• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ทำไม Employee Engagement ถึงเป็นคำศัพท์ที่สำคัญที่สุดที่ HR ควรรู้ในปี 2020

ทำไม Employee Engagement ถึงเป็นคำศัพท์ที่สำคัญที่สุดที่ HR ควรรู้ในปี 2020

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ทำไม Employee Engagement ถึงเป็นคำศัพท์ที่สำคัญที่สุดที่ HR ควรรู้ในปี 2020

ทำไม Employee Engagement ถึงเป็นคำศัพท์ที่สำคัญที่สุดที่ HR ควรรู้ในปี 2020



เงินเดือนเยอะๆ พนักงานถึงจะแฮปปี้โบนัสต้องมหาศาล ถึงจะซื้อใจพนักงานได้สวัสดิการต้องเยอะแยะหลากหลายครอบคลุม พนักงานจะได้ไม่ลาออก แต่ทำไมเรายังเห็นตัวอย่างในบางบริษัทที่เงินเดือนสูงลิ่ว โบนัสก็ไม่ใช่น้อย แถมสวัสดิการยังน่าดึงดูดใจ แต่ทำไม employee engagement ถึงไม่สูงเท่าที่ควรจะเป็น แถมยังพบปัญหาคลาสสิกตลอดกาล อย่างการย้ายบริษัทเมื่อได้รับข้อเสนอด้านเงินที่ดีกว่า หรือแม้กระทั่งมหกรรมการลาออกครั้งใหญ่ปลายปีหลังได้รับโบนัส

สิ่งเหล่านี้กำลังบอกอะไรกับเรา ???
หรือว่าสมมุติฐานที่เรามีต่อ “แรงจูงใจ” ของคนทำงานยุคใหม่จะมีอะไรบางอย่างไม่ถูกต้อง

วันนี้ ขอนำเสนอโมเดลใหม่ถอดด้ามเข้ายุคสมัยสามารถใช้ได้จริงในปี 2020 เป็นต้นไป…โดยโมเดลนี้อ้างอิงมาจากการศึกษาวิจัยจาก HR thought leaders ระดับโลก (อ้างอิงอยู่ท้ายบทความ) โดยมีอยู่ทั้งหมด 5 ข้อนะครับ

เมื่ออ่านจบก็หวังว่าผู้อ่านจะได้กรอบความคิดและไอเดียไปต่อยอดเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานไม่มากก็น้อยนะครับ

1. ออกแบบให้งานมันมีคุณค่าและความหมาย [Make Work Meaningful]

Photo by Priscilla Du Preez on Unsplash

ปัจจัยแรกและปัจจัยเดียวที่สำคัญที่สุดในกระบวนการสร้าง Employee Engagement ที่ประสบความสำเร็จก็คือเรื่องของ Job-Person Fit หรือการที่เราต้องมั่นใจว่าคนกับงานตำแหน่งนั้นๆ มีความเหมาะสมจริงๆ

พูดอย่างง่ายคือเราต้องโฟกัสไปตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกคนที่ใช่เข้ามาตั้งแต่แรก เมื่อรับเข้ามาแล้วก็ต้องมั่นใจว่าเรามีระบบช่วยเหลือ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่พนักงานจำเป็นต้องใช้ในการทำงานให้สำเร็จ เช่น สำหรับตำแหน่งงานผู้สร้างสรรค์เนื้อหาออนไลน์ (Online Content Creator) เราก็อาจดูคนที่มีความรักความชอบในเนื้องานจริงๆ อาจดูได้จากผลงานเก่าๆ หรือการสัมภาษณ์งานที่ใช้คำถามเชิงพฤติกรรม (Behavioral Interview Questions) เพื่อดูงานอดิเรกที่ชอบทำว่าสอดคล้องและสนับสนุนกับงานหลักมากน้อยแค่ไหน

แต่โปรดระวังจุดที่อาจเข้าใจผิดได้ เพราะ Job-Person Fit เป็นเรื่องที่ต้องนั่งคิดพิจารณาอย่างจริงจังว่า คนแบบไหนกันแน่ที่เหมาะกับเนื้องานจริงๆ เพราะบางครั้งคุณสมบัติที่เราคิดว่าเหมาะอาจจะไม่เป็นอย่างที่เราคิดก็ได้ เช่น ในกรณีของอุตสาหกรรมโรงภาพยนต์พบว่าพนักงานบริการประจำโรงภาพยนต์ที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากที่สุดกลับไม่ใช่คนที่มีผลการเรียนหรือเกรดเฉลี่ยที่ดี แต่กลับเป็นคุณสมบัติอย่าง “คนที่ชอบความสนุกสนาน” หรือ “คนที่มีใจรักงานบริการ”

เพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อเรื่องปากท้องไม่ใช่ปัญหา ในกรณีนี้คือเงินเดือนที่จ่ายอย่างพอเพียงและยุติธรรม สิ่งที่จะทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มีความอบอุ่นเชื่อมโยง และมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างแข็งขันมันก็เริ่มมาตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกและการออกแบบการทำงานให้มีคุณค่าและความหมาย

เพิ่มเติม: นอกจากการคัดเลือกคนให้เหมาะกับงาน (Job-Person Fit/ Select To Fit)  การให้อิสระพนักงานในการมีอำนาจควบคุมการทำงาน (Autonomy) การสร้างทีมงานขนาดกะทัดรัดที่ทรงประสิทธิภาพ (Small Empowered Teams) และการให้เวลาอิสระให้การสร้างสรรค์โปรเจกใหม่ๆ ได้อย่างอิสระ (Time For Slack) ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้พนักงานได้รับประสบการณ์?ี่มีคุณค่าและความหมายจากการทำงานที่มากขึ้น ซึ่งเราจะพูดถึงในบทความต่อไปๆ ในอนาคต

2.สร้างระบบการบริหารจัดการคนในองค์กรให้ดี [Foster Great Management]

เมื่อเลือกคนได้เหมาะสมกับงานและคนเหล่านั้นก็ได้ทำงานที่ตรงกับคุณค่าและความถนัดของตัวเองแล้ว ด่านต่อไปที่จะทำให้พนักงานมีความสุขและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพคือการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถเริ่มได้จาก 4 วิธีการดังต่อไปนี้

[2.1] มีเป้าหมายร่วมที่ทุกคนให้คุณค่า

เมื่อมีเป้าหมายแล้ว เราก็ต้องมีการวัดผล เช่นบริษัท Google ใช้ระบบ OKR (objectives and key results) เพื่อสร้างเป้าหมายที่ เรียบง่าย ชัดเจน โปร่งใส เพื่อให้ทุกคนในทีมมีภาพสุดท้ายในหัวร่วมกัน และยังช่วยให้วัดผลได้ชัดเจน ง่าย และทำได้บ่อยๆ ร่วมกันกับทีมงาน

[2.2] มีระบบการโค้ชพนักงานที่ยอดเยี่ยม

อย่างแรกที่ต้องเข้าใจคือการโค้ชนั้นไม่ใช่แค่การฝึกฝนพัฒนาคนไปใน “ทิศทางที่เราต้องการ” แต่เป็นการ “มองเห็นศักยภาพ” ที่ซ่อนอยู่ในตัวพนักงานแต่ละคน

เพราะจริงๆ แล้วการโค้ชที่ดีไม่ต่างจากการโค้ชกีฬา เราย่อมเฝ้าสังเกตความสามาถ ความสนใจ และแรงผลักดันที่มีอยู่ตัวพนักงานแต่ละคน…ไม่มีสิ่งใดจะรู้สึกดีไปกว่าการมีหัวหน้าที่เข้าอกเข้าใจ คอนสนับสนุนในสิ่งที่เราทำได้ดีให้พัฒนายิ่งขึ้นไปอีก

หากคุณสามารถสร้างวัฒนธรรมในการโค้ชให้เกิดขึ้นกับองค์กรได้ล้วล่ะก็ ก็มั่นใจได้เลยว่าธุรกิจของคุณจะดำเนินการได้ดีขึ้น อัตราการมีส่วนร่วมของพนักงานจะพุ่งทะยาน (Employee Engagement) รวมถึงการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรก็จะไม่เป็นปัญหา

[2.3] ก่อร่างสร้างผู้นำ (Leadership Development)

คนที่จะคุมโทนบรรยากาศของวัฒนธรรมภายในองค์กรส่วนหนึ่งก็คือผู้จัดการระดับ Middle Management เนี่ยแหละ เพราะฉะนั้นการมีระบบสร้างและสนับสนุนผู้นำ การเชื่อมโยงผู้นำในองค์กรเข้าด้วยกัน จะมีผลอย่างมากในการสร้างสถานที่ทำงานที่เปี่ยมสุข นั่นก็เพราะเมื่อคนระดับหัวเรือธงรู้สึกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ย่อมส่งต่อวิธีการบริหารแบบเดียวกันไปยังทีมงานในแต่ละฝ่ายของตน

[2.4] มองกลับและปรับเปลี่ยนแบบประเมินผลงานประจำปีในมุมใหม่(Reengineer The Annual Performance Appraisal)

บริษัทส่วนใหญ่ต้องมีเจ้าแบบประเมินตัวนี้ให้พนักงานทุกคนทำในช่วงปลายปีแน่ๆ แต่ผลการศึกษาพบว่ามีเพียง 8% เท่านั้นที่มองว่ามันมีประโยชน์คุมเวลาที่เสียไป…ทำไมกัน ??? นั่นเพราะบางทีกระบวนการส่วนนี้ไปโฟกัสที่ระบบการโหวตคะแนนและจัดลำดับพนักงานมากกว่าจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาพนักงาน

เราสามารถพัฒนากระบวนการประเมินพนักงานให้ได้ผลมากกว่านี้โดยโฟกัสให้มากขึ้นเกี่ยวกับการให้ Feedback กับพนักงาน

3. เสริมสร้างความยืดหยุ่น หัวใจความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคกันในที่ทำงาน [Establish A Flexible, Humane, Inclusive Workplace]

[3.1] อิสระ

พยายามให้อิสระกับพนักงานให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอิสระของเวลางาน วิธีการทำงาน หรือสถานที่ทำงาน เพราะเมื่อคนเรามีอิสระคนเราจะแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีทางเลือกและการตัดสินใจด้วยตนเอง ในขณะที่เมื่อถูกควบคุม คนเราจะมีพฤติกรรมที่สะท้อนถึงแรงกดดันจากภายนอก ตามคำกล่าวเปิดบทของหนังสือ “WORK RULES! Insights from Inside Google That Will Transform How You Live and Lead” ที่ว่า If you give people freedom, they will amaze you.

[3.2] ออกแบบเพื่อความแตกต่าง

คำนึงถึงความแตกต่างของบุคคลิคภาพ เช่น แม้จะมีการสร้างพื้นที่เปิดเพื่อออกแบบให้ทุกคนมีปฎิสัมพันธ์กัน แต่ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงคนบุคคลิกแบบ introvert ที่ต้องการพื้นที่ส่วนตัวในการชาร์ตระดับพลังงานชีวิต เป็นต้น

[3.3] มองเห็นและให้รางวัลอย่างมีกลยุทธ์

สร้างวัฒนธรรมแห่งการ “มองเห็น” คุณลักษณะที่ดี และให้รางวัล โดยอาจจะเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรเลยการกล่าวคำขอบคุณ หรืออาจจะพัฒนาไปเป็นการสร้างกิจกรรมเฉพาะเพื่อให้รางวัลแก่คนที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น หากองค์กรต้องการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ก็อาจจะมีการจัดกิจกรรมเล็กๆ สนุกสนานให้พนักงานโหวตเพื่อนร่วมงานที่แบ่งปันความรู้ นำเสนอไอเดียใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งสอนงานเพื่อนพนักงานด้วยกัน โดยรางวัลที่ให้อาจไม่ได้มากมายในรูปของตัวเงิน แต่ก็สามารถซื้อใจและเพิ่มความรู้สึกดีต่อองค์กรมากทีเดียว เพราะอย่าลืมว่าหนึ่งในรางวัลที่ทำให้มนุษย์อย่างเราหัวใจฟูได้มากที่สุดก็คือการรู้สึกได้รับความยอมรับ หรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสังคมที่ตนเองสังกัดอยู่นั่นเอง

[3.4] มองความหลากหลายให้ลึกกว่าเดิม

เปิดใจและน้อมรับรับความหลากหลายความหลากหลายที่พูดถึงนี้ไม่ใช่แค่เพียงเป็นเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ หน้าตา สีผิว สถาบันการศึกษา หรือฐานะเท่านั้น แต่ยังนับรวมไปถึงความหลากหลายทางความคิดอีกด้วย

โดยความท้าทายหลักที่จะทำให้เป้าหมายข้อนี้บรรลุได้ จำเป็นอย่างมากที่คนที่อยู่ในระดับผู้นำองค์กรจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญ รวมถึงการไม่พลาดตกหลุมทางความคิดที่มาจากจิตใต้สำนึก เช่น ความรู้สึกดีกับคนที่มาจากสถาบันการศึกษาเดียวกันมากกว่า แทนที่จะดูจากบุคคลิก นิสัย หรือความสามารถที่แท้จริง

ผู้นำอาจเริ่มจากการจัดกิจกรรมการอภิปรายปัญหาแบบโปร่งใสโดยให้คนทุกระดับในองค์กรมีส่วนแสดงความคิดเห็น หรือหากคุณเป็นฝ่ายทรัพยากรณ์บุคคลก็สามารถออกแบบระบบการสรรหาพนักงานที่มีพื้นเพที่หลากหลายครอบคลุมมากขึ้น เป็นต้น

4. ออกแบบและประกอบสร้างพื้นที่เพื่อให้คนเก่งได้เติบโต [Create Ample Opportunities For Growth]

ในท้ายที่สุดแล้วต่อให้องค์กรจะมีระบบบริหารจัดการที่ดี พนักงานมีความสุขในสิ่งที่ทำ ที่ทำงานอบอุ่นน่าอยู่ แต่ถ้าพนักงานไม่สามารถจินตนาการเห็นภาพตัวเองที่สามารถงอกงามไปพร้อมๆ กับองค์กรได้ นั่นก็อาจทำให้คนเก่งๆ ที่มีทางเลือก ตัดสินใจย้ายออกไปหาโอกาสที่ดีกว่าได้

นั่นจึงเป็นที่มาของการสร้าง ” พื้นที่แห่งโอกาสภายในองค์กร” เพื่อที่พนักงานจะได้ไม่จำเป็นต้องลาออกไปมองหาจากที่อื่น

มี 3 วิธีการหลักในการสร้างพื้นที่แห่งโอกาส

หนึ่ง การออกแบบระบบ Onboarding และการฝึกอบอรมเพื่อสนับสนุนพนักงานที่เพิ่งได้รับการเลื่อนขั้นใหม่ รวมถึงการสนับสนุนการเรียนรู้งานในตำแหน่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันอย่างเต็มที่

สอง แน่นอนว่าเราไม่สามารถเลื่อนขั้นให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรได้ในทุกปีๆ  แต่สิ่งที่เราทำได้คือการสนับสนุนการเรียนรู้ของพนักงานจากตำแหน่งงานข้างเคียงภายในองค์กร เราสามารถออกแบบระบบให้พนักงานได้ทดลองสลับสับเปลี่ยนหน้าที่ของตนเองภายในองค์กร การโยนโจทย์การทำงานใหม่ที่ท้าทายเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของพนักงาน (Talent Mobility)

สาม ให้รางวัลผู้จัดการของทีมไม่เพียงแค่ตัวเลขความคืบหน้าบนรายงานของแผนก แต่ควรเพิ่มการให้คะแนนกับผู้จัดการที่สามารถสนับสนุนการเรียนรู้ การโค้ชพนักงานของคนในทีม ที่จะช่วยให้เราสามารถรักษาคนเก่งไว้กับองค์กรได้

ยกตัวอย่างพอให้เห็นภาพในอุตสาหกรรมค้าปลีก ลองจินตนาการถึงเวลาที่ลูกค้าเข้ามาในร้านแล้วถามหาถึงสินค้าที่ต้องการ ถ้าองค์กรมีวัฒนธรรมการทำงานตัวใครตัวมันแบบแยกส่วนกัน ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่พนักงานคนนั้นอาจจะไม่รู้ว่าจะช่วยเหลือลูกค้าในส่วนงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเองได้อย่างไร

ในขณะหากเป็นพนักงานที่อยู่ในองค์กรที่มีวัฒนธรรมสนับสนุนการเรียนรู้ของพนักงาน นั่นจะทำให้พนักงานแต่ละคนรู้สึกเชื่อมโยงการทำงานเห็นเป็นภาพใหญ่ของทั้งร้านค้า หากมีการขาดลามาสายของพนักงานคนใดคนหนึ่ง เพื่อนพนักงานก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าได้ทันที ซึ่งการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมองค์กรแบบหลังนี้ทำให้การประเมินคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าสูงขึ้นมากกว่า 20% เลยทีเดียว


5. ปลุกจิตวิญญาณแห่งความหมายในตัวพนักงานผ่านการสื่อสารหัวใจของธุรกิจ [Establish vision, purpose, and transparency in leadership]

มีเรื่องเล่าว่า…ครั้งหนึ่งประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ไปที่สำนักงานใหญ่ของนาซ่าเป็นครั้งแรก ในขณะที่กำลังตื่นตาตื่นใจเดินทัวร์ไปตามสถานที่ต่างๆ เขาก็พบกับคนถูพื้นเดินสวนผ่านมา ก็เลยถามว่า “คุณทำอะไรอยู่ที่นี่หรือครับ” ชายพนักงานทำความสะอาดคนนั้นก็กล่าวตอบด้วยท่าทีปกติธรรมชาติว่า “กำลังช่วยส่งมนุษย์ชาติไปดวงจันทร์ครับ”

คงจะจินตนาการได้ไม่ยากว่าเมื่อองค์กรมีพันธกิจที่ยิ่งใหญ่และคิดถึงส่วนรวม ย่อมทำให้เกิดการยอมรับและได้รับความชื่นชมจากลูกค้า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะมีองค์กรขนาดใหญ่มีการทำกิจกรรมเพื่อชูภพเหล่านี้ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมหรือ CSR มานานแล้ว แต่ที่เรากำลังพูดถึงไม่ใช่เพียงภาพหน้าฉากหรือสิ่งที่ทำเป็นครั้งคราว ทว่าจะต้องเป็นสิ่งที่คนระดับผู้นำในองค์กรต้องเห็นค่าและควบรวมไปทุกการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ

จุดสำคัญของการเพิ่ม Employee Engagement ด้วยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีศูนย์กลางเป็นพันธกิจที่ดีเหล่านี้ไม่สามารถทำขึ้นมาแบบหลอกๆ หรือแบบผักชีโรยหน้าได้ แต่ต้องเกิดจากความตั้งใจจริง โดยสร้างพันธกิจเหล่านี้มาจากเบื้องลึกของคุณค่าของคนในตำแหน่งผู้นำที่จะกำหนดนโยบายและการตัดสินใจสำคัญๆของธุรกิจที่จะคำนึงเอาภาพโลกที่ดีกว่ารวมอยู่ด้วย เมื่อนั้นวัฒนธรรมองค์กรที่อาบด้วยคุณค่าเหล่านั้นจะค่อยๆ ไหลลงมาอาบคนในระดับปฎิบัติการณ์และดึงดูดคนที่ใส่ใจต่อพันธกิจขององค์กรให้เข้ามาร่วมงานในอนาคตอีกด้วย

จาก Engagement สู่  Experience พร้อมรับมือ 2020

เมื่อถอยออกมามองภาพมุมกว้างอย่างที่สุดแล้ว ความพยายามในการเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Engagement) ก็คือการสร้างและพัฒนาประสบการณ์ของพนักงานให้ดีมากยิ่งขึ้น (Employee Experience) ซึ่งความยากสำหรับปี 2020 และปีต่อไปๆ หลังจากนี้ก็มาจากพฤติกรรม, ความคาดหวัง และความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงานรุ่นใหม่ตามโลกที่หมุนไปโดยพลังของเทคโนโลยี

เช่นนั้นแล้วการ “พยายามฟัง” เสียงของพนักงานให้มากขึ้นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ HR มืออาชีพต้องเริ่มต้นทำได้แล้วในปี  2020 นี้ นั่นก็เพราะพวกเขาเหล่านี้มีทางเลือกและเข้าถึงความเป็นไปต่างๆ ขององค์กรตั้งแต่ยังไม่ก้าวเท้าเข้าไปในสำนักงานเลยด้วยซ้ำผ่านข้อมูลมหาศาลที่อยู่เพียงปลายนิ้วคลิก…หากองค์กรของคุณยังไม่เปลี่ยน นั่นก็ไม่ได้ทำให้พนักงานในตลาดแรงงานเปลี่ยนพฤติกรรมไป จึงเป็นการตัดสินใจที่ดีที่เราจะเริ่มคิดถึงสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อสร้างองค์กรในวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า ที่ใครๆ ต่างฝันถึงและอยากเข้ามาทำงานด้วย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้

ที่มา : th.hrnote.asia

 7228
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

วันนี้คุณในฐานะผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน ซึ่งมีทีมงานอยู่ภายในการปกครองจำนวนหนึ่ง คุณเคยวิเคราะห์ผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละคนหรือไม่ ว่าแต่ละคนนั้นอยู่ในช่องไหนของตาราง ถ้าคุณสามารถจัดได้ตามช่องอย่างชัดเจนแล้วการพัฒนาเขาเหล่านี้ก็ต้องใช้วิธีที่แตกต่างกัน
1738 ผู้เข้าชม
สำหรับมนุษย์เงินเดือนซึ่งรับเงินได้ประเภทที่ 1 หรือ เงินได้ตามมาตรา 40(1) นั้น นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมาย ที่จะต้องประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของลูกจ้างไปล่วงหน้าตลอดทั้งปี จากนั้นจะนำภาษีที่คำนวณได้ตลอดทั้งปีนั้น มาเฉลี่ยเป็น “ต่อเดือน” แล้วจึงทำการหัก “ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย” ออกจากเงินเดือนของเราในแต่ละเดือน ทำให้เราได้รับเงินเดือนสุทธิน้อยลง
3911 ผู้เข้าชม
กระบวนการสมัครงานของคุณได้ผ่านพ้นไปแล้วตั้งแต่ขั้นตอนการส่งประวัติส่วนตัวไปยังนายจ้างการสัมภาษณ์งานในแต่ละรอบ จนตอนนี้คุณคือผู้ถูกเลือกจากนี้ไปคุณต้องทำอะไรบ้าง ตรวจสุขภาพ บางบริษัทอาจส่งคุณไปตรวจร่างกาย ว่าคุณมีสุขภาพดีสามารถทำงานให้เขาได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง ส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหา ได้ทำงานแน่นอน หาผู้ค้ำประกัน หากเป็นงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเงิน ๆ ทอง ๆ อาจต้องมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งบางแห่งไม่อนุญาตให้ญาติเป็นผู้ค้ำประกัน ผู้สมัครงานจึงต้องหาผู้ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับนับถือมาเป็นผู้ค้ำประกันให้ ทำสัญญาว่าจ้าง โดยทั่ว ๆ ไปเป็นสัญญามาตรฐานว่ามีการตกลงว่าจ้างงานกัน รวมถึงเรื่องอัตราค่าจ้าง ผลตอบแทนต่าง ๆ และข้อบังคับของบริษัท ทดลองงาน แม้คุณจะได้เข้าทำงานแล้ว แต่คุณยังไม่ได้เป็นพนักงานเต็มตัว ต้องผ่านการทดลองงานเสียก่อน โดยปกติแล้วใช้เวลา 3-6 เดือน จึงจะได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ
3488 ผู้เข้าชม
เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี? เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยอยู่บ่อยๆ ถึงกับขั้นไปค้นหาใน Google กันจนฮิตติดกระแส แต่ความเป็นจริงแล้วมีหลักการคิดแบบนี้จ้า
1039 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์