Labour Relations แรงงานสัมพันธ์ และ ความปลอดภัย

Labour Relations แรงงานสัมพันธ์ และ ความปลอดภัย



แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relation) เป็นความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้อง หรือการปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายนายจ้าง หรือฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายจัดการฝ่ายหนึ่ง กับฝ่ายลูกจ้าง หรือฝ่ายพนักงาน หรือฝ่ายผู้ปฏิบัติงานอีกฝ่ายหนึ่ง

แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation)

เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง จะส่งผลทั้งในทางบวกและทางลบต่อกระบวนการบริหารงานภายในองค์การ กระบวนการผลิต และการดำเนินธุรกิจของนายจ้าง ส่งต่อสภาพการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของฝ่ายลูกจ้าง รวมทั้งส่งผลต่อสภาวการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศด้วยเช่นกัน ลักษณะงานของนักแรงงานสัมพันธ์ จะเกี่ยวข้องกับการลงโทษ การเลิกจ้าง การลดกำลังคน การเปลี่ยนหรือลดสภาพการจ้าง การเจรจาต่อรอง ข้อพิพาทแรงงาน การปิดงานและการนัดหยุดงาน และการสู้คดีในศาล เป็นต้น

ภารกิจของนักแรงงานสัมพันธ์จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการของนายจ้าง และความต้องการของลูกจ้าง

บทบาทของนักแรงงานสัมพันธ์ที่ดี จะต้องพยายามให้เกิดการยอมรับจากบุคคล 4 ฝ่าย อันได้แก่

· นายจ้าง

· ผู้บังคับบัญชา

· สหภาพแรงงาน

· ลูกจ้าง

จนเกิดเป็น “4 ความเชื่อ” กล่าวคือ

1. ต้องทำให้นายจ้างเกิดความเชื่อใจ

2. ทำให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความเชื่อมือ

3. ทำให้สภาพแรงงานเกิดความเชื่อถือ

4. ทำให้ลูกจ้างเกิดความเชื่อมั่นในการทำงาน

สำหรับกฎหมายแรงงาน (Labor Law)

หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง องค์การของนายจ้าง และองค์การของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนดให้นายจ้าง ลูกจ้าง และองค์การดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและต่อรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน การใช้แรงงาน การประกอบกิจการ และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปอย่างเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ที่พอเพียง อันจะมีผลทำให้เกิดความสงบสุข ความเจริญ และความมั่นคงแก่นายจ้าง ลูกจ้าง สังคม และประเทศชาติ

ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างนี้ จำเป็นต้องทราบถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยสังเขป กฎหมายแรงงานของประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลายฉบับ และมีการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติอยู่เสมอ กฎหมายแรงงานที่สำคัญและควรรู้มีอยู่ 6 ฉบับดังต่อไปนี้

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 6 การจ้างแรงงาน เป็นกฎหมายที่กล่าวถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน เงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง และเงื่อนไขในการเลิกจ้างแรงงานต่อกัน ทั้งนี้ถือว่าการจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิและหน้าที่อันจะต้องปฏิบัติต่อกัน

2. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เป็นการกำหนดขั้นตอนและวิธีการที่นายจ้างและลูกจ้างจะยื่นข้อเรียกร้องต่อกัน กระบวนการในการเจรจาต่อรอง ขั้นตอนในการระงับข้อพิพาทแรงงาน เงื่อนไขในการนัดหยุดงานหรือปิดงาน และบทบาทของรัฐในการระงับข้อพิพาทแรงงาน นอกจากนี้ยังรวมถึงการก่อตั้งและการดำเนินงานขององค์การนายจ้าง องค์การลูกจ้าง และการกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วย ในส่วนของพนักงานรัฐวิสาหกิจได้มีการออกพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 กำหนดความสัมพันธ์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจและฝ่ายบริหารไว้ต่างหาก

3. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายที่กำหนดกระบวนการฟ้องคดีในศาลแรงงาน และวิธีที่ศาลแรงงานจะพิจารณาคดี ซึ่งเน้นในหลักการสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม เพื่อผดุงไว้ซึ่งความเป็นธรรม และความสงบสุขด้านแรงงานสัมพันธ์ของประเทศ

4. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงการจัดตั้งกองทุนประกันสังคม การส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน และการให้ประโยชน์ทดแทนแก่ผู้ประกันตนในลักษณะต่างๆ

5. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงหน้าที่นายจ้างในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน และในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน

6. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรฐานแรงงานในกิจการ รวมถึงชั่วโมงทำงาน เวลาพัก วันหยุด วันลา การคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน ค่าจ้างขั้นต่ำ เงินชดเชย ระเบียบข้อบังตับ หลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และอำนาจพนักงานตรวจแรงงาน

ประเด็นเรื่องแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายแรงงาน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพราะความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง จะทำให้บุคคลและองค์การทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน อันจะก่อให้เกิดความสุข ความเจริญ และความมั่นคงทั้งแก่นายจ้าง ลูกจ้าง สังคม และประเทศชาติ

สามารถอ่านบทความ ลักษณะงาน HR ด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน และ บทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี้

ที่มา : seksitk.blogspot.com

 22853
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ในแต่ละปี หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกา จัดอันดับรัฐโลกตามระดับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง และยิ่งตัวเลขยิ่งต่ำเท่าไหร่ก็ยิ่งถือว่าประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้นเท่านั้น
1931 ผู้เข้าชม
พนักงานทุกคนจะต้องถูกหัก 5% ของเงินได้ในแต่ละเดือน เพื่อนำส่งในกับสำนักงานประกันสังคม เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม แบ่งไปไหนบ้าง! เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น
6223 ผู้เข้าชม
1.ไม่เป็นไร ผิดพลาดกันได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทำงานผิดพลาดแล้วยังจะมานั่งโทษตัวเองให้เหนื่อยทำไม ให้กำลังใจตัวเองเพื่อทำงานชิ้นต่อไปดีกว่า ยิ่งเรามัวจมกับความผิดพลาดเดิม ๆ เราก็จะทำงานอื่นต่อไม่ได้ สู้เอาความผิดพลาดมาทำให้ถูกต้องในงานชิ้นใหม่ดีกว่า สัจธรรมของชีวิตที่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีใครจำเรื่องของคนอื่นนานหรอก ถึงใครจะว่าเรามากมายแค่ไหน แต่พอเดินพ้นหน้าเราไปเขาก็ต้องคิดเรื่องอื่นแทน แล้วเราจะมาลงโทษตัวเองอยู่ทำไม 2.งานไม่ได้หนักทุกวันสักหน่อย เดี๋ยวก็ได้พักแล้ว เวลางานล้นมือเราอาจท้อ แต่ท้อไปงานก็ไม่เสร็จ ลุกมาทุ่มเททำให้เสร็จ ๆ ไปดีกว่า เหนื่อยแค่ไหนเดี๋ยวก็ได้พัก และสิ่งที่เราต้องทำเมื่องานเยอะ คือจัดระเบียบเส้นตายของงานแต่ละชิ้น เจรจาต่อรองถ้าคิดว่าจะไม่เสร็จตรงเวลา แล้วก็ค่อย ๆ ทำไปทีละงาน เดี๋ยวดีเอง 3.ถึงจะไม่เก่งงานนี้ แต่เราก็พยายามเต็มที่แล้ว บ่อยครั้งที่เราได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด ก็คิดเสียว่าไม่เป็นไร ทำให้เต็มที่ แต่ก่อนทำก็บอกคนที่มอบหมายหน่อยว่าไม่ค่อยถนัดนะ แต่จะทำเต็มที่ ผิดพลาดอะไรก็บอกได้ เขาจะได้ไม่คาดหวังมาก แต่ถ้าทำออกมาแล้วดีก็ถือเป็นกำไร อย่าเสียใจที่ทำงานบางประเภทไม่เก่ง เพราะเราก็อาจจะเก่งในงานประเภทอื่นก็ได้ จำไว้ว่าปลาอาจจะว่ายน้ำเก่งกว่าลูกสุนัข แต่ปลาก็วิ่งไม่ได้เหมือนกัน ถ้าปลาตัวหน่งจะโดดขึ้นมาบนบกแล้วคืบคลานจนถลอกปอกเปิกก็คงไม่มีใครว่าอะไร เพราะมันเป็นปลาจริงไหม
1249 ผู้เข้าชม
เราสามารถสร้างการคัดสรรพนักงานด้วยวิธีการที่ไม่เหมือนใครขึ้นมาได้ มากกว่าแค่การเรียกมานั่งสัมภาษณ์งานเท่านั้น ซึ่งกระบวนการต่างๆ สามารถที่จะทดสอบตลอดจนวัดค่าในมุมต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นและมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย ที่สำคัญกระบวนการสรรหาที่คัดสรรนี้ยังช่วยสร้างการรับรู้ที่ดีในองค์กรได้เช่นกัน เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีวิธีการคัดสรรที่สร้างสรรค์อะไรที่น่าสนใจกันบ้าง
2608 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์