ลดหย่อนกับไม่ลดหย่อนภาษี…อย่างไหนดีกว่ากัน?

ลดหย่อนกับไม่ลดหย่อนภาษี…อย่างไหนดีกว่ากัน?

 

เคยสงสัยไหมว่าระหว่างการลดหย่อนภาษีทุกเม็ด กับการไม่ลดหย่อนภาษี มีเงินได้สุทธิเท่าไหร่ก็คำนวณภาษีจ่ายเท่านั้นเลย อันไหนถึงจะคุ้มค่าหรือดีกว่ากัน? วันนี้ผู้เขียนก็เลยมีเรื่องมาเล่าให้ทุกคนฟังกัน


ณ บ้านหลังหนึ่ง มีครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายฝาแฝดชื่อว่า โจโจ และบ๊อบบ๊อบ

ทั้งคู่เติบโตขึ้นจนเข้าสู่วัยทำงาน ทั้งสองคนมีเงินได้ทั้งเงินเดือนและโบนัสรวมแล้วอยู่ที่ 260,000 บาทต่อปี


หลังหักลดหย่อนตัวเองไป เหลือเงินได้สุทธิ 200,000 บาท ซึ่งเกินมาจากกรอบ 150,000 อยู่เป็นจำนวน 50,000 บาท ทำให้ทั้งคู่ต้องจ่ายภาษีอยู่ที่ฐาน 5% ของเงิน 50,000 หรือเท่ากับ 2,500 บาท

โจโจผู้เป็นคนอยากประหยัดภาษีให้ได้มากที่สุด ไม่อยากจ่ายภาษีเลย จึงไปลดหย่อนภาษีโดยการไปซื้อ LTF เต็มจำนวนไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี อยู่ที่ 30,000 บาท


ถามว่า แล้ว RMF ล่ะต้องซื้อ 30,000 บาทด้วยใช่ไหม?

จริงๆ ก็ซื้อได้ เพราะ RMF มีกฏเดียวกันคือซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้สุทธิ แต่โจโจเห็นว่าไม่จำเป็นต้องซื้อ 30,000 ทีเดียว เพราะซื้อเพียง 20,000 บาทก็จะทำให้หลุดจากกรอบซึ่งอยู่ที่ 150,000 แล้ว ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี


ดังนั้น ส่วนอีก 20,000 บาทที่เกินมาจาก 150,000 บาท จึงถูกนำไปซื้อ RMF (สมมติใช้เพียงสองอย่างนี้เพื่อความง่าย) เพราะคิดว่ามีแต่ได้กับได้ ได้แรกไม่ต้องเสียภาษี ได้ที่สอง เงินที่เอาไปซื้อทั้ง LTF และ RMF ก็ได้ตอนขายในอนาคตแน่ๆ เงินไม่หายไปไหนหรอก เพราะเป็นการออมเงินอย่างหนึ่งในขณะที่บ๊อบบ๊อบมองว่าเงินแค่ 2,500 จ่ายภาษีไปเถอะ แล้วเอาเงิน 50,000 ที่จะต้องไปจ่ายเพื่อให้ได้ลดหย่อนไปใช้ดีกว่า 


เมื่อกาลเวลาผ่านไป ทั้งคู่มีเงินได้สุทธิอยู่ที่ 1,050,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษีเป็นจำนวน

7,500+20,000+37,500+50,000+12,500 = 127,500 บาท

ซึ่งก็คือฐานภาษี 25%

ทั้งสองคนยังมีความคิดแบบเดิม


โจโจอยากลดหย่อนให้ได้มากที่สุด ยังคงใช้ LTF และ RMF (สมมติใช้เพียงสองอย่างนี้เพื่อความง่าย) โดยซื้อเต็มเพดานที่กฎหมายกำหนดให้ คืออย่างละ 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี เท่ากับ 157,500 บาท รวมทั้งสองอย่างเท่ากับ 315,000 บาท คิดเป็น 30% ของรายรับ

ทำให้เงินได้สุทธิหลังจากหักลดหย่อนทั้งสองอย่างนี้ลดลงไปอยู่ที่ 735,000 บาท คือจะไปตกฐาน 15% แทนที่จะเป็น 25% เหมือนตอนแรก ทำให้ต้องภาษีแค่…


7,500+20,000+35,250 = 62,750 บาท

ดังนั้นโจโจสามารถประหยัดภาษีที่จะต้องเสียไปได้ 127,500 – 62,750 = 64,750 บาท หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของภาษีที่ต้องจ่ายถ้าไม่ลดหย่อน แต่โจโจก็ต้องจ่ายซื้อ LTF และ RMF ถึง 315,000 บาท  และต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดด้วย


ในขณะที่บ๊อบบ๊อบ ที่ยังคงยืนกรานและถือคติที่ว่าไม่ลดหย่อนภาษีแล้วเอาเงินไปใช้ หรือไปเอาไปทำอย่างอื่นดีกว่า ทำให้ต้องจ่ายภาษีทั้งหมด 127,500 บาท หรือคิดเป็น 12.14% ของรายได้

(เงินล้าน) ลดหย่อนกับไม่ลดหย่อนภาษี...อย่างไหนดีกว่ากัน?

หลังจากอ่านนิทานข้างบนจบแล้ว หลายคนอาจจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่าถ้ามีเงินได้สุทธิเท่ากับที่ทั้งสองคนมี คุณจะเป็นแบบโจโจหรือบ๊อบบ๊อบ หรืออาจจะไม่เป็นทั้งคู่


แต่หากถามความเห็นของผู้เขียนว่า ผู้เขียนมองเรื่องนี้อย่างไร ก็คงจะตอบว่าถ้าเป็น first jobber ที่มีเงินได้สุทธิ 200,000 บาท ผู้เขียนก็คงเป็นแบบบ๊อบบ๊อบ เพราะเราเพิ่งเริ่มทำงาน เงินเดือนเรายังไม่มาก ภาษีที่ต้องเสียก็ยังไม่เยอะ พอจ่ายได้ ทำให้อาจจะไม่จำเป็นต้องพยายามหาอะไรมาลดหย่อนเพิ่มเติมก็ได้  ถ้าสิ่งนั้นเรามองว่าไม่จำเป็น หรือถ้าใช้ไป จะมาเบียดเบียนความสุขในชีวิตเราเกินไป เพราะเงินที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้ลดหย่อนนั้นเป็นจำนวนเงินที่สูงหรือเป็นสัดส่วนที่มากเกินไป จึงอาจจะไม่คุ้มค่าในมุมของผู้เขียน

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่เป็นแบบโจโจจะผิด เพราะสิ่งที่โจโจทำก็เป็นสิ่งที่เขามองว่าคุ้มค่า เขาพอใจกับการเอาเงินไปเก็บออมเพื่ออนาคต และลดหย่อนภาษีในทีเดียวกัน


เช่นเดียวกับเมื่อเราโตขึ้น เงินเดือนเราเพิ่มขึ้น ฐานภาษีสูงขึ้น เพดานในการลดหย่อนก็สูงตาม ทำให้ภาษีที่ประหยัดได้ก็สูงตามฐานภาษีไปด้วย  เรายิ่งต้องคิดถึงว่าสิ่งไหนมันคุ้มค่าสำหรับเรา เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่าเงินที่จ่ายไปเพื่อได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนนั้นคุ้มค่า เราก็ควรใช้ลดหย่อน

แต่อย่าลืมว่าความคุ้มค่าของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน อย่าให้ใครมาบอกว่าต้องเป็นแบบโจโจ หรือบ๊อบบ๊อบ มีแต่ตัวคุณเองที่ต้องเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดให้กับตัวเอง ไม่มีใครรู้ดีกว่าตัวเอง

แล้วตอนนี้คุณอยากเป็นแบบไหนล่ะ?

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.finnomena.com

 804
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

วันนี้เราทำงานมากไปหรือเปล่า เรามีอะไรที่อยากทำในวันหยุดอีกหรือไม่ หรืออยากพักผ่อนต่ออีกสักหน่อย แล้วถ้าหากเราได้วันหยุดเพิ่มอีกหนึ่งวันล่ะจะดีไหม หลายคนอาจตั้งคำถามเหล่านี้ขึ้นในใจแบบเงียบ ๆ
2953 ผู้เข้าชม
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเข้าอยู่ในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องว่าจ้างให้ทำของหรือใช้บริการ ยกตัวอย่าง จ้างฟรีแลนซ์ (บุคคลทั่วไป) ให้ทำเว็บไซต์ ออกแบบกราฟิก จ้างช่างมาซ่อมแอร์ หรือการว่าจ้างบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี บริษัทออกแบบโฆษณา หรือค่าบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันภัยสินค้า ค่าประกันขนส่ง ค่าเช่าออฟฟิศ ฯลฯ รายจ่ายเหล่านี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจะมีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ของเงินค่าจ้างของผู้ให้บริการออกมาด้วย โดยที่เงินนี้จะไม่ใช่เงินของเรา แต่เป็นเงินที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร
5775 ผู้เข้าชม
อาการแบบนี้เกิดขึ้นกับพนักงานของท่านหรือเปล่า - อาการป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ - อาการป่วยการเมือง - อาการป่วยจริง - ลางานเป็นประจำ หรือ ขาดงานอยู่บ่อยๆ จนหัวหน้าต้องตาม จะทำอย่างไร? เมื่อพนักงานของท่านขาดงาน
15267 ผู้เข้าชม
ด้วยปัจจัยตั้งต้นก็มักจะคล้ายกันในหลายๆ กิจการ ที่ก่อเกิดโดยคนเพียง 1 หรือ 2-3 คนในการคิดทำสินค้า หรือบริการ นั้น ๆ ออกขาย จะเรียกว่าเกิดจากไอเดีย (idea) ช่องทาง (Chanel) หรืออื่นๆ แม้จะเป็นความสร้างสรรค์หรือไม่ก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดความคิด ที่รวมๆ แล้วเรียกได้ว่า ความคิดจากการมองเห็น โอกาส (Opportunity)
1400 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์