กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ

กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ

กระแส แนวคิดและการปฎิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ (Corporate Social Responsibility) หรือ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อน ที่หลายองค์การให้ความสำคัญ และทำให้บทบาทของนักบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) เริ่มมีความเด่นชัดมากขึ้น ในการทำหน้าที่หุ้นส่วนกลยุทธ์ (Strategic Partner) ทั้งนี้เนื่องจาก CSR ช่วยตอกย้ำและเพิ่มพูนบทบาทหน้าที่และความเชี่ยวชาญของ HR ที่มีเป็นทุนเดิมมาก่อน

กิจกรรม CSR มีความหลากหลายรูปแบบลักษณะ เช่น

1.CSR เชื่อมโยงกับการตลาด

ในรูปแบบช่วยเหลือสังคม เราจะพบว่าหลายองค์การในประเทศไทยมักจะทำกิจกรรม CSR โดยมีจุดมุ่งหมายทางด้านนี้เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์บริษัทให้เป็นที่แพร่ หลาย รูปแบบที่เด่นๆ เช่น การบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยหรือสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส การสร้างโรงเรียน การอุดหนุนในการจัดสร้างสาธารณะสถาน การเป็นผู้อุปถัมภ์การแข่งขันกีฬา มหกรรมงานประเพณีวัฒนธรรม ฯลฯ หลายองค์การกำหนดให้โครงการกิจกรรมประเภทนี้เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายการ ตลาดประชาสัมพันธ์หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล

2.CSR เชื่อมโยงกับจริยธรรม

คือ การไม่ผลิตหรือให้บริการที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือล่อแหลมต่อผู้เกี่ยวข้องในสังคม ส่วนใหญ่จะเป็นองค์การที่เป็นธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่เสี่ยงหรือล่อแหลมใน เรื่องความปลอดภัยของชุมชน ซึ่งอาจจะทำในลักษณะของการสร้างระบบมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือความ ปลอดภัยและประชาสัมพันธ์ให้สังคมทราบ โดยอาจจะไม่มีกิจกรรมพิเศษอื่นๆ ที่เป็นรูปธรรม

3. CSR เชื่อมโยงกับการพัฒนาสังคมจากการให้เงินอุดหนุน (Corporate Philanthropy)

เป็นรูปแบบง่าย ที่หลาย ๆ องค์กรกำลังทำอยู่ในขณะนี้ กิจกรรมCSR แม้จะมีความแตกต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญคือต้องการให้พนักงานในองค์การได้เรียนรู้ เข้าใจตระหนักถึงความสำคัญและให้การสนับสนุนดังนั้นจึงมักพบว่า กิจกรรม CSR ส่วนหนึ่งได้ถูกกำหนดให้มีรูปแบบเป็นกิจกรรมที่ต้องการการมีส่วนร่วมของ พนักงาน หรือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางด้านนันทนาการ (Recreations) ที่เป็นงานทางด้านกิจกรรมพนักงานสัมพันธ์ ของฝ่ายทรัพยากรบุคคล และ HR ต้องมีบทบาทในการเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมเหล่านี้

อย่างไรก็ดี เรามักจะพบว่ากิจกรรม CSR มักจะเป็นความริเริ่มและให้ความสำคัญขององค์การขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นองค์การที่ผลิตสินค้าหรือบริการแก่คนในสังคมส่วนใหญ่และเป็น ที่รู้จักกันดี และถือว่าเป็นนโยบายที่ต้องดำเนินการและที่สำคัญองค์การขนาดใหญ่มีงบประมาณ และทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในการสนับสนุนได้มากกว่า ส่วนองค์การเล็ก ๆ ซึ่งมีงบประมาณจำกัดในการทำ CSR จึงมักใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในการหลีกเลี่ยงการทำ CSR ซึ่งปัจจัยในการทำ CSR นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินเพียงอย่างเดียว หากแต่อยู่ที่การจัดการเป็นส่วนใหญ่

การทำ CSR ถือว่าเป็นการทำประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงช่องทางของผู้บริโภคกับชุมชนได้ดี ที่สุดและสามารถวางแผนร่วมกับการทำประชาสัมพันธ์ขององค์การได้ ดังนั้น การทำ CSR ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งที่สำคัญอันดับหนึ่ง คือ ความมุ่งมั่นของผู้บริหารและการเป็นตัวอย่างที่ดี ต่อมาก็ต้องมีการพัฒนาพนักงานให้เข้าใจตรงกัน หล่อหลอมแนวความคิดเดียวกัน มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละเพื่อส่วนรวม เท่านี้ก็ถือว่าต่อยอดความคิดและการกระทำเพื่อส่วนรวมได้แล้ว อย่างการที่พนักงานรวมตัวกันไปออกค่ายอาสาบำเพ็ญประโยชน์ในต่างจังหวัด โดยที่บริษัทไม่ต้องสนับสนุนเงินยกเว้น พาหนะเดินทางอย่างเดียวที่จัดให้ซึ่งแนวทางดังกล่าวตอกย้ำว่าการทำ CSR ไม่ใช่เป็นการแข่งขันในการทุ่มเงินเพื่อสังคม ทว่าเป็นทำอย่างไรให้พนักงานมีใจที่เป็น CSR โดยแนวทางนี้ถือเป็นการนำ CSR ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะยังมีผลประโยชน์ทางอ้อมในการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในองค์กรอีกด้วย

ในทางกลับกัน องค์การธุรกิจที่มุ่งหวังแต่เพียงกำไรสูงสุด โดยไม่สนใจว่าการดำเนินกิจการนั้นจะส่งผลอย่างไรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมคง เป็นเรื่องที่แม้สามารถทำได้ในระยะสั้น ซึ่งก็อาจประสบผลแต่เพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้นทว่า หากองค์การในธุรกิจ ต้องการขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว จะต้องคำนึงถึงเรื่องที่มากกว่าผลกำไร อาทิ การดูแลรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความรับผิดต่อสังคมของกิจการหรือ CSR (Corporate Social Responsibility) ขณะเดียวกันองค์การภาคธุรกิจของประเทศไทยก็กำลังตื่นตัวกับการนำ CSR มาใช้ในการประกอบกิจการโดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ ซึ่งมีการตั้ง KPI ในเรื่องนี้

การทำ CSR ก็มีทั้งทำด้วยใจและพวกที่ทำแบบขอไปทีเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมองค์การ ทั้งนี้ CSR ที่ถูกที่ควรน่าจะเป็นการทำจากข้างใจออกมาข้างนอก นั่นคือทำด้วยความสมัครใจและเต็มใจของหน่วยงาน เพื่อประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง ไม่ได้ทำเพียงเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนเอง จะเรียกว่าเป็นการปิดทองหลังพระไม่ใช่การทำบุญเอาหน้าก็ได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สังคมไทยต้องการคือการต่อยอดจากสิ่งที่เรามีพื้นฐานอยู่แล้ว เพียงแค่สร้างความเข้มแข็งให้สังคมคุณธรรม การทำคุณงามความดีผ่านการประกอบกิจการ นอกจากจะเพื่อผลต่อกิจการเองแล้วยังเป็นการสร้างสังคมที่ยั่งยืนและฐาน ธุรกิจที่ยั่งยืนด้วย และผลประโยชน์ก็จะกลับมาหาตัวประกอบกิจการเองในท้ายที่สุด หากการทำอย่างต่อเนื่องมีเป้าหมาย เชื่อมประสานไปกับแผนธุรกิจขององค์การ นอกจากสามารถเสริมภาพลักษณ์ในทางบวกแล้ว ยังทำให้คุณค่าในสายตาของลูกค้า หรือคนภายนอกเพิ่มสูงขึ้น ทั้งสามารถสร้างความมั่งคั่งให้แก่องค์การ ทั้งทางตรงและทางอ้อมในเวลาเดียวกันด้วย

สรุปแล้วองค์การธุรกิจไม่ว่าจะใหญ่หรือจะเล็ก ก็ต้องมี CSR หรือความรับผิดชอบสังคม ดังนั้น องค์การธุรกิจจะละเมิดกฎหมายไม่ได้ ส่วนการอาสาทำดีถือเป็นสิ่งที่ควรทำ ภาวะที่มีความรับผิดชอบนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีระบบตรวจสอบที่ดีทั้งจาก องค์กรอิสระภายใน NGO และสังคม โดยที่ไม่มีภาวการณ์ทำดีเพื่อปิดบังความผิด หรือทำดีเพื่อหวังผลตอบแทน แต่ควรเป็นการทำดีด้วยใจมากกว่า

บทบาทของ HR ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์การด้วย CSR

เรื่องการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR องค์การทั่วไปอาจจะกำหนดเป็นเป้าหมายรอง บางองค์การไม่ได้กำหนด แต่ในทุกวันนี้ หลายองค์การกำหนดเป็นเป้าหมายที่กลายเป็นความสำคัญ เพราะมีส่วนสำคัญในการสร้าง Brand ความรู้สึกที่ดี การสร้างความรู้สึกจงรักภักดีต่อหน่วยงาน (Royalty) บางองค์การมีกิจกรรมเหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่ได้ขยายแนวคิดให้เด่นชัด

ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า HR ในหลายองค์การมีบทบาทไม่น้อยในการเป็นผู้นำในการสร้างกิจกรรมเพื่อสังคม หลายองค์การมีการจัดทำโครงการ CSR ขึ้นมาโดยเฉพาะ หรือองค์การที่มีการทำระบบมาตรฐานคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ISO 14000 สาระสำคัญของระบบมาตรฐานนี้ก็เป็นการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม องค์การอาจจะมีกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อให้พนักงานได้เห็นว่า กำลังทำกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และในทุกวันนี้ CSR กลายเป็นระบบมาตรฐานคุณภาพ กลายเป็นกลยุทธ์ประเภทหนึ่งของธุรกิจ

ในองค์การที่ยังไม่มีรูปแบบการทำกิจกรรม CSR มาก่อนหรือเป็นรูปแบบที่ไม่เด่นชัด HR จึงเหมาะที่จะเป็นผู้เริ่มต้น คิดค้นนำเสนอโครงการ ที่ทำให้องค์การเป็นที่รู้จักของสังคมและยังทำให้พนักงานได้เล็งเห็นคุณค่า ตระหนักถึงความสำคัญ ถือว่า HR ได้ทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วนกลยุทธ์ (Strategic partner) คือทำให้กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเกิดการขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ และ HR ยังมีเป็นเทคนิคเครื่องมือ ในการสอน ถ่ายทอดค่านิยมแก่พนักงาน หลายรูปแบบ เรามักจะให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้ และประชาสัมพันธ์ให้พนักงานทราบ นอกจากจะสร้างความรู้สึกที่ดีขององค์การแต่บุคลากรแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังความคิด ที่ดีในการจรรโลงสังคมแก่พนักงานอีกด้วย

ผู้เขียนได้ทำงานในองค์การที่พนักงานจำนวนมาก และเกิดปัญหาในเรื่องทัศนคติ ในเชิงลบ เห็นแก่ตัว คิดเอาแต่จะได้ และมองว่าองค์การเอาเปรียบเรื่องแรงงาน ดังนั้น หนึ่งในวิธีการที่จะพัฒนาจิตสำนึกความรู้สึกที่ดี เราจะต้องใช้กิจกรรม CSR เหล่านี้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขัดเกลาจิตใจพนักงาน และที่สำคัญคือต้องให้หัวหน้างานรับรู้และมีการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ค่านิยมที่ถูกต้องด้วย

ในด้านกลยุทธ์ การจัดกิจกรรมพนักงานนั้น เราทำเพื่อพนักงานภายในองค์การอย่างเดียว ก็จะได้ความสุขอีกแบบหนึ่งได้เฉพาะพนักงาน แต่หากจัดกิจกรรม CSR และพนักงานมีส่วนร่วมด้วย พนักงานจะรู้สึกว่าเป็นการสร้างความดี เป็นกิจกรรมการกุศล ไม่ใช่สิ่งที่ไร้สาระและจะได้ความรู้สึกที่ดีต่อองค์การเพิ่มขึ้นด้วย

กรณีศึกษาการทำ CSR ในประเทศไทย

ผู้เขียนใคร่ที่จะขอนำเสนอ สาระที่อ้างอิงจากบทความในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ เรื่องต้นแบบ CSR สไตล์ไทยกับบางจาก ของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทขนาดใหญ่ของคนไทย ที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน มียอดขายเกือบแสนล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมามีนโยบายให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วยวัฒนธรรมองค์กร ที่ว่า “พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม” และเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจโดยคำนึงถึง “มูลค่า” และ “คุณค่า” ไม่คำนึงถึงผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ดูแลเอาใจใส่สังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ซึ่งในแวดวงสังคมธุรกิจปัจจุบันขนานนามว่า Corporate Social Responsibility : CSR

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ มีผลิตภัณฑ์ที่เน้นกรีนเอนเนยี ลดมลภาวะทางอากาศในขณะเดียวกันนำสินค้าชุมชนหรือสินค้าเกษตรมาเป็นสินค้าส่ง เสริมการขาย สร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชนและเกษตรกรคนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อสร้างโอกาสให้คนเหล่านั้นมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

ในยุคที่ราคาน้ำมันแพง บริษัท บางจากฯ ให้การสนับสนุนส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพราะการใช้พลังงานทดแทนจากพืชช่วยลดมลภาวะทางอากาศ รวมทั้งช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศและเป็นการพึ่งพาตนเองตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยผลิตและจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91, 95, E20 จนเป็นที่ยอมรับของประชาชนผู้ใช้รถอย่างกว้างขวาง

นอกจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์แล้ว ยังให้การสนับสนุนและส่งเสริมน้ำมันไบโอดีเซลสุตรเพาเวอร์ดี B5 เพื่อเป็นทางเลือกให้กับภาคขนส่งและภาคเกษตร รวมทั้ง ผู้ใช้รถได้ใช้น้ำมันที่มีคุณภาพ ราคาถูก ลดค่าใช้จ่าย และค่ารองชีพของประชาชน น้ำมันไบโอดีเซล ผลิตมาจากน้ำมันปาล์มดิบ ซึ่งบริษัท บางจากฯ จะสร้างศูนย์ผลิตไบโอดีเซล 3 แสนลิตรต่อวัน ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสามารถนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัย กล่าวคือ ไม่ถูกนำไปทิ้งในที่สาธารณะ หรือนำไปทอดซ้ำ

จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าน้ำมันที่ทอดซ้ำมักจะเสื่อมคุณภาพ และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพถึงร้อยละ 13 และส่งผลให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง ส่วนไอระเหยจากน้ำมันทอดอาหาร หากสูตรดมเป็นระยะเวลานานอาจมีอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งที่ปอดกับสารสูดไอระเหยจาก การผัดหรือทอดอาหาร

บริษัท บางจากฯ จึงได้รณรงค์ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กร และสถาบันการศึกษาให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว พร้อมดำเนินโครงการรับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วเพื่อนำไปผลิตไบโดดีเซล ทั้งนี้ บางจากฯ ได้สร้างหน่วยผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว ณ โรงกลั่นบางจาก ถ.สุขุมวิท 64 ซึ่งมีกำลังการผลิต 20,000 ลิตรต่อวัน และเปิดจุดรับซื้อ ณ สถานีบริการน้ำมันบางจาก กว่า 25 แห่งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

คณะผู้บริหาร และอาสาสมัครพนักงาน บริษัท บางจากฯ ร่วมแรงร่วมใจทำกิจกรรมในวันหยุด โดยออกไปรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงโทษของการนำน้ำมันพืชใช้แล้ว ไปทอดซ้ำ นอกเหนือจากการรณรงค์แล้วยังได้ออกไปรับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วตามตลาดสด กว่า 160 แห่ง ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

การดำเนินกิจกรรมด้าน CSR ของบริษัท บางจากฯ เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมโดยทั่วไป จนได้รับรางวัล Best Corporate Social Responsibility Award ในงาน SET Awards 2006 และล่าสุดต้นปี 2551 สำนักงานข่าว CNBC ในเครือ NBC Universal ที่มีเครือข่ายทั่วโลก ได้มอบรางวัล CNBC’s Corporate Social Responsibility Award 2008 ให้แก่ ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่งนวล ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกในเอเชีย ในฐานะผู้นำองค์กรที่มีความโดดเด่น ด้าน CSR ทำให้บริษัท บางจากฯ เป็นที่ยอมรับถึงความเป็นองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อ สังคมในระดับสากล

ประสบการณ์การดำเนินกิจกรรม CSR ของ HR

ผู้เขียนมีประสบการณ์การทำงานทั้งในองค์การขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่ต่างก็มี ทรรศนะและมุมมองที่มีต่องาน CSR ต่างกัน จึงขอยกมาเป็นข้อคิดสำหรับท่านผู้อ่านบ้าง ดังนี้

องค์การที่ 1

เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มีพนักงานจำนวนมาก ตั้งอยู่ในย่านนิคมอุตสาหกรรมทางตอนเหนือของกรุงเทพ ต้องการรับสมัครพนักงานเข้ามาร่วมงานจำนวนมาก เมื่อแรกเข้าไปตั้งกิจการในชุมชน จึงได้กำหนดกลยุทธ์ด้าน CSR ว่าจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน ดังนั้นการเริ่มต้นโครงการระยะแรก เช่น การมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนในชุมชน เป็นการสร้างสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชน ซึ่งโรงเรียนสามารถเผยแพร่ชื่อเสียงของบริษัทให้แก่นักเรียน และผู้ปกครองในชุมชนได้ ความสัมพันธ์ที่ดีที่บริษัท ได้รับกลับคืนจากโรงเรียนคือ โรงเรียนได้ให้การสนับสนุนแก่บริษัทในด้านการมีส่วนร่วมในการนำการแสดง กิจกรรมของนักเรียนมาให้บริษัทได้มีโอกาสรับชมในพิธีการต่างๆ และสนับสนุนกิจกรรมพนักงานสัมพันธ์ การตอบรับที่ดีของชุมชน บริษัทจึงขยายกิจกรรม CSR ออกไปสู่กลุ่มอื่นๆในชุมชน เช่น วัด มัสยิด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต่อมาขยายกิจกรรม CSR ไปสู่การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เมื่อบริษัทได้จัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 14000 และกระตุ้นจิตสำนึกของพนักงานด้วยกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่น ระดมพนักงานไปร่วมกันปลูกต้นไม้ในสถานที่สาธารณะ ฯลฯ และยังคงดำเนินเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยบวกที่ทำให้กิจกรรมเหล่านี้ประสบความสำเร็จเนื่องจาก บริษัทมิได้ผลิตสินค้าที่สร้างผลกระทบต่อสังคม ดังนั้นบริษัทจึงได้รับภาพลักษณ์ที่มีลักษณะบวกจากชุมชน และการที่เป็นนายจ้างรายใหญ่ ทำให้ลูกหลานของประชากรในชุมชนมีงานทำ มีรายได้ และยังทำให้ธุรกิจอื่นๆ ที่เป็นคู่ค้ากับบริษัทได้รับผลประโยชน์อีกด้วย โดยบทบาทของฝ่ายทรัพยากรบุคคล เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น ถือว่าเป็นโครงการที่อยู่ในการเสนอของบประมาณของฝ่ายทรัพยากรบุคคล และใช้หลักการเป็นรูปแบบกิจกรรมที่พนักงานมีส่วนร่วมและผลของการจัดกิจกรรม จะต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานทราบ

องค์การที่ 2

เป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็ก มีพนักงานจำนวนน้อย ตั้งอยู่ในย่านอุตสาหกรรมทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ บริษัทค่อนข้างจะมีปัญหากับชุมชน เนื่องจากในยุคสมัยที่ผู้เขียนทำงาน ระบบการจัดการด้านบำบัดน้ำเสียของบริษัทยังไม่สมบูรณ์นัก ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาน้ำเสียไหลลงลำน้ำสาธารณะประชาชนส่วนหนึ่งจะเดือดร้อน แต่ผู้บริหารองค์การก็พยายามสร้างความใกล้ชิดและมีการสนับสนุนช่วยเหลือทาง การเงินแก่บุคคลในชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นปัญหาการร้องเรียนจึงสามารถระงับลงในชุมชนเอง ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารใหม่การทำงานของธุรกิจก็ยังเกิดปัญหา การรบกวนความสงบสุขบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากระบบบำบัดน้ำเสียยังไม่ สมบูรณ์ แต่ผู้บริหารใหม่ไม่เห็นด้วยที่จะจ่ายเงินเป็นค่าเสียหายหรือปลอบใจ จึงเปลี่ยนนโยบายโดยระงับเงินช่วยเหลือ ต่อมาบริษัทก็ยังมีปัญหาเรื่องน้ำเสียที่รบกวนชุมชนอีก ดังนั้นเมื่อปัญหาเกิดขึ้น และชุมชนไม่ได้รับการเยียวยาเป็นตัวเงินดังอดีต จึงถูกชุมชนร้องเรียนต่อทางราชการมากขึ้นว่าบริษัทสร้างปัญหาความเดือดร้อน ชุมชนมองว่าโรงงานบริษัท ไม่ได้สร้างประโยชน์แก่ชุมชนเท่าที่ควร และผู้บริหารใหม่ไม่ได้สร้างสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชน นโยบายของผู้บริหารองค์การพยายามที่จะทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีหน้าที่ ให้ความรู้แก่ชุมชนว่า การที่บริษัทได้ผลิตสินค้าตอบสนองสังคมก็คือเป็นการทำให้สังคมได้บริโภค สินค้าที่ดีและเพิ่มคุณภาพชีวิต นอกจากนี้การที่บริษัทจ่ายภาษีแก่รัฐบาลทุกปีก็คือการช่วยเหลือสังคม แต่เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับและไม่เกิดความประทับใจเนื่อง จากชุมชนมองว่าการเสียภาษีเป็นเรื่องห่างไกลต่อประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ ทำให้บริษัท จึงต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล จัดทำโครงการด้าน CSR โดยให้มีการมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนของโรงเรียนในชุมชนดังกล่าว และบางส่วนยังเป็นบุตรหลานของพนักงานอีกด้วย ซึ่งปรากฏว่าได้ผลค่อนข้างช้าในการเปลี่ยนวิธีการคิดของชุมชนที่มีต่อ บริษัท ดังนั้น การสร้างกิจกรรมเช่นนี้ในระยะแรก ชุมชนจึงมองไม่เห็นคุณค่า และเห็นว่าเป็นประเด็นเบี่ยงเบนของบริษัท ดังนั้นสิ่งที่บริษัทลงทุนไป จึงยังไม่เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท แต่ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาระบบการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้นเนื่องจากการตรวจสอบ ที่เข้มงวดจากหน่วยงานของรัฐ และการพัฒนาระบบมาตรฐานคุณภาพ GMP และ HACCP ในระยะหลัง ทำให้ปัญหาข้อบกพร่องดังกล่าวมีการป้องกันและการควบคุมที่ดีขึ้น ปัญหากับชุมชนจึงคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น

จากแนวคิด กรณีศึกษาและประสบการณ์ที่นำเสนอแสดงให้เห็นว่า HR ต้องมีบทบาทในการสร้าง พัฒนา และผลักดันโครงการ CSR ให้เป็นที่ปรากฏ ซึ่งผลดีต่อองค์การไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นในแง่ของการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่ทำให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ได้เรียนรู้รับการปลูกฝังจิตสำนึกในการที่จะเป็นพนักงานที่ดีและสร้างคุณ ประโยชน์องค์การและสังคมเท่านั้น หากแต่เป็นประโยชน์ ต่อธุรกิจขององค์การด้วย ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ที่ดี มีผลต่อยอดขาย กำไร ความสามารถในการแข่งขันที่เพี่มขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์ต่างๆ ที่ HR นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรม CSR จึงถือว่าเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ของการเป็นหุ้นส่วนกลยุทธ์ ที่พวกเราชาว HR (อีกหลายคน) ที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีและสงสัยว่าจะเป็นไปได้จริงหรือไม่ในทาง ปฎิบัติ.....

 29348
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management หรือ HRM) คืออะไร มีลักษณะ และขอบเขตของการทำงานอย่างไรบ้าง
50307 ผู้เข้าชม
แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relation) เป็นความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้อง หรือการปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายนายจ้าง หรือฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายจัดการฝ่ายหนึ่ง กับฝ่ายลูกจ้าง หรือฝ่ายพนักงาน หรือฝ่ายผู้ปฏิบัติงานอีกฝ่ายหนึ่ง
22854 ผู้เข้าชม
เชื่อว่าช่วงต้นปี หลายคนคงกำลังเตรียมเอกสารเพื่อทำการ ยื่นภาษี กับทางกรมสรรพากร ซึ่งส่วนใหญ่ก็คงยื่นกันผ่านระบบออนไลน์ ยิ่งยื่นเร็ว เอกสารครบ ถ้าชำระภาษีไว้เกินกว่าที่กำหนด สิ่งที่ทุกคนรอคอยก็คือ การคืนภาษี
1790 ผู้เข้าชม
ในยุคที่องค์กรทั่วโลกกำลังปรับตัวให้ทันตามยุคสมัยจนเกิดการพลิกผันในธุรกิจ (Business Disruption) มากมายซึ่งทำให้องค์กรต้องมีการปรับตัวปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานกันใหม่เพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบัน ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource)
21103 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์