วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 10 ประการของงาน HR

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 10 ประการของงาน HR

"Best Practice" หรือ "วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ" เริ่มเป็นที่คุ้นเคยกันในวงการธุรกิจ และอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง แท้จริงแล้วสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวผลงานที่ได้ แต่เป็นการนำเสนอวิธีการหรือกระบวนการที่ทำแล้วดีที่สุดในการได้ผลงานที่ดี เด่นสำเร็จออกมาแล้วนำเอาวิธีการหรือกระบวนการนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อให้แต่ละที่นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของตัวเองชาว HR ที่ไม่ต้องการตกยุคก็ต้องค้นคว้าหา "HR Best Practice" มาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งผมพอจะมีแนวทางให้ดังนี้นะครับ

1. การให้ความสำคัญกับผู้ที่มีผลงานเป็นเลิศ การให้รางวัล

ยอมรับชื่นชมต่อดาวเด่นทั้งหลายอย่างเปิดเผยกับทุกๆ คนในองค์กรตามวาระและช่องทางต่างๆ ที่เหมาะสม นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้คนเก่งเหล่านั้น ยังเป็นการสร้างบรรยากาศการแข่งขันให้กับคนอื่นๆ ที่อยากขึ้นมาเป็นดาวกับเขาบ้าง

2. การประเมินผลโดยใช้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา

ความสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนระหว่าง "พนักงาน-เจ้านาย-ลูกน้อง-เพื่อนร่วมงาน" ในสังคมไทยนับเป็นสิ่งที่ซับซ้อนไม่ใช่น้อย แต่สำหรับผมแล้วถ้าองค์กรใดมีความพร้อมที่จะลองทำแม้ไม่เต็มรูปแบบเช่น 180 องศา หรือ 270 องศา ตามความเหมาะสมก็นับเป็นสิ่งที่น่าค้นหาครับ

3. การให้โบนัสตามผลการปฏิบัติงาน

บางคนมองว่าการให้โบนัสแบบคงที่เป็นเรื่องจูงใจแบบไม่ตรงจุดประสงค์ของการ บริหารผลการปฏิบัติงานที่กล่าวว่า "ใครทำมากก็ควรได้มาก และทำน้อยก็ควรได้น้อย" และผมก็ขอเติมให้อีกว่า "ใครทำไม่ได้ก็ไม่ควรได้อะไรเลย" พนักงานเจนเนอเรชั่นหลังๆ กล้าได้กล้าเสียมีมากขึ้น HR ก็ต้องเข้าใจระบบการให้โบนัสแบบแปรผันมากขึ้นครับ

4. ระบบการประเมินผลงานที่เป็นธรรมแก่พนักงาน

เรื่องนี้พูดก็ยากทำก็ยาก เพราะคำว่า "เป็นธรรม" มักจะกลายเป็น "เป็นนามธรรม" อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากว่าธรรมชาติของการประเมินผลงานต้องมีทั้งหลักของความเป็นรูปธรรม (objectivity) และ ความเป็นนามธรรม (subjectivity) ควบคู่กันไปเลยกลายเป็นช่องว่างให้การประเมินผลงานที่เป็นธรรมจริงๆ แก่พนักงานนั้นทำได้ยากจริงๆ นับเป็นสิ่งที่พิสูจน์กื๋นของ HR ก็ว่าได้

5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่นี้ได้แก่ การจัดการความรู้ (knowledge management) ในองค์กรที่ออกแบบมาเพื่อรองรับสนับสนุนกลยุทธ์ต่างๆ ขององค์กร เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ยังทำกันให้ดีแบบยั่งยืนได้ยากเพราะขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลายด้าน

HR ONLINE

6. การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการออกความเห็น

ความเห็นของพนักงานจากทุกระดับเป็นสิ่งมีค่าที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ เพราะจะนำมาซึ่งการจัดการแบบมีพนักงานเป็นศูนย์กลาง (employee centric management) ที่สามารถนำเอาศักยภาพอันไม่มีที่สิ้นสุดของพวกเขาออกมาเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ ให้แก่องค์กรได้

7. พิธีรีตองการให้รางวัลและการชมเชยพนักงาน

การให้รางวัลในรูปแบบของเงินและผลประโยชน์อื่นๆ นับเป็นสิ่งจูงใจภายนอก (extrinsic motivation) ที่สำคัญแบบไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ แต่การยอมรับ การชื่นชม ด้วยเสียงปรบมือจากพนักงานทั้งแผนกหรือทั้งองค์กรสามารถเป็นมนต์เสน่ห์แห่ง สิ่งจูงใจภายใน (intrinsic motivation) ที่เข้าไปถึงจิตใจของพนักงานได้อย่างไม่รู้ลืม

8. การให้พนักงานมีส่วนรับรู้ในธุรกิจขององค์กร

เป็นวิธีการที่บริษัทให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ ทิศทาง และธุรกิจขององค์กร แบบ open book management style แก่พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นข่าวดีหรือบางครั้งอาจเป็นข่าวไม่ดีที่ต้องระวังตัวให้มากขึ้น ก็ตาม

9. โครงการความปลอดภัยและชีวอนามัยในสถานประกอบการ

และโครงการองค์กรแห่งความสุข ทั้งสองโครงการนี้ถือเป็นพื้นฐานหลักขององค์กรทุกแห่งก็ว่าได้ เพราะทุกคนในองค์กรต้องสุขกายและสบายใจอันนำไปซึ่งผลการปฏิบัติงานที่เป็น เลิศ

10. การสร้างความประทับใจอย่างสร้างสรรค์ให้กับพนักงานแบบที่เขาไม่คาดหมาย

การให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ และการชมเชยด้วยวิธีสร้างสรรค์โดยที่เขาไม่รู้ตัวสามารถเป็นความประทับใจที่ ยิ่งใหญ่ล้ำค่าได้อย่างไม่น่าเชื่อ

อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะสามารถนำไปใช้ในทุกองค์กร หากแต่ต้องอาศัยการวิเคราะห์สภาพจุดแข็ง-จุดอ่อนขององค์กรนั้นๆ เพื่อกำหนดรูปแบบและกลวิธีที่เหมาะสมที่สุด และจำเป็นภายใต้เงื่อนไขของแต่ละองค์กร ลองกลับไปดูที่องค์กรของท่านให้ดีๆ นะครับเพราะ HR Best Practice ของคนอื่นเขาอาจเป็น HR Worst Practice ของเราก็ได้ ใครจะไปรู้ อ่านต่อ:HR มืออาชีพ ตามนิยาม Competency

 6040
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

กองทุน SSF (Super Savings Fund) รูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งนอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังช่วยให้คนออมระยะยาวขึ้น ใครอยากทราบว่า SSF มีเงื่อนไขต่างจากกองทุน LTF อย่างไร ลองมาทำความเข้าใจกัน
3992 ผู้เข้าชม
ความเป็นธรรมในการบริหารค่าจ้าง หลายๆ บริษัทที่มีการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ต่างก็พยายามที่จะสร้างความเป็นธรรมในเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นในองค์กรทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าองค์กรมีความเป็นธรรมในการบริหาร ค่าจ้างเงินเดือน
2707 ผู้เข้าชม
ความหลากหลายของบุคลากรในตลาดแรงงานหรือการบริหารงานแบบองค์กรนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละอย่างต่างก็มีลักษณะและข้อดีกับองค์กรที่แตกต่างกัน ซึ่งความหลากหลายต่างๆ นั้นมีดังนี้
2268 ผู้เข้าชม
แถมไปว่าฝ่ายบุคคลที่แนะนำผู้บริหารว่าไม่ควรไปเลื่อนตำแหน่งให้ก็เป็น HR ที่ใจร้ายไม่ต่างกันแหละ ความคิดแบบนี้เข้าใจได้ครับว่าเป็นความคิดในมุมมองของพนักงาน โดยเฉพาะคนที่ทำงานมานาน แต่ลองมองอีกมุมหนึ่งว่าถ้าเราเป็นเจ้าของเป็นฝ่ายบริหารหรือเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่จะต้องรับผิดชอบภาพรวมดูแลผู้คนทั้งหมดล่ะเราจะทำยังไง ?
1375 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์