มีเด็กหนึ่งคน เราต้องเสียภาษีสักเท่าไร?

มีเด็กหนึ่งคน เราต้องเสียภาษีสักเท่าไร?



“รู้ไหม มีลูกคนหนึ่งเปลืองเงินแค่ไหน” มิตรสหายที่มีลูกหลายคนของผม เริ่มบ่นแบบนี้เป็นเสียงเดียวกัน เมื่อมีโอกาสได้เจอะเจอกันกับผองเพื่อน เพราะพวกเขามองว่าการมีลูกนั้นมีต้นทุนอีกหลายอย่างตามมา

“แต่มันก็มีความสุข ไม่ใช่เหรอ” ผมมักจะแย้งพวกเขาไปด้วยคำตอบแบบนี้ เพราะจริงๆ แล้วการที่มีลูกสักคน ความสุขที่ได้รับมันก็มีเช่นเดียวกัน ซึ่งผมก็เห็นพวกเขาเหล่านั้น รู้สึกดีกับการมีลูก จากภาพที่โพสต์ลงในโซเชียลบ้าง สเตตัสต่างๆ ไปจนถึงความภูมิใจบางอย่างที่สังเกตได้ในแววตา เรียกได้ว่ามันคือความสุขอีกรูปแบบของชีวิตที่แลกมากับต้นทุนบางอย่างที่จ่ายไป เพียงแต่ว่าเราไม่สามารถวัดความคุ้มค่ามันได้อย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้นเอง


“มันก็จริงแหละ แต่มันก็เปลืองจริงๆ นี่หว่า” สุดท้ายเรามักจะจบบทสนทนาด้วยคำบ่นถึงค่าเล่าเรียนต่างๆ ค่าใช้จ่ายที่ตามมาเพื่อให้คุณภาพชีวิตของลูกดีขึ้น ไปจนถึงความพยายามในการสร้างรายได้ของตัวเอง 

ว่าแต่เคยลองคิดไหมครับว่า การมีลูกกับการวางแผนภาษี มันมีอะไรที่เกี่ยวข้องกันอยู่ และการมีเด็กหนึ่งคนเราต้องทนกับเรื่องภาษีสักเท่าไร? ลองมาดูกันครับ

1) เริ่มต้นตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอดบุตร

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป และมีการจ่าย

"ค่าฝากครรภ์" และ "ค่าคลอดบุตร" จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีต่อครรภ์  (ท้องแต่ละครั้ง) คือ 60,000 บาท และเป็นสิทธิลดหย่อนภาษีที่คุณแม่สามารถใช้ได้คนเดียว (ในกรณีที่มีเงินได้) ซึ่งจะโอนให้คุณพ่อก็ต่อเมื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีรวมกันเท่านั้น  และที่สำคัญคือ ถ้าเบิกสิทธิประโยชน์อย่างอื่นแล้ว (เช่น ประกันสังคม หรือ สวัสดิการต่างๆ) จะเอามาเบิกได้แค่ส่วนที่ยังไม่เกิน 60,000 บาท

2) หลังจากมีบุตรแล้ว ถ้ามีมากขึ้นก็ยิ่งประหยัดได้มากขึ้น ในกรณีที่มีบุตรแล้ว

คุณพ่อและคุณแม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยถ้าหากคุณพ่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับคุณแม่ จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อจดทะเบียนรับรองบุตรเท่านั้นครับ โดยมีหลักการเพิ่มเติม คือ

  • บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี
  • ถ้าอายุอยู่ในระหว่าง 21-25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
  • บุตรต้องมีเงินได้ในปีไม่เกิน 30,000 บาท (ยกเว้นกรณีเงินปันผล)

และตั้งแต่ปี 2561 สำหรับคนที่มีลูกคนที่ 2 เป็นต้นไป จะได้รับสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่มอีก 30,000 บาทต่อคน รวมเป็น 60,000 บาท


ดังนั้น.. ลองคิดง่ายๆ ปี 2562 นี้ ถ้าใครมีลูก (ตั้งครรภ์และคลอด) จะได้ค่าลดหย่อน 60,000 + 30,000 บาท รวมเป็น 90,000 บาท และถ้าเป็นลูกคนที่สองเป็นต้นไป (ตั้งครรภ์และคลอด) จะได้ค่าลดหย่อน 60,000 + 30,000 + 60,000 บาท รวมเป็น 150,000 บาท

“เป็นไงเงื่อนไขการมีลูกแล้วลดหย่อนภาษีได้ อย่างน้อยมันก็คุ้มค่าใช่ไหมละ” ผมถามมิตรสหายหลายท่านถึงเรื่องนี้ว่าสิทธิประโยชน์ด้านภาษีนั้นมีความคุ้มค่าหรือเปล่า ซึ่งทั้งหมดก็ล้วนแต่ส่ายหน้ากันเป็นแถว


“ใครมันจะมีลูกเพื่อประหยัดภาษีกันล่ะ” บางคนถึงขั้นบ่นแบบนี้ออกมา แถมยังบ่นต่อด้วยว่า ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กในยุคนี้ มันไม่มีทางที่จะคุ้มค่ากับการลดหย่อนภาษีอย่างแน่นอน ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าดูแลต่างๆ ไปจนถึงค่าเรียน เอาเป็นว่าจ่ายปีละ 30,000 บาทน่ะเหรอ ไม่มีหวัง และต่อให้เป็นลูกคนที่สองที่ได้ 60,000 บาทก็ยังไม่คุ้มค่า!!!


“เฮ้ย ถ้าแบบนี้ลูกเรามีรายได้ ก็ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้น่ะสิ” เพื่อนช่างสังเกตคนหนึ่งทักขึ้นมา เมื่อเห็นรายละเอียดเรื่องการลดหย่อนภาษีของลูกที่มีเงื่อนไขว่า ลูกต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี “โห! ถ้าเป็นลูกดาราคนดังที่มีรายได้ พ่อแม่ก็ไม่ได้สิทธิแล้วสินะ” เขาบ่นเบาๆ


“ถ้าลูกมีรายได้ แล้วจะหวังลดหย่อนภาษีอีกเรอะ!” ผมแซวแบบหยอกๆ เขากลับไป เพราะถ้าหากลูกสามารถทำรายได้ได้จริง มันก็น่าจะช่วยให้พ่อแม่สบายขึ้นไม่ใช่เหรอ?


“แต่เราไม่นะ เราไม่อยากให้ลูกเราเหนื่อย อยากให้เขามีชีวิตของเขาไป” เพื่อนคุณแม่สายสตรองที่ลงทุนลาออกจากงานมาเลี้ยงลูกพูดขัดขึ้นมา “เราว่าชีวิตในวัยเด็กมันต้องใช้ให้คุ้มว่ะ” คำพูดที่ตามมาแสดงแนวคิดให้เห็นว่าเธอให้ความสำคัญกับลูกในด้านไหนที่มากกว่าคนอื่น


หลังจากนั้นมิตรสหายทั้งหมดก็โต้เถียงกันอย่างสนุกสนานถึงแนวคิดในการเลี้ยงลูกไปจนถึงการวางแผนภาษี จนทำให้ผมนั้นอดรนทนไม่ได้และเอ่ยปากถามออกไปว่า


“ตกลงคิดว่าการมีลูกนี้มันคุ้มค่าไหม?” หลายคนถึงกับชักสีหน้ามองว่าผมถามอะไรแบบนี้ และมีบางคนตอบกลับมาทันทีว่า “เราว่าแกไม่ควรวัดความคุ้มค่าในการเลี้ยงลูกเป็นตัวเงินหรอกนะ เพราะเขาเกิดมาเพื่อสร้างความสุขให้กับครอบครัว ซึ่งไอ้เรื่องพวกนี้ไม่สามารถวัดมูลค่าออกมาได้หรอก”


ผมได้โอกาสเลยสัพยอกกลับไปอีกครั้งว่า “แล้วจะบ่นทำไมว่าเลี้ยงลูกมันเหนื่อยและเปลือง ในเมื่อสุดท้ายแล้วก็รู้ว่ามันได้อะไรมากกว่าตัวเงินอยู่ดี”


และทั้งหมดก็หัวเราะขึ้นมาพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้

ที่มา : www.scb.co.th

 1345
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เงินเดือนที่มีรายจ่ายมากมายก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีกันได้ถ้าหากเราบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและเข้าใจก็จะทำให้ประหยัดไปหลายบาทเลยทีเดียว และที่สำคัญการวางแผนประกันลดหย่อนภาษีก็เป็นอีกเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนควรวางแผนให้ดีเช่นกัน
1578 ผู้เข้าชม
Assessment Center หรือที่เรียกกันว่า ศูนย์การประเมินผล เป็นเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการประเมินศักยภาพและพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรเพื่อที่จะก้าวเข้าสู่สายงานในระดับบริหาร ด้วยวิธีการประเมิน การวัดและวิเคราะห์ผลในเรื่องทักษะ ความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของบุคลากรในองค์กร โดยจะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์หาพฤติกรรมด้านการบริหารจัดการ เช่น วิสัยทัศน์ การวางแผนงาน การแก้ไขปัญหาตัดสินใจ ความคิดเชิงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์เพื่อที่จะคัดสรรผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมตรงกับความต้องการในแต่ละตำแหน่งงานอย่างแท้จริงและสอดคล้องกับทิศทางขององค์กรนั้นๆ ยิ่งในบางตำแหน่งงานซึ่งมีความสำคัญอย่างมากกับองค์กร อาทิเช่น CEO หรือในระดับ Top management องค์กรต้องมีวิธีการสรรหาและคัดสรรที่เหมาะสมที่สุดเพื่อที่จะนำพาองค์กรให้พัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2495 ผู้เข้าชม
ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้กระแสเรื่องธุรกิจและกิจการต่าง ๆ ถูกโจมตี (disrupt) ไม่ว่าจะจากเทคโนโลยี คู่แข่งรายใหม่ หรือ แนวทางการทำธุรกิจแบบใหม่ (new business model) กำลังถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก
1864 ผู้เข้าชม
พนักงานทุกคนจะต้องถูกหัก 5% ของเงินได้ในแต่ละเดือน เพื่อนำส่งในกับสำนักงานประกันสังคม เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม แบ่งไปไหนบ้าง! เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น
6226 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์