• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ ‘สลากกินแบ่งรัฐบาล’ และ ‘หวยใต้ดิน’

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ ‘สลากกินแบ่งรัฐบาล’ และ ‘หวยใต้ดิน’

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ ‘สลากกินแบ่งรัฐบาล’ และ ‘หวยใต้ดิน’

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ ‘สลากกินแบ่งรัฐบาล’ และ ‘หวยใต้ดิน’

หลายประเด็นที่คนทั่วไปอาจเข้าใจคาดเคลื่อนเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ ‘สลากกินแบ่งรัฐบาล’ และ ‘หวยใต้ดิน’ รวมถึง ‘การพนันออนไลน์’ มีดังนี้

สลากกินแบ่งรัฐบาล ถ้าถูกรางวัล ต้องจ่ายภาษีด้วยหรือ? ไม่เห็นมีใครบอกเลย

ผู้ได้รับรางวัลจากสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น แม้ไม่ต้องนำเงินรางวัลที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้เงินรางวัลเต็มจำนวน เนื่องจากผู้ได้รับรางวัลจะมีภาระภาษีผ่านการจ่ายค่า อากรแสตมป์


อัตราอากรแสตมป์สำหรับการรับรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2525 อยู่ที่อากรแสตมป์ 1 บาท ต่อรางวัล 200 บาท (คิดเป็น 0.5% ของเงินรางวัล) โดยเศษของ 200 บาท เสียอากรแสตมป์ 1 บาท เช่นกัน

ตัวอย่าง หากถูกรางวัลที่ 1 มูลค่า 6,000,000 บาท ต้องจ่ายอากรแสตมป์ 30,000 บาท ได้รับเงินรางวัลจริง 5,970,000 บาท


ขณะนี้กรมสรรพากรได้ศึกษาเพื่อปรับอัตราอากรแสตมป์ใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยมีแนวคิดที่จะเก็บอากรแสตมป์สำหรับการรับรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลในอนาคต (รอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา) ไว้ที่ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เสียอากรแสตมป์ 40 บาท (คิดเป็น 2% ของเงินรางวัล) ดังตัวอย่าง หากถูกรางวัลที่ 1 มูลค่า 6,000,000 บาท ต้องจ่ายอากรแสตมป์ 120,000 บาท ได้รับเงินรางวัลจริง 5,880,000 บาท

สรุป เงินรางวัลของสลากกินแบ่งรัฐบาล ผู้ได้รับรางวัลมีหน้าที่ชำระภาษีให้รัฐในรูปของอากรแสตมป์ ไม่ใช่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หวยใต้ดิน หรือพนันออนไลน์ เงินได้ไม่ถูกกฎหมายอย่างนี้ ไม่ต้องยื่นภาษีหรอก?

กรณีหวยใต้ดิน มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10701/2555 ระบุไว้ชัดเจนว่า “เงินได้จากการเล่นพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) แม้เป็นเงินได้ที่มาจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ตามมาตรา 40 (1) ถึง (7) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)”


ดังนั้นเมื่อมีรายได้จากการเล่นหวยใต้ดิน จำเป็นต้องนำเงินที่ได้ มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

ส่วนพนันออนไลน์นั้น นอกจากจะเข้าข่ายกฎหมายฟอกเงินที่ดูแลโดยปปง. แล้ว ยังถือเป็นเงินได้ประเภท 8 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 เช่นกัน

โดยปกติเจ้าของกิจการพนันออนไลน์จะต้องจดบันทึกการจ่ายเงินให้กับผู้เล่น ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ และเมื่อมีการโอนเงินเข้าบัญชีของผู้เล่น กรมสรรพากรมีสิทธิให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลให้ตรวจสอบได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อมีรายได้จากการเล่นพนันออนไลน์ จึงจำเป็นต้องนำเงินได้มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่นเดียวกับกรณีหวยใต้ดิน


“สรุป ต่อให้รายได้นั้นไม่ถูกกฎหมาย แต่โดยข้อเท็จจริงของกฎหมาย ยังต้องมีภาระนำรายได้นี้มารวมคำนวณภาษีเงินได้ด้วย มิเช่นนั้นจะถือว่าทำผิดกฎหมายภาษีอีกกระทง”


สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้


ที่มา : www.wealthythai.com

 10905
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

เมื่อทำงานมาสักพัก หลายคนก็เริ่มคิดอยากมีทรัพย์สินใหญ่ๆ เป็นของตัวเองกันแล้ว โดยเฉพาะการซื้อบ้าน ที่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าใดเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่สำคัญ ทั้งราคาบ้าน ค่างวดบ้าน ไปจนถึงการใช้ดอกเบี้ยบ้านเพื่อลดหย่อนภาษี
1176 ผู้เข้าชม
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวนึงที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว
895 ผู้เข้าชม
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 10 ประการของงาน HR "Best Practice" หรือ "วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ" เริ่มเป็นที่คุ้นเคยกันในวงการธุรกิจ และอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง แท้จริงแล้วสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวผลงานที่ได้ แต่เป็นการนำเสนอวิธีการหรือกระบวนการที่ทำแล้วดีที่สุดในการได้ผลงานที่ดี เด่นสำเร็จออกมาแล้วนำเอาวิธีการหรือกระบวนการนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อให้แต่ละที่นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของตัวเองชาว HR ที่ไม่ต้องการตกยุคก็ต้องค้นคว้าหา "HR Best Practice" มาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
6164 ผู้เข้าชม
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเข้าอยู่ในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องว่าจ้างให้ทำของหรือใช้บริการ ยกตัวอย่าง จ้างฟรีแลนซ์ (บุคคลทั่วไป) ให้ทำเว็บไซต์ ออกแบบกราฟิก จ้างช่างมาซ่อมแอร์ หรือการว่าจ้างบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี บริษัทออกแบบโฆษณา หรือค่าบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันภัยสินค้า ค่าประกันขนส่ง ค่าเช่าออฟฟิศ ฯลฯ รายจ่ายเหล่านี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจะมีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ของเงินค่าจ้างของผู้ให้บริการออกมาด้วย โดยที่เงินนี้จะไม่ใช่เงินของเรา แต่เป็นเงินที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร
6538 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์