การเป็นผู้นำที่ดีในยุคดิจิตอล (How to be a good leader in Digital Age)

การเป็นผู้นำที่ดีในยุคดิจิตอล (How to be a good leader in Digital Age)

องค์กรที่ก้าวหน้าอย่างยอดเยี่ยมนั้นมักจะมีผู้นำที่ดีเป็นหัวเรือองค์กรเสมอ ตลอดจนใส่ใจในผู้นำระดับล่างๆ ลงมาที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพในการบริหารงานและบริหารคนได้อย่างดีเยี่ยมไปพร้อมๆ กัน ผู้นำในยุคเก่านั้นอาจต้องเชี่ยวชาญในการใช้อำนาจสั่งการ บริหารคนให้อยู่ในระบบระเบียบ ตลอดจนควบคุมการทำงานในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งให้มีความสม่ำเสมอ และเกิดผลลัพธ์ที่ดีให้คงที่มากที่สุด แต่สำหรับผู้นำในยุคใหม่ในยุคดิจิตอลที่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย ในยุคโลกไร้พรมแดนที่ทั่วทั้งโลกหลอมกลายเป็นวัฒนธรรมเดียวกัน เชื่อมต่อกันได้รวดเร็ว ต่างก็ทำให้ระบบการทำงานนั้นเปลี่ยนไปมากมาย เราเลยอยากนำเสนอวิธีการเป็นผู้นำที่ดีในยุคดิจิตอลเพื่อให้เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ในทุกวันนี้

1. ควรอัพเดทเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ

ในยุคนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ชีวิตส่วนตัวไปจนถึงชีวิตการทำงานเลยทีเดียว หลายเทคโนโลยีเป็นประโยชน์ต่อการทำงานเป็นอย่างมาก ผู้นำที่ดีจึงควรที่จะอัพเดทความรู้ในเรื่องนี้ตลอดจนพัฒนาการใช้งานตลอดเวลา โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานของเราโดยตรง ในชณะเดียวกันก็สามารถนำความรู้ใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ตลอดจนแนะนำองค์กรให้นำเอาเทคโนโลยีเช้ามาใช้กับองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย แล้วการที่ผู้นำที่ดีมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีนี้ก็จะทำให้สามารถถ่ายทอดตลอดจนสอนให้ลูกน้องได้รับความรู้ที่ก้าวหน้าไปตาม และสามารถส่งเสริมให้ทุกคนสามารถนำเอาเทคโนโลยีมาใช้กับการทำงานตลอดจนชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

2. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ที่ดี

โลกทุกวันนี้เป็นโลกแห่งข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลระบบ Big Data ที่มีประโยชน์มหาศาลขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร รวมถึงการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกันขององค์กรต่างๆ ทั่วโลกที่ยิ่งทำให้โลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยข้อมูล มีคำกล่าวที่ว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลเยอะที่สุด บริหารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นล่ะคือผู้นำในโลกยุคดิจิตอล ในส่วนขององค์กรเองผู้นำควรมีทักษะในการเสาะหาข้อมูล รวมถึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการทำงานและธุรกิจให้มากที่สุด เพราะหากผู้นำที่ขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์ที่ดี ถึงแม้จะได้ข้อมูลที่ยอดเยี่ยมมามากมายขนาดไหน หากนำไปใช้ประโยชน์ไม่เป็นก็สูญเปล่าได้เช่นกัน

3. รับฟังความคิดเห็นผู้อื่นอย่างเปิดใจ

ในด้านของการทำงานนั้นความคิดเห็นถือเป็นข้อมูลหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน ผู้นำควรเป็นคนไม่มีอีโก้ รับฟังความคิดเห็นทุกคนอย่างเท่าเทียมกันและเปิดใจกับทุกความคิดเห็น การตั้งใจฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริงนอกจากจะเป็นการให้เกียรติผู้ฟังซึ่งเป็นลูกน้องแล้ว ยังทำให้ลูกน้องกล้าที่จะแชร์ข้อมูลในทุกรูปแบบโดยไม่กลัวที่จะโดนดูถูกในเรื่องความรู้หรือการเสนอแนวความคิดที่ไม่ดี ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราได้ข้อมูลที่ยอดเยี่ยมได้เช่นกัน

การรับฟังความคิดเห็นนั้นยังรวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ตลอดจนเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานด้วย ซึ่งนั่นจะช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกน้องที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญญาได้ดี ตลอดจนสามารถแนะนำสิ่งที่ดีให้กับลูกน้องของตนนำไปปฎิบัติ ถือเป็นกัลยาณมิตรที่ดี และส่งเสริมให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

4. เป็นที่ปรึกษาที่ดี

การเป็นที่ปรึกษาที่ดีจะทำให้ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำที่ดีขึ้นได้ ที่ปรึกษาที่ดีในที่นี้รวมทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ทุกวันนี้คนเราต่างมีปัญหาไปจนถึงความเครียดมากมาย และบางครั้งก็อาจส่งผลกับการทำงานได้ การเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับลูกน้องนั้นจะช่วยลดความเครียด ตลอดจนช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกน้องได้ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพด้วย คุณสมบัติของการเป็นที่ปรึกษาที่ดีอีกอย่างก็คือการรู้จักสังเกตและใส่ใจ สังเกตเห็นความผิดปกติของงานและพฤติกรรม ซึ่งบางครั้งลูกน้องอาจไม่รู้ตัวหรือไม่กล้าที่จะมาปรึกษา ผู้นำที่เห็นตรงจุดนี้ได้ไวก็อาจช่วยแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีเช่นกัน

5. เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงศักยภาพ และส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า

การควบคุมลูกน้องสมัยก่อนอาจจะต้องทำให้ลูกต้องอยู่ใต้อำนาจการบริหารงาน แต่สำหรับผู้นำยุคใหม่ควรส่งเสริมให้ลูกน้องได้มีโอกาสแสดงศักยภาพของตน เพราะคนในยุคนี้ต่างก็มีความสามารถมากมาย เพียงแต่หากมีการหยิบยื่นโอกาสที่ดีให้ เขาก็พร้อมจะใช้โอกาสในการแสดงศักยภาพที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ รวมถึงรู้จัการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า โดยเฉพาะการก้าวหน้าในอาชีพการงานซึ่งจะช่วยทำให้ลูกน้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและรู้สึกพัฒนาตนเอง ใช้ศักยภาพให้เกิดประสิทธิภาพได้สูงสุด

6. หาความรู้มาอัพเดท แชร์คอร์สที่ช่วยพัฒนาศักยภาพ

หนึ่งในเทคนิคพัฒนาศักยภาพการทำงานให้กับลูกน้องของตนก็คือการรู้จักอัพเดทความรู้ที่เหมาะสมให้กับลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ หลายองค์กรมีระบบการแชร์ข้อมูลตลอดจนประสบการณ์ในรูปแบบนี้ หลายองค์กรอาจไม่มีแต่ผู้นำแต่ละคนสามารถสร้างระบบขึ้นเองได้ อาจเป็นการมอบหมายให้ทุกคนหาความรู้มาแชร์กัน หรือหัวหน้างานแชร์ความรู้ให้กับลูกน้อง เพื่อพัฒนาศักยภาพซึ่งกันและกันได้ด้วย

บางองค์กรอาจให้หัวหน้ามีสิทธิ์ในการหาคอร์สต่างๆ มาให้ลูกน้องได้พัฒนาตนเอง หรือบางองค์กรอาจไม่มีตรงนี้หัวหน้างานก็สามารถแนะนำลูกน้องให้หาวิธีพัฒนาตนเองได้เช่นกัน คอร์สส่งเสริมศักยภาพนี้เป็นได้ทั้งที่มีประโยชน์ต่อการทำงานโดยตรง หรือเป็นคอร์สลักษณะอื่นๆ ที่พนักงานจะได้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับตน

7. พัฒนาการทำงานระบบทีมให้มีประสิทธิภาพ

การทำงานระบบทีมในยุคดิจิตอลอาจไม่ใช่แค่การสร้างสัมพันธ์ร่วมกัน การเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือแม้กระทั่งการทำงานร่วมกันให้ได้เท่านั้นแล้ว ยุคดิจิตอลนี้เราอาจนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ตลอดจนเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานระบบทีมให้ดียิ่งขึ้นได้ อย่างเช่น การนำ App ที่มีประโยชน์ต่อระบบการสั่งงานและพูดคุยกันมาใช้กับการทำงาน, การหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลาในการทำงานขึ้น, หรือการหาระบบคำนวนโดยคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อลดความผิดพลาดจากมนุษย์ เป็นต้น แล้วให้ทุกคนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำงานระบบทีมได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้นด้วย และสร้างผลงานให้ทีมได้อย่างประสบความสำเร็จ

8. สื่อสารได้หลากหลายภาษา

เมื่อโลกไร้พรมแดนมากขึ้นเท่าไร เรายิ่งติดต่อกันข้ามเชื้อชาติ ข้ามภาษา ข้ามวัฒนธรรมมากขึ้น ผู้นำที่รู้หลายภาษาในยุคนี้จึงย่อมได้เปรียบ การพัฒนาศักยภาพภาษาในยุคปัจจุบันจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้นำ ในการติดต่อสื่อสารการทำงาน ตลอดจนหาแหล่งความรู้ต่างๆ ทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้หาผู้นำมีความสามารถหลากหลายภาษา องค์กรก็ยังสามารถจ้างงานลูกน้องที่เป็นเชื้อชาติอื่น พูดภาษาอื่น แต่มีศักยภาพในการทำงาน เข้ามาทำงานกับองค์กรได้ด้วย ทำให้การทำงานเป็นระดับสากลขึ้นได้ และสร้างศักยภาพให้กับองค์กรในที่สุด

9. มีทักษะในการแก้ไขปัญหา

การทำงานในทุกวันนี้มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายและมีอยู่ทุกวัน การมีทักษะการแก้ไขปัญหาที่ดีจะทำให้องค์กรสามารถก้าวข้ามผ่านปัญหาไปได้ไว และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้นำในยุคดิจิตอลควรมีทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ไม่ใช่แต่เรื่องคนเท่านั้นแต่เรื่องเทคโนโลยีก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องเข้าใจเทคโนโลยี และเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาให้เป็น หรือหากเทคโนโลยีแก้ไขไม่ได้จริงๆ ก็ต้องรู้จักมีไหวพริบในการหาวิธีทางอื่นในการแก้ปัญหาแทน เพราะองค์กรที่จัดการปัญหาได้ไวนั้นย่อมสามารถพัฒนาไปได้ก้าวไกลและไวกว่า

บทสรุป

เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล ผู้นำก็ต้องก้าวหน้าตาม และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการทำงานในยุคนี้ให้ได้ ผู้นำที่ดีนั้นจะสามารถนำพาองค์กรไปได้อย่างถูกทิศทาง และสร้างให้องค์กรประสบความสำเร็จในที่สุด ในขณะเดียวกันก็สามารถนำพาลูกน้องไปได้อย่างถูกทิศทางเช่นกัน และบริหารจัดการการทำงานตลอดจนด้านอื่นๆ ให้ลูกน้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิตอลนี้ ตลอดจนส่งเสริมให้คนเหล่านั้นพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เหมาะกับโลกที่เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับทุกองค์กร และการพัฒนาให้ทุกคนมีศักยภาพก็ย่อมได้รับประโยชน์กันทุกฝ่าย ซึ่งหัวใจสำคัญที่เป็นตัวกลางที่จะทำให้ทุกอย่างเชื่อมกันได้อย่างลงตัวที่สุดก็คือผู้นำนั่นเอง

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : th.hrnote.asia

 1094
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

นื่องจากความเชื่อข้างต้น ก็เลยทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้เงิน เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ โดยเริ่มต้นจากเรื่องของเงินเดือนเป็นอันดับแรก ให้เงินเดือนเพราะต้องการให้พนักสร้างผลงานให้กับองค์กร จากนั้นก็ต่อด้วยเรื่องของการให้คอมมิชชั่นสำหรับพนักงานขาย ใครที่ขายได้มาก ก็ยิ่งได้เงินมากขึ้น ระยะหลังๆ มานี้ก็เริ่มมีสิ่งที่เรียกกว่า pay for performance เกิดขึ้น โดยเอาผลงานของพนักงานมาเป็นพื้นฐานและผูกด้วยระบบการจ่ายค่าจ้างที่เป็นไปตามผลงาน ใครทำงานได้ดี ก็ได้รับเงินรางวัลที่สูงกว่าคนที่ทำผลงานได้ไม่ดีพอ โดยบางแห่งก็กำหนดเป็นเรื่องของโบนัสตามผลงาน คำถามก็คือ เงินรางวัลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราสามารถใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในระยะยาวได้จริงๆ หรือ
1096 ผู้เข้าชม
พูดกันอยู่บ่อย ๆ ว่า HR ต้องเป็น Business Partner แล้วจะต้องออกแบบความคิด (Design Thinking) HR อย่างไรถึงจะเป็น Business Partner ล่ะครับ วันนี้เราลองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบ สบาย ๆ จาก Case Study ที่ผมเข้าไปให้คำปรึกษา ในหลายองค์กรเลยขอนำมาแชร์นะครับ
2146 ผู้เข้าชม
เอสซีจี ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากตระหนักอยู่เสมอว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เริ่มตั้งแต่การสรรหาผู้ที่เป็นคนเก่งและดีเข้ามาร่วมงาน โดยจัดโครงการ “Drawing Your Career with SCG Career Camp” เพื่อจูงใจผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทยให้มาทำงานกับบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นการสรรหาบุคลากรในเชิงรุก นอกจากนี้ยังมีโครงการ “Top Ten University Recruitment” เพื่อสรรหาผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยท็อป 10 ในสหรัฐอเมริกาหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำในยุโรปอีกด้วย การพัฒนาบุคลากรของเอสซีจีจะดำเนินการโดยการให้ทุนการศึกษาและการอบรม โดยการอบรมนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Business Knowledge และ Leadership Skills ซึ่งทางเอสซีจีได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 0.19 ของรายได้ของบริษัทในปี 2550 สำหรับผู้ที่ผ่านหลักสูตรทั้งหมดแล้วและได้ขึ้นเป็นผู้บริหาร ทางเอสซีจีได้จัดหลักสูตรอบรมเพิ่มเติมได้แก่ Advance Management Program (AMP) และ Executive Development Program (EDP) โดยหลักสูตรแรกเอสซีจีร่วมมือกับ ฮาวาร์ด บิสสิเนสท สคูล และวาร์ตัน บิสสิเนส สคูล ส่วนหลักสูตร EDP ร่วมมือกับ โคลัมเบีย บิสสิเนส สคูล ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับฝึกอบรมผู้บริหารนี้จะแยกอิสระออกจากงบพัฒนาบุคคลหลัก
26420 ผู้เข้าชม
รวบรวมคำศัพท์สายอาชีพ และตำแหน่งงานในแต่ละสายอาชีพทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ได้แก่ งานบัญชี งานธุรการ งานเลขานุการ งานเกษตรกรรม งานประมง งานเหมืองแร่ งานสายการบิน งานการเงิน งานธนาคาร งานก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานที่ปรึกษา งานนักวิเคราะห์ งานบริการลูกค้า งานวิศวกร เป็นต้น
2584 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์