เข้าใจหลักการคำนวณภาษีเบื้องต้น

เข้าใจหลักการคำนวณภาษีเบื้องต้น

ผมเชื่อว่า มีเพื่อน ๆ อีกหลายคนที่ยังคงรู้สึกงุนงงอยู่ทุกครั้งเวลายื่นแบบภาษี เพราะมีตัวเลขมากมายไปหมด ถึงแม้โปรแกรมคำนวณภาษีจะช่วยให้การกรอกข้อมูลง่ายขึ้น แต่ก็อาจจะไม่เข้าใจอยู่ดีว่า ตัวเลขแต่ละตัวนั้นถูกนำไปคำนวณเป็นภาษีได้อย่างไร วันนี้ ผมจะมาเล่าหลักการคำนวณภาษีให้ฟังกันครับ รับรองว่า ไม่ยากอย่างที่คิด

หลักการฉบับย่อของการคำนวณภาษี คือ การนำรายได้รวมทั้งปี หักออกด้วยค่าใช้จ่าย หักด้วยค่าลดหย่อน แล้วนำยอดที่เหลือไปคำนวณภาษีตามอัตราที่กำหนด ซึ่งจะเห็นได้ว่า การคำนวณต้องมีสี่องค์ประกอบหลัก ดังนี้ (ผมขอใช้ภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดาในการอธิบายนะครับ

1. รายได้รวมทั้งปี

นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม หรือในภาษากฎหมาย เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน” ตัวอย่างเช่น เงินเดือน รวมถึงรายได้จากการทำงานพิเศษ โดยก่อนที่จะนำเงินได้พึงประเมินไปคำนวณค่าใช้จ่าย เราจะหักออกด้วยเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น เช่น เงินที่ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หรือเงินสะสมกองทุนบำนาญข้าราชการ
 

2. ค่าใช้จ่าย

ตามกฎหมายกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายตามประเภทของรายได้ครับ เช่น กรณีรายได้ทั่วไปอย่างพนักงานออฟฟิศ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 40% ของเงินได้ที่คำนวณจากข้อ 1 ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
 

3. ค่าลดหย่อน

หลังนำเงินได้พึงประเมิน หักออกด้วยค่าใช้จ่ายแล้ว เราก็นำตัวเลขที่เหลือมาหักออกด้วยค่าลดหย่อน ซึ่งได้แก่ ค่าลดหย่อนของตัวเราเอง, คู่สมรส, บุตร, บิดามารดา รวมไปจนถึงเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา, เบี้ยประกันชีวิต, เงินที่ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนที่เกิน 10,000 บาท, เงินลงทุนใน LTF, RMF, ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย, เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นต้น

จากนั้นจึงนำมาหักออกด้วยเงินบริจาค เหตุผลที่ต้องนำมาคำนวณภายหลัง เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้วงเงินบริจาคไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนนั่นเองครับ
 

4. อัตราภาษี

ถึงตอนนี้เราก็จะได้เงินได้สุทธิ ที่จะนำไปใช้คำนวณภาษีแล้วครับ โดยอัตราภาษีจะเป็นแบบขั้นบันได เช่น

รายได้ อัตราภาษีที่ต้องเสีย
รายได้ไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
รายได้ 150,001-300,000 บาท ร้อยละ 5
รายได้ 300,001-500,000 บาท ร้อยละ 10
รายได้ 500,001-750,000 บาท ร้อยละ 15

โดยอัตราภาษี ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนข้างต้น จะมีการปรับปรุงอยู่เสมอ เราสามารถตรวจสอบข้อมูลล่าสุดได้ที่ กรมสรรพากร


จากการคำนวณตามอัตราภาษีข้างต้น ถึงตอนนี้ เราจะได้ยอดเงินภาษีที่ต้องชำระแล้วครับ จากนั้น นำภาษีที่คำนวณได้นี้ เปรียบเทียบกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่เราได้ชำระไปแล้วในระหว่างปี หากยอดรวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย สูงกว่าภาษีที่คำนวณได้ เราก็จะได้รับเงินภาษีคืน และในทางตรงข้าม หากยอดรวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต่ำกว่าภาษีที่คำนวณได้ เราก็มีหน้าที่ยื่นชำระภาษีเพิ่มเติม แต่ถ้าเลขทั้งสองตัวเท่ากัน ก็หมายความว่า เราได้ชำระภาษีครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องชำระเพิ่ม และไม่ได้เงินคืน แต่ยังคงต้องยื่นแบบภาษีไว้เพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น สำหรับตัวเลขภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะอยู่ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่นายจ้างจะส่งให้เมื่อมีการชำระเงิน หรือบางบริษัท จะส่งให้พนักงานประจำตอนปลายปี เพื่อใช้เป็นเอกสารในการยื่นแบบภาษีครับ

ในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็จะมีหลักการคำนวณที่คล้ายกันกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลักการคำนวณแบบย่อ คือ รายได้ลบด้วยค่าใช้จ่าย จากนั้นจึงนำกำไรที่ได้ไปคำนวณภาษีตามอัตราที่กำหนด โดยรายละเอียดของรายได้ ค่าใช้จ่าย และอัตราภาษีนั้นค่อนข้างจะมีรายละเอียดมากกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งยังมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปในธุรกิจแต่ละประเภทอีกด้วยครับ

จากหลักการคำนวณจะเห็นได้ว่า วิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราได้รับเครดิตภาษีเงินคืนเพิ่มได้ คือ เพิ่มค่าลดหย่อน เช่น ลงทุนในกองทุน LTF, RMF หรือซื้อประกันชีวิตนั่นเอง ผมหวังว่า ด้วยหลักการคำนวณภาษีเบื้องต้นนี้ จะทำให้เพื่อน ๆ มีความเข้าใจ และกรอกข้อมูลภาษีได้อย่างสบายใจมากขึ้นนะครับ

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.krungsri.com

 1479
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

เมื่อทำงานมาสักพัก หลายคนก็เริ่มคิดอยากมีทรัพย์สินใหญ่ๆ เป็นของตัวเองกันแล้ว โดยเฉพาะการซื้อบ้าน ที่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าใดเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่สำคัญ ทั้งราคาบ้าน ค่างวดบ้าน ไปจนถึงการใช้ดอกเบี้ยบ้านเพื่อลดหย่อนภาษี
1032 ผู้เข้าชม
นื่องจากความเชื่อข้างต้น ก็เลยทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้เงิน เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ โดยเริ่มต้นจากเรื่องของเงินเดือนเป็นอันดับแรก ให้เงินเดือนเพราะต้องการให้พนักสร้างผลงานให้กับองค์กร จากนั้นก็ต่อด้วยเรื่องของการให้คอมมิชชั่นสำหรับพนักงานขาย ใครที่ขายได้มาก ก็ยิ่งได้เงินมากขึ้น ระยะหลังๆ มานี้ก็เริ่มมีสิ่งที่เรียกกว่า pay for performance เกิดขึ้น โดยเอาผลงานของพนักงานมาเป็นพื้นฐานและผูกด้วยระบบการจ่ายค่าจ้างที่เป็นไปตามผลงาน ใครทำงานได้ดี ก็ได้รับเงินรางวัลที่สูงกว่าคนที่ทำผลงานได้ไม่ดีพอ โดยบางแห่งก็กำหนดเป็นเรื่องของโบนัสตามผลงาน คำถามก็คือ เงินรางวัลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราสามารถใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในระยะยาวได้จริงๆ หรือ
1130 ผู้เข้าชม
ในการจัดการทรัพยากรบุคคล (HR) เทคโนโลยี Machine Learning อาจเป็นสาขาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ AI ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถระบุผู้สมัครที่มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในตำแหน่งงานนั้นๆ หรือตรวจสอบว่าพนักงานคนใดไม่เหมาะกับบางตำแหน่งงานในช่วงสองสามปีข้างหน้า เราจะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลได้เพียงการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ
2795 ผู้เข้าชม
สิทธิและหน้าที่ของผู้เสียภาษี สำหรับผู้เสียภาษีทุกท่านการรู้สิทธิ์และหน้าที่ของตัวเองในเรื่องของภาษีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เราทราบถึงสิทธิ์ต่างๆ ด้านภาษีและหน้าที่ของเราที่ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายด้านภาษี เพื่อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเอง
2630 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์