มีเด็กหนึ่งคน เราต้องเสียภาษีสักเท่าไร?

มีเด็กหนึ่งคน เราต้องเสียภาษีสักเท่าไร?



“รู้ไหม มีลูกคนหนึ่งเปลืองเงินแค่ไหน” มิตรสหายที่มีลูกหลายคนของผม เริ่มบ่นแบบนี้เป็นเสียงเดียวกัน เมื่อมีโอกาสได้เจอะเจอกันกับผองเพื่อน เพราะพวกเขามองว่าการมีลูกนั้นมีต้นทุนอีกหลายอย่างตามมา

“แต่มันก็มีความสุข ไม่ใช่เหรอ” ผมมักจะแย้งพวกเขาไปด้วยคำตอบแบบนี้ เพราะจริงๆ แล้วการที่มีลูกสักคน ความสุขที่ได้รับมันก็มีเช่นเดียวกัน ซึ่งผมก็เห็นพวกเขาเหล่านั้น รู้สึกดีกับการมีลูก จากภาพที่โพสต์ลงในโซเชียลบ้าง สเตตัสต่างๆ ไปจนถึงความภูมิใจบางอย่างที่สังเกตได้ในแววตา เรียกได้ว่ามันคือความสุขอีกรูปแบบของชีวิตที่แลกมากับต้นทุนบางอย่างที่จ่ายไป เพียงแต่ว่าเราไม่สามารถวัดความคุ้มค่ามันได้อย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้นเอง


“มันก็จริงแหละ แต่มันก็เปลืองจริงๆ นี่หว่า” สุดท้ายเรามักจะจบบทสนทนาด้วยคำบ่นถึงค่าเล่าเรียนต่างๆ ค่าใช้จ่ายที่ตามมาเพื่อให้คุณภาพชีวิตของลูกดีขึ้น ไปจนถึงความพยายามในการสร้างรายได้ของตัวเอง 

ว่าแต่เคยลองคิดไหมครับว่า การมีลูกกับการวางแผนภาษี มันมีอะไรที่เกี่ยวข้องกันอยู่ และการมีเด็กหนึ่งคนเราต้องทนกับเรื่องภาษีสักเท่าไร? ลองมาดูกันครับ

1) เริ่มต้นตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอดบุตร

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป และมีการจ่าย

"ค่าฝากครรภ์" และ "ค่าคลอดบุตร" จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีต่อครรภ์  (ท้องแต่ละครั้ง) คือ 60,000 บาท และเป็นสิทธิลดหย่อนภาษีที่คุณแม่สามารถใช้ได้คนเดียว (ในกรณีที่มีเงินได้) ซึ่งจะโอนให้คุณพ่อก็ต่อเมื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีรวมกันเท่านั้น  และที่สำคัญคือ ถ้าเบิกสิทธิประโยชน์อย่างอื่นแล้ว (เช่น ประกันสังคม หรือ สวัสดิการต่างๆ) จะเอามาเบิกได้แค่ส่วนที่ยังไม่เกิน 60,000 บาท

2) หลังจากมีบุตรแล้ว ถ้ามีมากขึ้นก็ยิ่งประหยัดได้มากขึ้น ในกรณีที่มีบุตรแล้ว

คุณพ่อและคุณแม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยถ้าหากคุณพ่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับคุณแม่ จะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อจดทะเบียนรับรองบุตรเท่านั้นครับ โดยมีหลักการเพิ่มเติม คือ

  • บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี
  • ถ้าอายุอยู่ในระหว่าง 21-25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
  • บุตรต้องมีเงินได้ในปีไม่เกิน 30,000 บาท (ยกเว้นกรณีเงินปันผล)

และตั้งแต่ปี 2561 สำหรับคนที่มีลูกคนที่ 2 เป็นต้นไป จะได้รับสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่มอีก 30,000 บาทต่อคน รวมเป็น 60,000 บาท


ดังนั้น.. ลองคิดง่ายๆ ปี 2562 นี้ ถ้าใครมีลูก (ตั้งครรภ์และคลอด) จะได้ค่าลดหย่อน 60,000 + 30,000 บาท รวมเป็น 90,000 บาท และถ้าเป็นลูกคนที่สองเป็นต้นไป (ตั้งครรภ์และคลอด) จะได้ค่าลดหย่อน 60,000 + 30,000 + 60,000 บาท รวมเป็น 150,000 บาท

“เป็นไงเงื่อนไขการมีลูกแล้วลดหย่อนภาษีได้ อย่างน้อยมันก็คุ้มค่าใช่ไหมละ” ผมถามมิตรสหายหลายท่านถึงเรื่องนี้ว่าสิทธิประโยชน์ด้านภาษีนั้นมีความคุ้มค่าหรือเปล่า ซึ่งทั้งหมดก็ล้วนแต่ส่ายหน้ากันเป็นแถว


“ใครมันจะมีลูกเพื่อประหยัดภาษีกันล่ะ” บางคนถึงขั้นบ่นแบบนี้ออกมา แถมยังบ่นต่อด้วยว่า ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กในยุคนี้ มันไม่มีทางที่จะคุ้มค่ากับการลดหย่อนภาษีอย่างแน่นอน ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าดูแลต่างๆ ไปจนถึงค่าเรียน เอาเป็นว่าจ่ายปีละ 30,000 บาทน่ะเหรอ ไม่มีหวัง และต่อให้เป็นลูกคนที่สองที่ได้ 60,000 บาทก็ยังไม่คุ้มค่า!!!


“เฮ้ย ถ้าแบบนี้ลูกเรามีรายได้ ก็ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้น่ะสิ” เพื่อนช่างสังเกตคนหนึ่งทักขึ้นมา เมื่อเห็นรายละเอียดเรื่องการลดหย่อนภาษีของลูกที่มีเงื่อนไขว่า ลูกต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี “โห! ถ้าเป็นลูกดาราคนดังที่มีรายได้ พ่อแม่ก็ไม่ได้สิทธิแล้วสินะ” เขาบ่นเบาๆ


“ถ้าลูกมีรายได้ แล้วจะหวังลดหย่อนภาษีอีกเรอะ!” ผมแซวแบบหยอกๆ เขากลับไป เพราะถ้าหากลูกสามารถทำรายได้ได้จริง มันก็น่าจะช่วยให้พ่อแม่สบายขึ้นไม่ใช่เหรอ?


“แต่เราไม่นะ เราไม่อยากให้ลูกเราเหนื่อย อยากให้เขามีชีวิตของเขาไป” เพื่อนคุณแม่สายสตรองที่ลงทุนลาออกจากงานมาเลี้ยงลูกพูดขัดขึ้นมา “เราว่าชีวิตในวัยเด็กมันต้องใช้ให้คุ้มว่ะ” คำพูดที่ตามมาแสดงแนวคิดให้เห็นว่าเธอให้ความสำคัญกับลูกในด้านไหนที่มากกว่าคนอื่น


หลังจากนั้นมิตรสหายทั้งหมดก็โต้เถียงกันอย่างสนุกสนานถึงแนวคิดในการเลี้ยงลูกไปจนถึงการวางแผนภาษี จนทำให้ผมนั้นอดรนทนไม่ได้และเอ่ยปากถามออกไปว่า


“ตกลงคิดว่าการมีลูกนี้มันคุ้มค่าไหม?” หลายคนถึงกับชักสีหน้ามองว่าผมถามอะไรแบบนี้ และมีบางคนตอบกลับมาทันทีว่า “เราว่าแกไม่ควรวัดความคุ้มค่าในการเลี้ยงลูกเป็นตัวเงินหรอกนะ เพราะเขาเกิดมาเพื่อสร้างความสุขให้กับครอบครัว ซึ่งไอ้เรื่องพวกนี้ไม่สามารถวัดมูลค่าออกมาได้หรอก”


ผมได้โอกาสเลยสัพยอกกลับไปอีกครั้งว่า “แล้วจะบ่นทำไมว่าเลี้ยงลูกมันเหนื่อยและเปลือง ในเมื่อสุดท้ายแล้วก็รู้ว่ามันได้อะไรมากกว่าตัวเงินอยู่ดี”


และทั้งหมดก็หัวเราะขึ้นมาพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้

ที่มา : www.scb.co.th

 1322
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

แก้ปัญหาลาออกให้เจอ ทำไมลูกน้องลาออกบ่อย เคยส่งไหมครับว่าทำไมพนักงานที่เข้ามาใหม่ ไม่ค่อยจะมีใครอยู่ได้ถึง สามปี สี่ปี พอครบปีก็พากันลาออกหมด บางคนนี่ยังไม่ถึงปีด้วยซ้ำเลย…. พยายามจะแก้ปัญหาก็เเล้ว เเต่ก็ดูเหมือนยังไม่ถูกจุด
2257 ผู้เข้าชม
เชื่อว่าช่วงต้นปี หลายคนคงกำลังเตรียมเอกสารเพื่อทำการ ยื่นภาษี กับทางกรมสรรพากร ซึ่งส่วนใหญ่ก็คงยื่นกันผ่านระบบออนไลน์ ยิ่งยื่นเร็ว เอกสารครบ ถ้าชำระภาษีไว้เกินกว่าที่กำหนด สิ่งที่ทุกคนรอคอยก็คือ การคืนภาษี
1765 ผู้เข้าชม
“รู้ไหม มีลูกคนหนึ่งเปลืองเงินแค่ไหน” มิตรสหายที่มีลูกหลายคนของผม เริ่มบ่นแบบนี้เป็นเสียงเดียวกัน เมื่อมีโอกาสได้เจอะเจอกันกับผองเพื่อน เพราะพวกเขามองว่าการมีลูกนั้นมีต้นทุนอีกหลายอย่างตามมา
1322 ผู้เข้าชม
ความหลากหลายของบุคลากรในตลาดแรงงานหรือการบริหารงานแบบองค์กรนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละอย่างต่างก็มีลักษณะและข้อดีกับองค์กรที่แตกต่างกัน ซึ่งความหลากหลายต่างๆ นั้นมีดังนี้
2201 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์