การบริหารค่าจ้างเงินเดือน แบบไหนที่เรียกว่าเป็นธรรม?

การบริหารค่าจ้างเงินเดือน แบบไหนที่เรียกว่าเป็นธรรม?


ความเป็นธรรมในการบริหารค่าจ้าง หลายๆ บริษัทที่มีการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ต่างก็พยายามที่จะสร้างความเป็นธรรมในเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นในองค์กรทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าองค์กรมีความเป็นธรรมในการบริหาร ค่าจ้างเงินเดือน 


จ่ายเงินเดือนแตกต่างกัน ตามสถาบันการศึกษาที่จบมา

ลักษณะ แรกที่พบก็คือ บริษัทมีการกำหนดอัตราแรกจ้างพนักงานใหม่ โดยกำหนดให้มีอัตราที่แตกต่างกันตามสถาบันการศึกษาที่จบมา แม้ว่าจะรับเข้ามาทำงานในตำแหน่งเดียวกันก็ตาม เช่น ถ้าจบสถาบันชั้นนำ ในระดับปริญญาตรี เริ่มจ้างที่ 20,000 บาท แต่ถ้าจบจากสถาบันไม่ใช่ชั้นนำ ก็จ่ายให้ 15,000 บาท โดยที่ทำงานในตำแหน่งเดียวกัน เป็นต้น ลักษณะนี้ คิดว่าเป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนหรือไม่ครับ 


จ่ายเงินเดือนเพิ่มให้กรณีพนักงานได้เกียรตินิยม

บางบริษัท ถ้าพนักงานคนใดจบเกียรตินิยมมา ก็จะได้รับค่าเกียรตินิยมเพิ่มให้ประมาณ 2,000 บาท ส่วนพนักงานคนอื่นที่ไม่ได้ ก็จะได้เงินเดือนตามปกติ ก็เลยทำให้พนักงานที่ได้เกียรตินิยมจะได้รับเงินเดือนที่สูงกว่า พนักงานปกติอยู่ แม้ว่าจะทำงานในตำแหน่งเดียวกัน และเริ่มงานในวันเดียวกันก็ตาม ลักษณะนี้เป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนหรือไม่ 


ปรับอัตราแรกจ้างพนักงานใหม่ แต่ไม่ได้ปรับให้พนักงานเก่า

กรณีนี้ก็เกิดขึ้นเยอะครับ ตัวอย่างง่ายๆ ที่เกิดขึ้นก็คือ ช่วงที่มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรืออัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษาเป็นอัตราใหม่ของบริษัท พอประกาศอัตราใหม่ ใครที่มาสมัครงานช่วงหลังประกาศอัตราใหม่ ก็จะได้รับเงินเดือนในอัตราใหม่ทันที โดยที่พนักงานเก่าที่รับเข้ามาก่อนหน้านี้ ไม่มีการปรับใดๆ ผลก็คือ พนักงานเก่าที่ทำงานกับบริษัทมาสักพัก กลับได้รับเงินเดือนที่น้อยกว่าพนักงานใหม่ ที่เพิ่งเข้ามาทำงาน และยังไม่เห็นผลงานอะไร แบบนี้เป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนหรือไม่


ให้ความสำคัญกับพนักงานใหม่ มากกกว่าพนักงานเก่า

บางบริษัทบริหารค่าจ้างเงินเดือนโดยให้เงินเดือนพนักงานใหม่ตามที่เขาขอมา เพราะอยากได้เข้ามาทำงาน โดยที่ไม่สนใจว่า พนักงานเก่าที่ทำงานในตำแหน่งเดียวกัน อายุงานใกล้เคียงกัน จะได้เงินเดือนอยู่เท่าไหร่ บางบริษัท พนักงานใหม่ที่มาสมัครงานขอมามากแค่ไหนก็สู้ แต่พนักงานเก่าของบริษัทกลับขึ้นเงินเดือนให้ทีละนิดหน่อย กลายเป็นว่า คนเก่าที่ทำงานอยู่แล้ว ก็ได้แบบนิดๆ แต่กับคนใหม่ที่ไม่เคยรู้ผลงานมาก่อน กลับให้เงินเดือนสูงปรี๊ด แล้วแบบนี้ เป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนหรือไม่


ขึ้นเงินเดือนพอๆ กัน ไม่ว่าผลงานจะเป็นอย่างไร

บางองค์กรที่ถึงเวลาขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงาน ก็ให้เงินเดือนขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกันมาก ไม่ว่าพนักงานจะทำผลงานได้ดีเลิศ หรือย่ำแย่ปานใด ต่างก็ได้รับการขึ้นเงินเดือนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เหตุผลของผู้บริหารก็คือ จะได้เกิดความเป็นธรรม และไม่ทำลายการทำงานเป็นทีมที่ดี ส่วนพนักงานกลับมองว่า อุตส่าห์ตั้งใจทำงานแทบตาย ผลงานที่ได้ก็ทำให้องค์กรดีขึ้นตั้งมากมาย แต่กลับได้รับเงินเดือนขึ้นพอๆ กับคนที่ไม่ทำงานอะไรเลย แบบนี้จะทำดีไปทำไม แล้วแบบไหนล่ะครับ ที่เรียกกว่าเป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือน


ขึ้นเงินเดือนตามอายุงาน กรณีเกิดขึ้นกับองค์กรที่ยังไม่มีระบบการประเมินผลงานที่ดี

หัวหน้า และผู้จัดการประเมินผลงานพนักงานตนเองไม่ออก ก็เลยให้คะแนนผลงานแบบพอๆ กัน เท่าๆ กันไป สุดท้ายนายใหญ่ก็ต้องเอามาแก้ไขปรับปรุง แต่ไม่รู้จะใช้เหตุผลอะไร ก็เลยเอาเรื่องของใครที่ทำงานด้วยแล้วรู้สึกดี ก็ให้เยอะหน่อย ใครที่ทำงานกับบริษัทมานาน ก็ให้เยอะหน่อย ด้วยเหตุผลที่ว่าซื่อสัตย์และไม่จากบริษัทไปไหน ส่วนคนอื่นที่ไม่ค่อยรู้จัก และรู้สึกไม่ค่อยชอบหน้า ก็ให้พอๆ กันไป แบบนี้เรียกว่าความเป็นธรรมหรือไม่ครับ 

    ผมเชื่อว่ายังไม่กรณีอื่นๆ ที่มากกว่าที่กล่าวมา ซึ่งผมอาจจะไม่ได้สรุปมาให้อ่านกัน แต่สิ่งที่สรุปมาข้างต้นนั้น เป็นสิ่งที่เจอบ่อยๆ กับองค์กรต่างๆ ในบ้านเรา บางองค์กรก็รู้ตัว บางองค์กรก็ไม่รู้ตัว และมองว่า ตนเองบริหารค่าจ้างด้วยความเป็นธรรมที่สุด โดยไม่ได้สอบถามพนักงานเลยว่า มีความคิดเห็นอย่างไรกับระบบการบริหารค่าจ้างขององค์กร ยิ่งในปัจจุบัน เรื่องของค่าจ้างค่าตอบแทนนั้นทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือน แต่ต้องรู้ว่าการสร้างแรงจูงใจโดยใช้เงินจะได้ผลจริงหรือ? ดังนั้นบริษัทควรจะสร้างระบบค่าจ้างค่าตอบแทนให้มีความเป็นธรรมมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงาน และสร้างผลงานให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง 


ที่มา : www.siamhrm.com

 2660
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

นื่องจากความเชื่อข้างต้น ก็เลยทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้เงิน เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ โดยเริ่มต้นจากเรื่องของเงินเดือนเป็นอันดับแรก ให้เงินเดือนเพราะต้องการให้พนักสร้างผลงานให้กับองค์กร จากนั้นก็ต่อด้วยเรื่องของการให้คอมมิชชั่นสำหรับพนักงานขาย ใครที่ขายได้มาก ก็ยิ่งได้เงินมากขึ้น ระยะหลังๆ มานี้ก็เริ่มมีสิ่งที่เรียกกว่า pay for performance เกิดขึ้น โดยเอาผลงานของพนักงานมาเป็นพื้นฐานและผูกด้วยระบบการจ่ายค่าจ้างที่เป็นไปตามผลงาน ใครทำงานได้ดี ก็ได้รับเงินรางวัลที่สูงกว่าคนที่ทำผลงานได้ไม่ดีพอ โดยบางแห่งก็กำหนดเป็นเรื่องของโบนัสตามผลงาน คำถามก็คือ เงินรางวัลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราสามารถใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในระยะยาวได้จริงๆ หรือ
1181 ผู้เข้าชม
โลกธุรกิจหนีไม่พ้น "ความเสี่ยง" ไม่มากก็น้อย ยิ่งยุคปัจจุบันยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นมาก เพราะการแข่งขันเข้มข้นมากขึ้นตั้งแต่ธุรกิจไร้พรมแดน ความสำเร็จแต่ละชิ้นนับวันแต่จะทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามเราในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ก็ต้องพยายามฟันฝ่าอุปสรรคของความลำบากนั้นไปบรรลุจุดหมายให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
1513 ผู้เข้าชม
ในภาวะเศรษฐกิจแผ่วลงทุกวัน เช่นในปีสองปีที่ผ่านมาจนลากยาวมาปีนี้ หากองค์กรมุ่งหมายให้อยู่รอดแล้วก็มักหนีไม่พ้นที่จะต้องลดงบประมาณค่าใช้จ่ายทุกทาง หลายองค์กรรัดเข็มขัดไม่เพิ่มอัตรากำลังคนเพื่อรองรับงานใหม่ แต่เน้นเพิ่มงาน (Job Enlargement) ให้กับพนักงานคนเก่าที่ยังทำงานอยู่แทนที่จะรับคนใหม่เข้ามา (เรียกว่ามุ่งใช้คนให้คุ้มค่าเงินที่ว่าจ้างให้มากที่สุด) ในขณะที่หลายองค์กรเลือกตัดลดงบประมาณฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรลง
5132 ผู้เข้าชม
คำถามส่วนใหญ่ที่เข้ามาในช่วงนี้ คือ ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ออมทรัพย์ ฝากประจำ เงินฝากเผื่อเรียก กระแสรายวัน ฝากประจำปลอดภาษี เสียภาษีไหม?ฝากประจำปลอดภาษีเนี่ยไม่เสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ต้องถามว่าเสียภาษีไหมนะ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้ว
1161 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์