Benefit Evaluation เคล็ดลับสำรวจความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กร

Benefit Evaluation เคล็ดลับสำรวจความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กร

การทำประเมินผลสวัสดิการ (Benefit Evaluation) ทำเพื่ออะไรได้บ้าง

การทำประเมินผลสวัสดิการนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี และเพื่อหลากหลายวัตถุประสงค์ เราสามารถทำการประเมินผลโดยวิธีทำแบบสอบถาม ทำการสำรวจออนไลน์ ไปจนถึงการสัมภาษณ์ ซึ่งแต่ละกระบวนการมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป เราอาจมาลองดูกันว่าการประเมินผลสวัสดิการนั้นสามารถที่จะทำเพื่อวัตถุประสงค์ใดได้บ้าง

  • การประเมินผลสวัสดิการเพื่อปรับปรุงสวัสดิการที่ดีขึ้นสำหรับพนักงาน : การประเมินผลสวัสดิการนั้นวัตถุประสงค์อย่างแรกที่แท้จริงก็เพื่อสอบถามความพึงพอใจในสวัสดิการของพนักงานแต่ละคน ซึ่งการประเมินผลนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรใส่ใจดูแลสาระทุกข์สุขดิบของพนักงานอย่างแท้จริง แล้วฝ่ายบุคคลเองก็ได้เช็คด้วยว่าสวัสดิการที่จัดให้กับพนักงานนั้นแท้ที่จริงแล้วมันโอเคกับพวกเขาหรือไม่ หรือมีปัญหาอะไรที่ควรแก้ไขหรือเปล่า เพื่อทางฝ่ายบุคคลจะได้นำมาแก้ไขปรับปรุงไม่ให้เกิดปัญหา และสร้างความพึงพอใจให้ดีที่สุด
  • การประเมินผลสวัสดิการเพื่อให้พนักงานแนะนำสวัสดิการใหม่ๆ ที่พวกเขาต้องการจริงๆ : บางครั้งการคิดเรื่องสวัสดิการจากฝ่ายบุคคลนั้นอาจจะวนอยู่กับแต่เรื่องเดิมๆ สวัสดิการเดิมๆ และอาจเป็นสวัสดิการที่พนักงานรู้สึกเบื่อและไม่ต้องการก็ได้ ดังนั้นการประเมินผลเราสามารถที่จะสอบถามพนักงานถึงสวัสดิการที่เขาอยากได้ก็ได้ ซึ่งเราอาจได้รับการแชร์ข้อมูลต่างๆ ที่อาจออกจากกรอบเดิมๆ ได้รับข้อมูลใหม่ๆ เจอกับข้อเสนอใหม่ๆ สวัสดิการใหม่ๆ ที่ฝ่ายบุคคลอาจนำมาเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจสวัสดิการได้ดีขึ้น รวมถึงจัดสวัสดิการได้ตรงกับความต้องการได้มากที่สุดอีกด้วย
  • การประเมินผลสวัสดิการเพื่อขอคำแนะนำจากพนักงานในรายละเอียดสวัสดิการที่มีอยู่ : การประเมินผลสามารถช่วยประโยชน์ได้อีกอย่างก็คือการปรับปรุงสวัสดิการที่มีอยู่แล้วและดีอยู่แล้ว แต่เพิ่มรายละเอียดที่ดีขึ้น เหมาะสมขึ้น และสร้างความพึงพอใจได้ยิ่งขึ้น เพื่อทำให้สวัสดิการนั้นๆ มีประสิทธิภาพที่แท้จริง อย่างเช่น สวัสิดิการด้านอาหาร อาจจะถามถึงอาหารที่อยากให้เพิ่มเมนูขึ้นมา, สวัสดิการออกกำลังกาย ในตอนนี้ที่เทรนด์การวิ่งกำลังนิยม ก็อาจให้เพิ่มโค้ชมาสอนวิ่ง เป็นต้น
  • การประเมินผลสวัสดิการเพื่อสร้างสรรค์สวัสดิการในองค์กรขึ้นมาเอง : หลายองค์กรมีการให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างสวรรค์สวัสดิการใหม่ๆ แปลกๆ เฉพาะตัวขึ้นมาเอง หรือให้พนักงานเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในสวัสดิการนั้นๆ ไปจนถึงเป็นผู้นำกิจกรรมในสวัสดิการบางอย่าง อย่างเช่น ฝ่ายบุคคลอาจสอบถามเรื่องความสามารถด้านกีฬาหรือการออกกำลังกาย เพื่ออาจจัดจ้างพิเศษมาเป็นผู้สอนให้กับพนักงานคนอื่นๆ หลังจากเวลาเลิกงานแล้ว องค์กรก็ได้หารายได้พิเศษให้กับพนักงานด้วย พนักงานก็ได้แสดงศักยภาพไปในตัว หรือองค์กรเปิดโอกาสให้พนักงานสร้างสรรค์สวัสดิการขึ้นมาใหม่ อย่างเช่น การสอนคอร์สงานอดิเรกต่างๆ ตามความสามารถและความสนใจของพนักงานแต่ละคน เป็นต้น
  • การประเมินผลสวัสดิการเพื่อสร้างสรรค์สวัสดิการเพื่อบริหารงบประมาณ : สวัสดิการถือเป็นรายจ่ายหนึ่งสำหรับองค์กรเช่นกัน แล้วฝ่ายบุคคลเองก็ต้องบริหารงบประมาณให้อยู่ในงบที่ได้มาด้วย ฝ่ายบุคคลอาจสอบถามพนักงานเรื่องสวัสดิการที่เหมาะสมและสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานแล้วนำมาจัดลำดับตามความชอบ ผสมผสานกับการจัดลำดับการใช้งบประมาณ เพื่อที่จะนำมาเลือกให้เหมาะสมที่สุด และยังคงอยู่ในงบประมาณด้วย ก็จะได้รู้ว่าสวัสดิการไหนควรตัดออก หรือควรเก็บไว้ จะบริหารได้มีประสิทธิภาพกว่าการนั่งคิดประเมินเอง ซึ่งบางครั้งสวัสดิการที่ฝ่ายบุคคลคัดเลือกเองเพื่อให้ลงงบประมาณอาจไม่ใช่สวัสดิการที่สร้างความพึงพอใจก็ได้ อย่างนั้นก็เรียกได้ว่าบริหารจัดสรรสวัสดิการได้ไม่ดีเช่นกัน
  • การประเมินผลสวัสดิการเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับพนักงาน : การสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับพนักงานนั้นเป็นหนึ่งภาระกิจสำคัญของฝ่ายบุคคลเช่นกัน สวัสดิการที่ช่วยสร้างสุขภาวะที่ดีนั้นมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ สวัสดิการอาหาร, สวัสดิการออกกำลังกาย, สวัสดิการสันทนาการ, สวัสดิการปฎิบัติธรรม เป็นต้น ฝ่ายบุคคลสามารถที่จะสอบถามถึงผลที่ดีต่อการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับพนักงาน ควรเพิ่มหรือลดอะไร หรือทำอย่างไรจะช่วยเพิ่มสุขภาวะได้
  • การประเมินผลสวัสดิการเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการทำงาน : หลายสวัสดิการก็มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการทำงานโดยตรง ซึ่งตรงจุดนี้ฝ่ายบุคคลสามารถที่จะจัดสวัสดิการที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพการทำงานหรือส่งเสริมศักยภาพพนักงานให้เหมาะสมได้ อย่างเช่น พนักงานที่ต้องใช้กำลังบ่อยๆ ก็เสริมด้วยสวัสดิการการออกกำลังกาย, พนักงานที่ต้องใช้ภาษาในการสื่อสารเพื่อการทำงาน ก็อาจส่งเสริมสวัสดิการด้านภาษาให้มีประสิทธิภาพ, พนักงานที่ต้องพบลูกค้าบ่อยๆ อาจมีสวัสดิการอุปกรณ์โทคโนโลยีทันสมัยให้เพื่อภาพลักษณ์บริษัทและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เป็นต้น 

วิธีการทำประเมินผลสวัสดิการ (Benefit Evaluation)

เราสามารถทำการประเมินสวัสดิการได้หลายวิธี สามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ หรือทำรวมกันทุกวิธีก็ได้ รวมถึงความถี่ในการทำก็เช่นกัน สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม และตามขนาดขององค์กร ซึ่งองค์กรขนาดเล็กย่อมสะดวกและรวดเร็วกว่าในการทำในองค์กรขนาดใหญ่ ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือความตั้งใจของฝ่ายบุคคลเองที่จะทำตามหน้าที่เท่านั้น หรือจะทำด้วยความหวังดีต่อองค์กรและพนักงานทุกคน

1.แบบสอบถาม

การประเมินความพึงพอใจสามารถทำแบบสอบถามขึ้นมาได้ ซึ่งนี่เป็นวิธีการมาตรฐานอยู่แล้ว แต่แบบสอบถามควรใส่ใจในคำถามที่ถามและควรได้ประโยชน์จากการทำที่แท้จริง การทำแบบสอบถามนั้นควรมีทั้งปลายปิด และปลายเปิด เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้แสดงความคิดเห็นที่หลากหลายได้

2.แบบสำรวจออนไลน์

การสำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานหรือสวัสดิการนั้นหากองค์กรไหนต้องการทำอย่างสม่ำเสมอ มีความถี่ อาจเลือกการทำแบบสอบถามแบบออนไลน์ก้ได้ ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วและประหยัดงบประมาณมากขึ้นได้ด้วย ลักษณะการตั้งคำถามอาจเป็นแบบปลายปิดและปลายเปิดในลักษณะเดียวกันกับการทำแบบสอบถามปกติ หรืออาจนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ เพิ่มเติมด้วยก็ได้เช่นกัน

3.การสัมภาษณ์

การเชิญบุคลากรมาสัมภาษณ์นั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะสามารถสอบถามข้อมูลทุกอย่างได้โดยตรง รู้การตอบรับได้โดยตรง รู้ปฎิกิริยาได้ชัดเจนกว่าเพราะเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน สามารถซักถามรายละเอียดได้เพิ่มเติมหากต้องการรู้ข้อมูลในเชิงลึกเพิ่ม หรือแม้แต่บุคลากรสามารถเสนอความคิดเห็นได้เต็มที่ แต่อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ก็ถือว่าเป็นการเสียเวลาที่สุดด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นองค์กรใหญ่ยิ่งทำได้ยากขึ้น แต่ก็เป็นวิธีการที่ดีที่ควรทำด้วยเช่นกัน โดยอาจเลือกด้วยการสุ่ม หรือเลือกจากคนที่คิดว่าเหมาะสมที่จะให้ข้อมูลก็ได้ หรือเกิดจากการทำแบบสอบถามหรือสำรวจออนไลน์มาแล้ว ก็เรียกคนที่น่าสนใจมาสอบถามเพิ่มเติมก็ได้ การสัมภาษณ์นั้นยังให้ประโยชน์ด้านอื่นเพิ่มเติมอีกเช่นกัน สามารถที่จะสอบถามเรื่องการทำงาน และสำรวจความพึงพอใจอื่นๆ ต่อยอดไปได้เช่นกัน หรือใช้จิตวิทยาสังเกตประเด็นอื่นๆ ของพนักงานได้อีกด้วย

ประโยชน์ของการทำประเมินผลสวัสดิการ (Benefit Evaluation)

พนักงานในองค์กรหลายๆ องค์กรมักจะบ่นเสมอถึงเรื่องการที่ฝ่ายบุคคลไม่เอาใจใส่ต่อเรื่องสวัสดิการเลย หรือไม่ก็ทำไมไม่จัดสวัสดิการดีๆ ให้เหมือนกับบริษัทอื่นๆ เขาบ้าง หรือสักแต่ว่าจะจัดสวัสดิการให้โดยที่ไม่เคยติดตามประเมินผลว่ามันดีหรือเปล่า พนักงานได้รับประโยชน์หรือเปล่า หรือพนักงานได้ใช้สวัสดิการนั้นหรือเปล่า ซึ่งการทำประเมินผลสวัสดิการนั้นมีประโยชน์มากมายดังนี้

  • สร้างให้พนักงานมีความพึงพอใจในสวัสดิการ : การสำรวจสวัสดิการสามารถสร้างความพึงพอใจได้ตั้งแต่ขั้นตอนสำรวจเลยทีเดียว และหากฝ่ายบุคคลนำผลสำรวจไปปฎิบัติ ปรับปรุง ตลอดจนคัดเลือกสวัสดิการที่เหมาะสม ก็จะสามารถทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจได้ รวมถึงพึงพอใจในงานและองค์กรตามมาด้วย
  • ปรับปรุงแก้ไขสวัสดิการให้เหมาะสม : การทำการประเมินผลนั้นจะทำให้รู้ว่าสวัสดิการที่จัดสรรให้พนักงาน ณ ปัจจุบันนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร ควรแก้ไขอะไร ซึ่งสามารถปรับแก้ให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นได้ สร้างความพึงพอใจขึ้นได้เช่นกัน
  • เกิดสวัสดิการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ : การทำการประเมินผลจะทำให้พนักงานสามารถนำเสนอแนวความคิดใหม่ๆ ได้ สามารถสร้างความพึงพอใจใหม่ๆ ได้ และคัดสรรสวัสดิการได้ตรงกับความต้องการของพนักงานมากขึ้น รวมถึงเกิดสวัสดิการใหม่ๆ ที่เป็นสิ่งสร้างสรรค์ สร้างมูลค่าให้กับองค์กร และสร้างความตื่นเต้นให้กับพนักงานได้
  • ลดอัตราการลาออกได้ : สวัสดิการเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งของอัตราการลาออกเลยทีเดียว หากสวัสดิการที่ดีสามารถทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจต่อองค์กรได้ และมีส่วนทำให้พนักงานอยากทำงานกับองค์กรในระยะยาวขึ้น ลดอัตราการลาออกได้เช่นกัน
  • ทำให้ระบบคัดสรรบุคลากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น : การประเมินผลสวัสดิการจะทำให้องค์กรสามารถปรับปรุงเรื่องสวัสดิการได้ดี ซึ่งสามารถสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ดีได้ด้วย และจูงใจให้คนมีความสามารถตลอดจนมีประสิทธิภาพอยากมาร่วมงานกับบริษัท ซึ่งจะทำให้ระบบคัดสรรบุคลากรขององค์กรมีประสิทธิภาพขึ้นได้ มีตัวเลือกของผู้สมัครที่ดีขึ้น มีคุณภาพขึ้นได้
  • เพิ่มมูลค่าจากฐานเงินเดือน : หลายองค์กรไม่สามารถขึ้นฐานเงินเดือนให้พนักงานตามที่ต้องการได้ทุกคน แต่สามารถดูแลจากการจัดสรรสวัสดิการที่ดีได้ เป็นการเพิ่มมูลค่าจากฐานเงินเดือนของพนักงานแต่ละคนได้ และเป็นประโยชน์นอกเหนือจากอัตราเงินเดือนที่สามารถจูงใจการทำงานได้เช่นกัน
  • สร้างความจงรักภักดีต่อองค์กร : หากสวัสดิการที่ดีและมีประโยชน์ต่อพนักงานจริงๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้พนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร ทำงานให้กับองค์กรในระยะยาว
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีรวมถึงแบรนด์องค์กรที่ดี : ในยุคปัจจุบันสวัสดิการถือเป็นเรื่องที่ใช้สร้างภาพลักษณ์ตลอดจนแบรนด์ขององค์กรได้ สวัสดิการที่ดียังสามารถสร้างมูลค่าให้กับองค์กรได้ และใช้ดึงดูดคนที่มีความสามารถให้อยากมาร่วมงานกับองค์กรได้เช่นกัน
  • บริหารงบประมาณได้คุ้มค่า : การทำการประเมินผลสวัสดิการจะทำให้เรารู้ว่าสวัสดิการไหนควรจัดสรรให้พนักงาน สวัสดิการไหนควรปรับปรุง สวัสดิการไหนไม่เวิร์คและควรตัดออก เพื่อเป็นการบริหารงบประมาณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
  • ส่งเสริมศักยภาพของพนักงาน : สวัสดิการที่ดีสามารถส่งเสริมการทำงานให้กับพนักงานได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม บางสวัสดิการมีประโยชน์ต่อการทำงานโดยตรง บางสวัสดิการสร้างสุขภาวะที่ดีแล้วทำให้พนักงานมีความสุข สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น
  • เสริมประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายบุคคลให้ดียิ่งขึ้น : การประเมินผลสวัสดิการนั้นจะส่งเสริมให้ฝ่ายบุคคลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น บริหารจัดการเรื่องสวัสดิการได้อย่างมีประโยชน์ และจัดสรรอย่างเป็นระบบขึ้น ไม่ใช่มองสวัสดิการเป็นแค่เรื่องปัจจัยพื้นฐานที่จัดการให้พอมีเท่านั้น และไม่ได้ติดตามผลใดๆ
  • สร้างความมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร : การประเมินผลสวัสดิการช่วยสร้างความมีส่วนร่วมให้กับบุคลากรในองค์กรได้ดีอีกด้วย ให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น เสนอแนะ มีสิทธิ์ในการเลือก ทำให้รู้สึกมีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

บทสรุป

สวัสดิการนั้นเป็นเรื่องความรับผิดชอบของฝ่ายบุคคลโดยตรง หากมองเป็นเรื่องพื้นฐานโดยที่ไม่ได้บริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์กับบุคลากรอย่างแท้จริง ก็อาจกลายเป็นจุดด้อยหรือผลเสียที่ความความเสียหายให้กับองค์กรได้ จนอาจเป็นเหตุให้เกิดการลาออกได้เช่นกัน ในทางกลับกันหากจัดสรรสวัสดิการที่ดีมีประสิทธิภาพ และพนักงานในองค์กรได้รับประโยชน์ที่แท้จริง ก็อาจทำให้พนักงานอยากอยู่ร่วมทำงานกับองค์กรได้นานขึ้น ตลอดจนสร้างแรงจูงใจให้คนอื่นอยากมาร่วมงานได้มากขึ้น รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้ ดังนั้นการประเมินผลสวัสดิการจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในเรื่องนี้ได้ดียิ่งขึ้น แก้ไขปัญหาได้ถูกจัด สร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นได้ และสร้างการมีส่วนร่วมในองค์กรได้เป็นอย่างดีทีเดียว ซึ่งสวัสดิการที่ดีและมีคุณค่าต่อพนักงานนั้นจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพขึ้นได้ด้วย รวมถึงส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาวะที่ดีไปในคราวเดียวกัน ตลอดจนเกิดประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้

ที่มา : th.hrnote.asia

 2883
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามโลกยุคไร้พรมแดนและการปฎิวัติวิชาชีพ (Career Disruption) ในยุคนี้ก็คือระบบการทำงานยุคใหม่ที่ยืดหยุ่นและเอื้อประโยชน์ให้กับบุคลากรทั่วโลกในการมาร่วมแจมการทำงานโดยปรับเปลี่ยนเงื่อนไขไปตามการจ้างงานของแต่ละคน
3220 ผู้เข้าชม
รวบรวมคำศัพท์สายอาชีพ และตำแหน่งงานในแต่ละสายอาชีพทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ได้แก่ งานบัญชี งานธุรการ งานเลขานุการ งานเกษตรกรรม งานประมง งานเหมืองแร่ งานสายการบิน งานการเงิน งานธนาคาร งานก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานที่ปรึกษา งานนักวิเคราะห์ งานบริการลูกค้า งานวิศวกร เป็นต้น
2867 ผู้เข้าชม
1.ไม่เป็นไร ผิดพลาดกันได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทำงานผิดพลาดแล้วยังจะมานั่งโทษตัวเองให้เหนื่อยทำไม ให้กำลังใจตัวเองเพื่อทำงานชิ้นต่อไปดีกว่า ยิ่งเรามัวจมกับความผิดพลาดเดิม ๆ เราก็จะทำงานอื่นต่อไม่ได้ สู้เอาความผิดพลาดมาทำให้ถูกต้องในงานชิ้นใหม่ดีกว่า สัจธรรมของชีวิตที่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีใครจำเรื่องของคนอื่นนานหรอก ถึงใครจะว่าเรามากมายแค่ไหน แต่พอเดินพ้นหน้าเราไปเขาก็ต้องคิดเรื่องอื่นแทน แล้วเราจะมาลงโทษตัวเองอยู่ทำไม 2.งานไม่ได้หนักทุกวันสักหน่อย เดี๋ยวก็ได้พักแล้ว เวลางานล้นมือเราอาจท้อ แต่ท้อไปงานก็ไม่เสร็จ ลุกมาทุ่มเททำให้เสร็จ ๆ ไปดีกว่า เหนื่อยแค่ไหนเดี๋ยวก็ได้พัก และสิ่งที่เราต้องทำเมื่องานเยอะ คือจัดระเบียบเส้นตายของงานแต่ละชิ้น เจรจาต่อรองถ้าคิดว่าจะไม่เสร็จตรงเวลา แล้วก็ค่อย ๆ ทำไปทีละงาน เดี๋ยวดีเอง 3.ถึงจะไม่เก่งงานนี้ แต่เราก็พยายามเต็มที่แล้ว บ่อยครั้งที่เราได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด ก็คิดเสียว่าไม่เป็นไร ทำให้เต็มที่ แต่ก่อนทำก็บอกคนที่มอบหมายหน่อยว่าไม่ค่อยถนัดนะ แต่จะทำเต็มที่ ผิดพลาดอะไรก็บอกได้ เขาจะได้ไม่คาดหวังมาก แต่ถ้าทำออกมาแล้วดีก็ถือเป็นกำไร อย่าเสียใจที่ทำงานบางประเภทไม่เก่ง เพราะเราก็อาจจะเก่งในงานประเภทอื่นก็ได้ จำไว้ว่าปลาอาจจะว่ายน้ำเก่งกว่าลูกสุนัข แต่ปลาก็วิ่งไม่ได้เหมือนกัน ถ้าปลาตัวหน่งจะโดดขึ้นมาบนบกแล้วคืบคลานจนถลอกปอกเปิกก็คงไม่มีใครว่าอะไร เพราะมันเป็นปลาจริงไหม
1267 ผู้เข้าชม
ผู้ประกันตนที่เกษียณจากการทำงาน ควรจะวางแผนและดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ “สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ” คุ้มค่ามากที่สุด ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง
2952 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์