โจทย์ HR ในการช่วยสร้าง “นายจ้าง” ในดวงใจของพนักงาน

โจทย์ HR ในการช่วยสร้าง “นายจ้าง” ในดวงใจของพนักงาน



HR เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีความสำคัญมากกับนายจ้าง พอ ๆ กับหน่วยงานผลิต หน่วยงาน ขาย หน่วยงาน HR เป็นเสมือนมือขวาที่จะช่วยผลักดันให้ “นายจ้าง” อยู่ในดวงใจของพนักงาน การเป็น HR มืออาชีพต้องสามารถบริหารความคาดหวังของนายจ้างได้ ความปรารถนาของนายจ้างก็คือ การมี พนักงานที่ตั้งใจ เต็มใจ พร้อมที่จะทุ่มเทการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่องค์กรกำหนดขึ้น โดยมี ความเชื่อว่าเมื่อพนักงานมีความสามารถหรือ Competency ในการทำงานที่ดีแล้ว ย่อมส่งผลให้ผลลัพธ์ หรือ KPIs ที่องค์กรต้องการบรรลุผลสำเร็จตามมาด้วย ดังนั้น HR จึงต้องปรับตนเองให้มีความพร้อม ที่จะช่วยให้นายจ้างเป็นบุคคลที่พนักงานทั้งองค์กรรัก เคารพ และปรารถนาที่จะทำงานด้วย

บทบาทของ HR ที่มีส่วนช่วยให้เกิดนายจ้างในดวงใจของ คนทำงาน หรือ Employer of Choice ก็คือ

1. การพูดเชิงบวก

HR เป็นกระบอกเสียงสำคัญของนายจ้าง HR จะต้องพูดด้านบวกของนายจ้างไม่ควรนำเรื่องราวของนายจ้างมาเล่าให้คนอื่นฟังแบบเสีย ๆ หาย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่าโดยตรงแบบ Face to Face หรือผ่าน Social Mediaต่าง ๆ เช่น Line, Facebook, E-Mail เป็นต้นพื้นฐานสำคัญของ HR ก็คือต้องมีทัศนคติเชิงบวกกับนายจ้าง จึงจะส่งผลให้พูดถึงนายจ้างในด้านดี และที่สำคัญ HR ต้องคอยตักเตือนเมื่อเห็นพนักงานในองค์กรกล่าวถึงนายจ้างในเชิงลบโดยไม่เข้าไปร่วมสนทนาหรือตั้งวงต่อว่านายจ้างในทางกลับกัน HR จะต้องพูดให้พนักงานเหล่านั้นมีความคิดที่ดีกับนายจ้างแทนการคิดลบ การที่HR คิดและพูดในทางลบเกี่ยวกับนายจ้างของตนเอง ย่อมส่งผลต่อความศรัทธาในตัว HRเช่นเดียวกัน

2. การเป็นกระบอกเสียงของพนักงาน

HR จะต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพนักงาน บอกเล่าเรื่องราวหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับ พนักงานให้นายจ้างรับรู้ เพราะนายจ้าง ไม่สามารถเข้าถึงพนักงานได้ทุกคน ดังนั้น HR จึงต้องเข้าพบพนักงานให้มากขึ้น รับฟังปัญหา ที่เกิดขึ้นกับพวกเขา โดยไม่เอาปัญหาที่เป็น Minor มาตอบ Major นั่นก็คือ การไม่สรุปปัญหา ของคน ๆ เดียว เพื่อมาตอบโจทย์พนักงาน ทั้งหมด HR ต้องสามารถทำวิจัย ประมวลผล และสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ของปัญหาที่พบ ได้ โดยมุ่งเน้นข้อเรียกร้องหรือปัญหาหลักที่ เกิดขึ้นจากคนหมู่มาก อย่างน้อย ๆ HR จะต้อง ให้ข้อมูลกับนายจ้างเพื่อให้นายจ้างให้ความ ใส่ใจและสนใจในการบริหารบุคลากรในองค์กร มากขึ้น ไม่มุ่งเน้นเพียงแค่การขายหรือการผลิต เท่านั้น

3. การสร้างแบรนด์องค์กรผ่าน “บุคลากร”

การสร้าง Employer Branding หรือ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรนั้น ไม่ใช่หน้าที่ ของหน่วยงานการตลาดเท่านั้น HR เป็นอีก หน่วยงานที่สามารถทำการตลาดหรือช่วย สร้างแบรนด์ให้กับองค์กรได้โดยผ่านพนักงาน ในองค์กร ซึ่งถือเป็นกระบอกเสียงขององค์กรที่ ทำให้บุคคลภายนอกองค์กรกล่าวถึงและอยาก เข้ามาร่วมงานด้วย เทคนิคการสร้างให้พนักงาน เป็นแบรนด์ขององค์กรก็คือ การทำให้พนักงาน ในองค์กรมีความสุขในสถานที่ทำงาน หรือ เกิด Happy Workplace เพราะเมื่อพนักงานมี ความสุขย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออก กับผู้อื่นทั้งภายในและภายนอกองค์กรในทาง ที่ดีเช่นเดียวกัน และที่สำคัญเมื่อพนักงานมี ความสุขแล้วย่อมทำให้พวกเขาเกิดความรัก ที่จะทำงานให้กับนายจ้างและองค์กรของ พวกเขาต่อไป

4. การปรับกลยุทธ์การทำงานเชิงรุก

การทำงานของ HR จะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ เชิงรุกด้วยความกล้าและความพร้อมที่จะ ปรับเปลี่ยนระบบงาน HR โดยเป็นมือขวาให้กับนายจ้างกำหนดทิศทางการบริหารและพัฒนา บุคลากรในระยะยาว และนำเสนอนายจ้างถึงกลยุทธ์ การบริหารและพัฒนาบุคลากรในระยะ 3-5 ปี เพื่อ ให้นายจ้างกำหนดให้ระบบงาน HR เป็นงานเชิง นโยบายที่นายจ้างพร้อมสนับสนุน ส่งเสริม และ ผลักดันให้เกิดขึ้นจริงในองค์กร เช่น การมีระบบ Career Path หรือเส้นทางความก้าวหน้าใน สายอาชีพให้กับพนักงาน หรือการวางระบบ Training Road Map (TRM) ให้กับพนักงาน หรือ การวางระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) ให้กับพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานใหม่ เป็นต้น พบว่าหนึ่งในความ ต้องการของพนักงานก็คือ การได้เห็นทิศทางที่ชัดเจน ในการดูแลและพัฒนาพวกเขา ซึ่งเท่ากับว่านายจ้าง ได้ใส่ใจและดูแลพวกเขาด้วยเช่นกัน

5. การหาเวทีให้นายจ้างพบปะกับพนักงาน

เป็น หน้าที่ของ HR ที่จะต้องหาเวทีให้นายจ้างมีโอกาส พบปะกับพนักงาน การพบปะในที่นี้ไม่ได้หมายถึง การพบปะแบบเจอตัวต่อตัวเท่านั้น มีแนวทาง มากมายในการเข้าถึงพนักงาน โดยเฉพาะการใช้ Social Media มาช่วยในการหาช่องทางหรือโอกาส ให้นายจ้างได้สื่อสารกับพนักงาน เช่น การทำ Clip เกี่ยวกับ Speech ที่นายจ้างต้องการพูดกับพนักงาน หรือการใช้ช่องทาง Conference หรือ Live Chat ที่นายจ้างสามารถพูดคุยกับพนักงานได้ เป็นต้น นอกจากนี้ HR สามารถจัดเวทีโดยเชิญให้นายจ้าง พูดคุยกับพนักงาน เพื่อทำให้พวกเขารู้สึกว่าตนเอง มีโอกาสเข้าถึงนายจ้างได้ ไม่มีช่องว่างระหว่าง นายจ้างกับพนักงาน พนักงานจึงไม่กลัวและกล้าที่จะ พูดคุยกับนายจ้างของตนเอง โดยเฉพาะเด็ก Gen Y ที่นายจ้างต้องเข้าใจและต้องไม่ละเลยที่จะเข้าถึง เด็กกลุ่มนี้ด้วย

การที่องค์กรจะได้ชื่อว่าเป็น Employer of Choice หรือ นายจ้างในดวงใจของพนักงาน ที่พนักงานต้องการทำงานให้ด้วย ความรักและความผูกพันนั้น หน่วยงาน HR จึงมีบทบาทสำคัญ ที่จะช่วยสร้างให้เกิดเรื่องนี้ขึ้นได้ โดย HR จะต้องพูดทางบวก เป็นกระบอกเสียงของพนักงานในการแจ้งปัญหาหรือข้อเรียกร้อง ต่าง ๆ นอกจากนี้ HR ยังมีส่วนช่วยสร้างแบรนด์ขององค์กร การปรับกลยุทธ์ การทำงานโดยมุ่งเน้นแผนระยะยาว 3-5 ปี และการหาเวทีให้นายจ้างได้มีโอกาสพบปะกับ พนักงานให้ทั่วถึง สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นภารกิจ สำคัญอีกเรื่องที่ HR จะต้องช่วยสร้างและส่งเสริม ให้เกิดบรรยากาศการทำงานด้วยความเข้าใจ ความรัก และความผูกพันที่ลูกจ้างมีต่อนายจ้าง เป็นนายจ้างที่อยู่ในดวงใจของพนักงานตลอดไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้


ที่มา : www.hrcenter.co.th

 2345
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management หรือ HRM) คืออะไร มีลักษณะ และขอบเขตของการทำงานอย่างไรบ้าง
50313 ผู้เข้าชม
Talent Management หรือ ระบบการบริหารจัดการคนเก่ง เป็นเครื่องมือทางการบริหารทรัพยากรบุคคลอยางหนึ่งที่ในปัจจุบันองค์กรจํานวนมากกำลังให้ความสนใจกับการบริหารจัดการคนเก่งที่มีอยูในองค์กร หากจะกำหนดนิยามของ Talent Management ก็อาจกล่าวได้ว่า Talent Management หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และวางแผนที่มีความสอดคล้องกันในการหาแหล่งที่มา (Sourcing) กลั่นกรอง (Screening) การคัดเลือก (Selection) การนําไปใช้ (Deployment) การพัฒนา (Development) และการทําให้คงอยู่(Retention) ของทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพสูงและ สามารถทํางานได้อยางมีประสิทธิภาพสูงสุด
12820 ผู้เข้าชม
หนึ่งในเทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยให้คนทำงานเห็นเป้าหมายและทำงานได้อย่างชัดเจน ที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้กับทีมได้ก็คือ Morning Talk นั่นเองครับ ก่อนเริ่มต้นการทำงานในแต่ละวัน ควรมีการสื่อสารภายในองค์กรด้วยวิธี Meeting Morning Talk เพื่อให้ทีมงานทุกคนได้รับทราบเป้าหมายในการทำงานในทิศทางเดียวกัน และหากมีปัญหาเกิดขึ้นในการทำงานแต่ละวันก็จะสามารถร่วมกันค้นหาสาเหตุ และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
1821 ผู้เข้าชม
เงินโบนัส หมายถึง เงินพิเศษ ที่องค์กรจ่ายให้เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานนอกเหนือจากเงินเดือนค่าจ้าง ซึ่งอาจจะเป็นรายปี รายครึ่งปี แล้วแต่องค์กรถ้าพูดให้เข้าใจโดยทั่วๆไปก็คือ โบนัสเป็นเงินค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้พนักงาน เนื่องจากผลประกอบการดี เป็นไปตามเป้า หรือมีกำไรนั่นเอง 
298974 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์