Talent Management บริหารจัดการผู้มีความสามารถ โดดเด่น

Talent Management บริหารจัดการผู้มีความสามารถ โดดเด่น



Talent Management หรือ ระบบการบริหารจัดการคนเก่ง เป็นเครื่องมือทางการบริหารทรัพยากรบุคคลอยางหนึ่งที่ในปัจจุบันองค์กรจํานวนมากกำลังให้ความสนใจกับการบริหารจัดการคนเก่งที่มีอยูในองค์กร หากจะกำหนดนิยามของ Talent Management ก็อาจกล่าวได้ว่า Talent Management หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และวางแผนที่มีความสอดคล้องกันในการหาแหล่งที่มา (Sourcing) กลั่นกรอง (Screening) การคัดเลือก (Selection) การนําไปใช้ (Deployment) การพัฒนา (Development) และการทําให้คงอยู่(Retention) ของทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพสูงและ สามารถทํางานได้อยางมีประสิทธิภาพสูงสุด

นี่คือเหตุผลว่าทำบริษัท ห้างร้าน องค์กรต่างๆ ควรลงทุนกับการบริหารจัดการพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและความสามารถเพื่อรักษาให้พนักงานอยู่กับบริษัทต่อไป

เพื่อดึงคนเก่งเอาไว้

การดึงเอากลยุทธ์การบริหารจัดการคนเก่งมาใช้จะช่วยเปิดโอกาสในการดึงดูดคนเก่ง มีศักยภาพเข้ามาและยังคงอยู่ทำงาน กลยุทธ์ที่ว่านี้นอกจากยังช่วยดึงคนเก่งๆ เอาไว้แล้ว ยังช่วยร้างแบรนด์ให้น่าสนใจรวมไปถึงส่งผลให้เกิดผลการดำเนินกิจการที่เปลี่ยนไปด้วย หมายความง่ายๆ ว่าถ้าบริษัทคุณมีคนเก่งช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ ผลลัพธ์ที่คุณจะได้คือผลประกอบการขององค์กรที่ดีขึ้น

สร้างแรงจูงใจให้พนักงาน

การที่บริษัทหนึ่งๆ ลงทุนกับกลยุทธ์การบริหารจัดการคนเก่งจะช่วยสร้างให้แรงจูงใจให้พนักงานให้ยังคงทำงานอยู่กับองค์กรนั้นๆ ต่อไป จากข้อมูลการสำรวจด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลโดย Chandler and Macleod พบว่า 91% ของลูกจ้างระบุว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการไม่ใช่แค่เพียงเรื่องเงิน แต่บริษัทต้องให้ความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมและแรงจูงใจที่มีต่อบริษัท

ช่วยรักษาตำแหน่งสำคัญ

การบริหารจัดการคนเก่งช่วยให้บริษัทสามารถวางแผนในการวางตำแหน่งสำคัญๆ ให้กับหนักงาน หมายถึงว่าบริษัทจะสามารถบริหารจัดการตำแหน่งสำคัญๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างราบรื่นและลดภาระงานให้กับพนักงานคนอื่นๆ ที่ถ้าหากไม่มีการจัดการตรงไหนไว้ ย่อมส่งผลกระทบในทุกภาคส่วน

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานให้กับลูกจ้าง

การนำเอาวิธีบริหารจัดการคนเก่งจะช่วยให้บริษัทสามารถระบุได้ว่าพนักงานคนไหนมีความสามารถโดดเด่นที่สุดสำหรับงานงานนั้นเพื่อลดปัญหาการจัดการและข้อร้องเรียนน้อยที่สุด ทั้งยังช่วยการันตีด้วยว่าคนเก่งๆ ระดับท็อปๆ จะยังคงอยู่กับบริษัทต่อไป

ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกร่วมของพนักงาน

ระบบบริหารจัดการคนเก่งจะช่วยให้บริษัทสามารถบริษัท สามารถตัดสินใจได้อย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอในการพัฒนาบุคลากรที่การันตีการพัฒนาทักษะ ความสามารถ นอกจากนี้พนักงานยังได้รู้สึกว่าเขามีส่วนร่วมในขั้นตอนการพัฒนาบุคคล อันจะนำมาสู่การมั่งทำงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร

รักษาลูกจ้างชั้นยอดไว้

การบริหารจัดการที่ดีจะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาคนเก่งในองค์กรให้ยังคงทำงานขับเคลื่อนกิจการต่อไป ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการต้องสรรหาบุคคลใหม่ๆ และการจัดการที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ

อย่างที่ทราบกันแล้วว่า การบริหารจัดการคนเก่งช่วยให้ลูกจ้างรู้สึกมีส่วนร่วม ได้พัฒนาศักยภพาและมีแรงจูงใจในการทำงาน จะช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานไปตามเป้าหมายที่ว่าไว้ แน่นอนว่าถ้าฟันเฝืองเหล่านี้สามารถทำงานได้ดี การเดินสู่เป้าหมาย ลูกค้าพึงพอใจในบริการคงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

ความพึงพอใจลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

การจัดการคนเก่งในบริษัทอย่างเป็นระบบนั้นจะช่วยให้องค์กรสามารถที่จะบูรณาการการทำงานเพื่อไปถึงเป้าในการดำเนินกิจการได้ และเมื่อระบบมีการบูรณาการมากขึ้น ความพึงพอใจของลูกค้าย่อมเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ทั้งหมดนี้คือข้อดีที่เราแนะนำว่าทำไมการลงทุนในการบริหารจัดการคนเก่งจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลเพราะเมื่อลูกจ้างรู้สึกดี ถูกพัฒนาศักยภาพเต็มที่ ย่อมส่งผลการผลประกอบการของบริษัทในทางที่ดี 

สามารถอ่านบทความ ลักษณะงาน HR ด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน และ บทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี้

ที่มา : talentmind.ai

 12774
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

เงินเดือนเยอะๆ พนักงานถึงจะแฮปปี้โบนัสต้องมหาศาล ถึงจะซื้อใจพนักงานได้สวัสดิการต้องเยอะแยะหลากหลายครอบคลุม พนักงานจะได้ไม่ลาออก แต่ทำไมเรายังเห็นตัวอย่างในบางบริษัทที่เงินเดือนสูงลิ่ว โบนัสก็ไม่ใช่น้อย แถมสวัสดิการยังน่าดึงดูดใจ แต่ทำไม employee engagement ถึงไม่สูงเท่าที่ควรจะเป็น แถมยังพบปัญหาคลาสสิกตลอดกาล อย่างการย้ายบริษัทเมื่อได้รับข้อเสนอด้านเงินที่ดีกว่า หรือแม้กระทั่งมหกรรมการลาออกครั้งใหญ่ปลายปีหลังได้รับโบนัส
7237 ผู้เข้าชม
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มี ความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย แนวโน้มในด้านบวก • การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ • การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง • การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้ • การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library) • การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ • การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen
147505 ผู้เข้าชม
กรมสรรพากร แนะนำให้ประชาชนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและสามารถตรวจสอบสถานะการยื่นภาษีได้อย่างสะดวก
4054 ผู้เข้าชม
การทำ Succession Planning เชิงรุกเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดพนักงานในตำแหน่งสำคัญๆ ได้มาก เพราะบริษัทจะทำการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเป็นระยะๆ มีการสรรหา พัฒนา และตระเตรียมคนไว้ทดแทนอยู่ตลอดเวลา แทนที่จะรอพนักงานคนเก่งลาออกไปแล้วค่อยมาคิดหาคนทดแทน ซึ่งกว่าจะหาคนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงมาทดแทนได้ก็ยาก และบางทีก็ใช้เวลานาน
9114 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์