มีรายได้สูง มีฐานภาษีสูง อาจได้รับประโยชน์น้อยลง เพราะแม้จะซื้อกองทุน SSF ได้สูงสุด 30% แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท เช่น หากเรามีรายได้ปีละ 3 ล้านบาท เดิมจะซื้อ LTF ได้สูงสุด 450,000 บาท แต่เมื่อเปลี่ยนเป็น SSF จะซื้อได้สูงสุดแค่ 200,000 บาทเท่านั้น 

          นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมว่าเมื่อนำเงินที่ซื้อ SSF ไปรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณต่าง ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ฯลฯ ต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วย เท่ากับว่าคนที่มีรายได้สูงใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีส่วนนี้ได้น้อยลง จากเดิม LTF+RMF ใช้สิทธิ์รวมได้ 1 ล้านบาท จะกลายเป็น SSF+RMF ใช้สิทธิ์ได้เพียง 500,000 บาท

กองทุน ssf 

ซื้อ LTF ไว้แล้ว แต่ยังไม่ครบกำหนด ต้องขายเลยไหม ?

ใครที่เคยซื้อ LTF แล้วยังไม่ครบกำหนดขาย หรือเพิ่งซื้อ LTF ในปี 2562 ก็ไม่จำเป็นต้องรีบขาย เพราะจะผิดเงื่อนไขภาษี ดังนั้น เราสามารถถือ LTF ต่อไปได้จนครบปีที่กำหนด

ปี 2563 ยังซื้อกองทุน LTF ได้อยู่ไหม ?

แม้จะมีกองทุน SSF ออกมาทดแทน แต่หากใครต้องการซื้อ LTF หลังวันที่ 1 มกราคม 2563 ก็สามารถทำได้ในเงื่อนไขเดิม คือซื้อแล้วต้องถืออย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน แต่จะไม่สามารถนำเงินที่ซื้อ LTF ไปใช้เพื่อการลดหย่อนภาษีได้อีก 

สรุปความแตกต่างกองทุน SSF และ LTF

กองทุน ssf 

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุน SSF และยังเป็นเพียงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 สำหรับรายละเอียดที่แน่ชัดต้องรอประกาศกฎหมายอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ซึ่งข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : money.kapook.com

 3545
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ
2688 ผู้เข้าชม
7 เรื่องสำคัญที่ HR รวมถึงผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการทั้งหลายต้องเตรียมพร้อมสู่อนาคตมีอะไรบ้าง ติดตามกันได้เลยครับ
1783 ผู้เข้าชม
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเข้าอยู่ในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องว่าจ้างให้ทำของหรือใช้บริการ ยกตัวอย่าง จ้างฟรีแลนซ์ (บุคคลทั่วไป) ให้ทำเว็บไซต์ ออกแบบกราฟิก จ้างช่างมาซ่อมแอร์ หรือการว่าจ้างบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี บริษัทออกแบบโฆษณา หรือค่าบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันภัยสินค้า ค่าประกันขนส่ง ค่าเช่าออฟฟิศ ฯลฯ รายจ่ายเหล่านี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจะมีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ของเงินค่าจ้างของผู้ให้บริการออกมาด้วย โดยที่เงินนี้จะไม่ใช่เงินของเรา แต่เป็นเงินที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร
6205 ผู้เข้าชม
วันนี้คุณในฐานะผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน ซึ่งมีทีมงานอยู่ภายในการปกครองจำนวนหนึ่ง คุณเคยวิเคราะห์ผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละคนหรือไม่ ว่าแต่ละคนนั้นอยู่ในช่องไหนของตาราง ถ้าคุณสามารถจัดได้ตามช่องอย่างชัดเจนแล้วการพัฒนาเขาเหล่านี้ก็ต้องใช้วิธีที่แตกต่างกัน
1783 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์