มีรายได้มาจากต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีอย่างไร

มีรายได้มาจากต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีอย่างไร

ทุกคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วนะคะ ว่าถ้าหากเรามีรายได้ในประเทศ เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องนำรายได้นั้นไป ยื่นภาษี และเสียภาษีตามเกณฑ์ที่ กรมสรรพากร กำหนด แต่ถ้าเรามีรายได้จากต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วยละ เราจำเป็นจะต้องเอาเงินตรงนั้นมาเสียภาษีด้วยหรือเปล่า


แหล่งเงินได้ในประเทศ vs แหล่งเงินได้จากต่างประเทศ

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่า เงินได้ในประเทศและเงินได้จากต่างประเทศมีความแตกต่างกันยังไง

1. แหล่งเงินได้ในประเทศ

ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคแรก ได้กำหนดไว้ว่า แหล่งเงินได้ในประเทศ คือ เงินที่เกิดจากการทำงานที่ก่อให้เกิดรายได้ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น

  • เงินค่าจ้าง
  • เงินจากการให้เช่าทรัพย์สิน
  • เงินที่ได้จากการทำกิจการในประเทศไทย
  • ค่าลิขสิทธิ์
  • เงินที่มาจากกิจการในประเทศไทย แต่มีการทำงานที่ทำให้เกิดรายได้ในต่างประเทศ แต่การทำงานนั้นเป็นไปเพื่อทำให้เกิดรายได้ในประเทศไทย

ตัวอย่างเช่น

นางสาวกระต่าย ทำงานให้บริษัท A ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น รายได้จากค่าจ้างของนางสาวกระต่าย จึงเป็นแหล่งรายได้ในประเทศ

นายแรบบิท ทำงานให้บริษัท A ซึ่งเป็นบริษัทไทย แต่ต้องไปปฏิบัติงานอยู่ที่สาขาญี่ปุ่น ซึ่งในกรณีนี้ยังถือว่าเป็นการทำรายได้ให้กับบริษัท A ที่อยู่ประเทศไทยอยู่ ดังนั้น รายได้จากค่าจ้างของนายแรบบิท จึงเป็นแหล่งเงินได้ในประเทศ

2. แหล่งเงินได้จากต่างประเทศ

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม ได้กำหนดไว้ว่า แหล่งเงินได้จากต่างประเทศ ได้แก่

  • การทำงานในต่างประเทศ ให้กับนายจ้างที่อยู่ต่างประเทศ หรือ ทำงานในประเทศไทยแล้วส่งงานให้กับนายจ้างที่อยู่ต่างประเทศ
  • การไปประกอบกิจการในต่างประเทศ และส่งเงินเข้ามาในประเทศไทย
  • การนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น หุ้นหรือพันธบัตร
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการส่งสินค้าในประเทศไทยออกไปขายยังต่างประเทศ

ตัวอย่างเช่น

นางสีส้ม เป็นคนไทย ทำงานให้กับบริษัท B ซึ่งเป็นบริษัทเกาหลีที่ตั้งอยู่ในประเทศเกาหลี แต่นางสีส้มทำงานอยู่ในสาขาประเทศไทย ที่ต้องส่งผลงานไปยังบริษัทแม่ที่ประเทศเกาหลี ดังนั้น รายได้จากค่าจ้างของนายแรบบิท จึงเป็นแหล่งเงินได้จากต่างประเทศนั่นเอง

เมื่อเรารู้ความแตกต่างของเงินได้ทั้ง 2 ประเภทแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่า ถ้าคุณมีเงินได้จากต่างประเทศแล้ว คุณจะต้องเสียภาษีอย่างไรบ้าง


เงินได้จากต่างประเทศ เสียภาษีอย่างไร

ถึงแม้คุณจะมีเงินได้จากต่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องนำรายได้ส่วนนั้นมา คำนวณภาษี ทุกกรณีนะคะ โดยสำหรับแหล่งเงินได้จากต่างประเทศที่เข้าเกณฑ์เสียภาษี คือ

ผู้ที่มีรายได้พักอยู่อยู่ในประเทศไทยในปีเป็นเวลา  180 วัน ซึ่งอาจจะอยู่อย่างต่อเนื่องหรือไม่ก็ได้ แต่รวมระยะเวลาแล้วได้ถึง  180 วัน โดยยึดระยะเวลาตามพาสปอร์ตของผู้มีรายได้

แปลว่า ถ้าคุณมีเงินที่ได้จากการทำงานในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เงินจากกิจการที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ และทรัพย์สินอื่นๆที่อยู่ต่างประเทศ คุณจะต้องเสียภาษีก็ต่อเมื่อ คุณอยู่ในประเทศไทย 180 วันขึ้นไป และนำเงินรายได้ที่ได้รับ เข้ามาในประเทศไทยในปี ภาษี เดียวกันกับที่เกิดรายได้ หากไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวก็ไม่จำเป็นจะต้องเสียภาษีเงินได้ค่ะ

ตัวอย่างเช่น

นายสมคิด เป็นนักกีฬาอาชีพ ที่ทำรายได้จากการแข่งขันในต่างประเทศในปี พ.ศ. 2560 และนำเงินนั้นเข้ามาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 เช่นกัน และนายสมคิดใช้เวลาอยู่ฝึกซ้อมในประเทศไทยเป็นเวลา 7 เดือน ดังนั้น นายสมคิดก็จำเป็นจะต้อง นำรายได้มาเสียภาษี ตามอัตราที่กำหนดค่ะ


อนุสัญญาภาษีซ้อน ป้องกันการเสียภาษีซ้ำๆ

การเก็บภาษีเงินได้จากต่างประเทศนั้น มีข้อตกลงทางภาษีระหว่างประเทศที่คุณควรรู้จัก คือ อนุสัญญาภาษีซ้อน หรือ Double Taxation Agreement (DTAs)

อนุสัญญาภาษีซ้อน คือ สนธิสัญญาทางภาษีแบบทวิภาคี (Bilateral Treaties) ที่เป็นการลงนามระหว่างประเทศไทย และ ประเทศคู่สัญญาต่างๆ เพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ในกรณีที่เงินได้ของบุคคลหนึ่งเข้าเกณฑ์การเสียภาษีมากกว่า 1 ครั้ง ภายใต้กฎหมายภาษีอากรของประเทศมากกว่า 1 ประเทศขึ้นไป

พูดง่ายๆ คือ

ถ้าคุณมีรายได้จากต่างประเทศที่เป็นประเทศคู่สัญญานี้แล้วละก็ คุณอาจจะสามารถเสียภาษีในประเทศไทยน้อยลงได้ เนื่องจากสัญญานี้จะช่วยลดภาระการจ่ายภาษีที่ซ้ำซ้อนลง แถมยังช่วย ลดการหลีกเลี่ยงภาษี ระหว่างประเทศ และช่วยส่งเสริมการค้าการลงทุน ให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศกันได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น

นางสาวเอมมี่ เป็นชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศคู่สัญญากับประเทศไทย เธอได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 และไปกลับประเทศเยอรมันอยู่ประจำ แต่โดยรวมแล้วเธอพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลารวมๆ 8 เดือน ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 นางสาวเอมมี่ได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ลงทุนไว้ในประเทศเยอรมันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวเวลาอยู่ประเทศไทยด้วย

เมื่อพิจารณาแล้ว นางสาวเอมมี่ อยู่นประเทศไทย เกิน 180 วัน จึงเข้าข่ายจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ซึ่งถ้านางสาวเอมมี่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จากที่เยอรมันมาแล้ว ก็จะสามารถนำเงินภาษีที่ได้ชำระไปที่เยอรมัน มาหักลบจากจำนวนภาษีที่ต้องชำระในประเทศไทยได้ จึงเป็นการลดภาระภาษีของนางสาวเอมมี่ลงนั่นเอง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้


ที่มา : rabbitfinance.com

 71506
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ถ้าเกิดทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ก็จะส่งผลให้มีความรู้สึกไม่มีแรงใจในการทำงานต่อไปเพราะกลัวทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายเหมือนงานที่ผ่านมา จะทำอย่างไรเมื่อเราไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่องค์กรได้วางเอาไว้
2198 ผู้เข้าชม
คนที่เพิ่งทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือทำงานประจำควบคู่กับการขายของออนไลน์มักเจอปัญหาเรื่องการเสียภาษี ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาษีอะไรบ้างที่ต้องจ่าย และมีเอกสารอะไรที่ต้องเก็บบ้าง
3361 ผู้เข้าชม
การเข้าออกของพนักงานในองค์กรถือเป็นเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในการทำงาน เมื่อมีพนักงานลาออก ก็ต้องมีการสรรหาคัดเลือกพนักงานเข้ามาทดแทนตำแหน่งงานที่หายไป และเมื่อคัดเลือกได้พนักงานที่น่าจะดีที่สุดแล้ว ก็จะต้องมีการนัดหมายเริ่มต้นการทำงาน พนักงานใหม่กลุ่มนี้ องค์กรมีการดูแลอย่างไรนั้น มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าพนักงานที่ทำงานมานานๆ ในองค์กรเลย
2663 ผู้เข้าชม
หากคุณมีลูกเล็กๆ หรือเคยมีประสบการณ์กับการเลี้ยงเด็ก จะพบว่าเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่สามารถพูดได้ ก็ต้องการการสื่อสาร พูดคุยเหมือนกัน จริงๆ แล้ว คนเราเกิดมาต้องการการสื่อสารทันทีที่คลอดเลยด้วยซ้ำ ดูได้จาก หากเด็กที่คลอดออกมาแล้วไม่ร้อง หมอจะตีหรือทำทุกวิธีที่ให้เด็กร้องเพื่อปอดจะได้เริ่มทำงาน พอโตขึ้นมาหน่อยก็เริ่มพูดเพื่อสื่อสารให้คนรอบข้างเข้าใจ
2679 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์