ประกันไม่ได้มีไว้แค่ลดหย่อนภาษี แต่มีไว้เพื่อ...

ประกันไม่ได้มีไว้แค่ลดหย่อนภาษี แต่มีไว้เพื่อ...

ถ้ามีใครสักคนพูดขึ้นมาว่า “อยากวางแผนลดหย่อนภาษี” เชื่อเลยครับว่าต้องมีคนแนะนำ “ประกันชีวิต” ตามมาทันทีเป็นตัวเลือกแรกๆ แถมบางคนมักจะตบท้ายด้วยประโยคว่า เลือกประกันชีวิตนอกจากได้ลดหย่อนภาษีแล้ว เงินต้นยังไม่หาย แถมได้รับผลตอบแทนอีกด้วยนะ

ประโยคทั้งหมดที่ว่ามานี้ ไม่ใช่เรื่องเข้าใจผิดหรือไม่ดีหรอกนะครับ เพียงแต่เราควรเช็คให้ดีก่อนว่า การลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตนั้น มันช่วยตอบโจทย์ในทุกมุมมองของชีวิตและเป้าหมายที่เราต้องการไว้หรือไม่ เพราะวันนี้มีประกันมากมายหลากหลายรูปแบบที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน แต่ที่สำคัญคือเราจะเลือกให้มันถูกต้องและคุ้มค่าอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว ประกันชีวิตที่คนส่วนใหญ่นิยมทำกัน มักจะเป็น ประกันชีวิตออมทรัพย์ (หรือสะสมทรัพย์) ด้วยเหตุผลตามที่ว่ามา (ลดหย่อนภาษี เงินต้นไม่หาย ได้ผลตอบแทน) แต่จริง ๆ แล้วยังมีประกันมากมายอีกหลายแบบซึ่งมีประโยชน์แตกต่างกันไปตามเป้าหมายของแต่ละคน


ดังนั้นคำถามสำคัญจริงๆ คือ นอกจากสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีที่เราได้รับแล้ว เราได้เลือกประกันชีวิตได้อย่างคุ้มค่า เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายชีวิตของเราหรือเปล่า?

จากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีกับวงการการเงินมาบ้าง ผมสังเกตเห็นว่า บางคนมีการทำประกันชีวิตซ้ำซ้อน โดยเน้นที่ผลตอบแทนที่ได้รับให้รู้สึกว่าคุ้มค่าก่อน โดยไม่สนใจด้วยว่าความคุ้มครองที่ตัวเองได้นั้นมันเป็นแบบไหน? และไม่ได้สนใจด้วยซ้ำว่า จริงๆตัวเองต้องการอะไร แถมบางคนยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าประกันชีวิตที่ลดหย่อนภาษีได้นั้นมี 4 ประเภทที่แตกต่างกันไป

ประกันไม่ได้มีไว้แค่ลดหย่อนภาษี แต่มีไว้เพื่อ...

โดยบางคนอาจจะเลือกซื้อแต่ประกันแบบสะสมทรัพย์ โดยมีเป้าหมายที่ได้รับเงินจริงเมื่อถึงช่วงเวลาที่กำหนด แต่ไม่ได้ความคุ้มครองที่เพียงพอต่อความต้องการจริงๆ หรือบางคนอาจจะจ่ายประกันชีวิตตลอดชีพโดยที่ไม่ได้ต้องการระยะเวลาการคุ้มครองที่ยาวนานขนาดนั้น ฯลฯ

แล้วประกันชีวิตที่ลดหย่อนภาษีได้นั้น มันมีเงื่อนไขอย่างไร? 

สำหรับคนที่สนใจว่าประกันชีวิตแบบไหนลดหย่อนภาษีได้นั้น เรามาดูกันที่เงื่อนไขตามกฎหมายกันดีกว่าครับ เพื่อที่จะได้เช็คอีกทีว่า ประกันชีวิตที่เรามีอยู่นั้น มันสามารถลดหย่อนภาษีได้ถูกต้องตามกฎหมายหรือเปล่า

1. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิต 

กลุ่มนี้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท โดยกลุ่มนี้จะหมายความรวมถึงเบี้ยประกันชีวิตทั้ง 3 แบบด้านบน นั่นคือ แบบสะสมทรัพย์ แบบชั่วระยะเวลา และแบบตลอดชีพ


ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ การหักค่าเบี้ยประกันจะหักได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าหากคู่สมรสมีรายได้จะหักสูงสุดได้ถึง 100,000 บาทครับ

สำหรับเรื่องของเงื่อนไขนั้น จะมีเรื่องของระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย ได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี ฯลฯ 

2. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 

สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท กลุ่มนี้จะเป็นเงื่อนไขจำนวนเงินแยกออกมาจากประกันชีวิต 3 ประเภทในข้อ  1 ครับ


นอกจากนั้น ประกันชีวิตแบบบำนาญ ถือเป็นตัวลดหย่อนภาษีที่เป็นการวางแผนเกษียณ ซึ่งจะมีเงื่อนไขแยกต่างหากของกลุ่มนี้ครับ คือ ยอดรวมของ RMF + กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน + กองทุนการออมแห่งชาติ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทอีกด้วยครับ

สำหรับเงื่อนไขประกันชีวิตแบบบำนาญนั้นจะมีเรื่องของ ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป  ทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และมีการ จ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ และกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อเรามีอายุตั้งแต่ 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น ่รวมถึงต้องจ่ายเบี้ยประกันครบก่อนได้รับผลประโยชน์อีกด้วยครับ


สำหรับการทำประกันชีวิตทั้ง 2 กลุ่มนี้ ถ้าใครอยากรู้ว่าตัวเองมีค่าเบี้ยประกันที่จ่ายเท่าไร ผมแนะนำว่าให้เน้นความสำคัญตรง ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันที่ระบุไว้ว่าเป็นค่าประกันชีวิตเท่าไร ตรงนี้ข้อมูลจะชัดเจนที่สุดครับ

นอกจากนั้นยังมีเรื่องของประกันสุขภาพต่างๆ ที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะครับ เช่น เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง หรือ เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : aommoney.com

 946
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

โดยปกติการยื่นภาษีสามารถทำได้ทั้งที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งข้อดีของการยื่นภาษีออนไลน์คือ จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบฯและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน จนบางครั้งเราอาจชะล่าใจ ผลัดวันไปเพราะวันนี้ยังหาเอกสารไม่ครบ วันนี้ติดประชุม หรือสารพัดเหตุผล พอรู้ตัวอีกทีก็เลยกำหนดยื่นภาษีไปเสียแล้ว แล้วอย่างนี้ควรทำอย่างไรดี
96037 ผู้เข้าชม
หากใครที่กำลังมองหาการออมในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ต้องบอกไว้ก่อนว่า สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2562 นี้เท่านั้นนะครับ หรืออีกนัยนึงก็คือ จะมียกเลิกการใช้กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF มาลดหย่อนภาษี ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปนั่นเอง แต่ก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ เพราะถึงแม้ว่า LTF จะถูกยกเลิก ในการนำมาลดหย่อนภาษีได้
1225 ผู้เข้าชม
จากกระทรวงแรงงานะระบุว่า ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 12 ล้านคน พร้อมกันนี้กระทรวงแรงงานโดยคณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมสำหรับ การจ้างงานผู้สูงอายุ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
10487 ผู้เข้าชม
โซลูชั่นเพื่อการคิดคำนวณเวลาขององค์กรโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ค่าใช้จ่าย จะมุ่งเป้าไปยังการคิดและคำนวณเวลาทำงานของพนักงาน รวมถึงค่าตอบแทน หน้าที่และแผนกที่สังกัด ทั้งยังให้ส่วนบริหารตรวจสอบและติดตามผล พร้อมกับตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วย ต่อไปนี้เป็นการตรวจสอบและตรวจวัดที่คุณอาจนำไปใช้ เพื่อประเมินชุดซอฟต์แวร์สำหรับงานดังกล่าว
3653 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์