จัดสรรเงินซื้อประกัน กระจายความเสี่ยง…ลดหย่อนภาษี

จัดสรรเงินซื้อประกัน กระจายความเสี่ยง…ลดหย่อนภาษี

การซื้อ ประกัน ถือเป็นอีกเครื่องมือทางการเงินหนึ่งที่สามารถบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพและชีวิตในระยะยาว และยังสามารถนำเบี้ยประกัน มาหักลดหย่อนภาษีได้ด้วย เนื่องจากรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้คนไทยทำประกันชีวิตเพื่อความมั่นคงในอนาคต 

แบบประกันที่สามารถหักลดหย่อนภาษี ได้แก่

1. ประกันชีวิตแบบปกติทั่วไป

จะถือเป็นสัญญาหลักของผู้เอาประกันซึ่งแบ่งเป็น3ประเภทดังต่อไปนี้

ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life)

จะมีระยะเวลาจ่ายเบี้ยค่อนข้างยาว เพราะให้ความคุ้มครองถึงอายุ 90/99 ปี ขึ้นกับรายละเอียดในเงื่อนไขกรมธรรม์นั้นๆ  ขณะที่ค่าเบี้ยจะไม่เพิ่มตามอายุ  รวมทั้งจะได้รับผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ โดยถือเป็นกรมธรรม์ที่ให้ความมั่นคงแก่คนในครอบครัวหรือผู้รับผลประโยชน์ได้รับเงินก้อนหากผู้เอาประกันเสียชีวิต

ประกันแบบชั่วระยะเวลา (Term)

จะเน้นความคุ้มครองระยะสั้น ข้อดีค่าเบี้ยต่ำมาก แต่จะเป็นการจ่าย”ทิ้ง”ในแต่ละปี ดังนั้นไม่สามารถเวรคืน หรือมีมูลค่าเงินสดไดิ ด้งนั้นแบบประกันนี้จะเหมาะคนมีงบประมาณจำกัด

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endownment)

จะสามารถเลือกแบบได้ตั้งแต่ชำระเบี้ย 3 -5 ปี แต่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป โดยจะได้รับผลตอบแทนตามกำหนดของเงื่อนไขกรมธรรม์นั้นๆ ซึ่งประกันแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการออมเงินควบคู่กับการได้รับความคุ้มครอง

2. ประกันสุขภาพ

ซึ่งทุกวันนี้ บริษัทประกัน ต่างหันมานำเสนอตัวเลือกอย่างมากมาย จะเป็นสัญญาเพิ่มเติมด้านประกันสุขภาพให้เลือกซื้อ เพื่อตอบโจทย์ค่ารักษาเจ็บป่วยจนถึงนอนในโรงพยาบาล  โรคร้ายแรงต่างๆที่เป็นกันเพิ่มมากขึ้นทำให้มีความต้องการซื้อความคุ้มครองด้านประกันสุขภาพมากขึ้น  แม้ว่าทุกวันนี้ มนุษย์เงินเดือนจะมีสวัสดิการของที่ทำงานอยู่ แต่บางครั้งอาจไม่เพียงพอ

3. ประกันบำนาญ

เป็นการออมเงินระยะยาวเพื่อใช้หลังเกษียณอายุ ดังนั้น จะได้รับเงินคืนทุกปีในช่วงเวลาที่นับตั้งแต่อายุครบ 55 ปีขึ้นไป จนถึงระยะเวลาปี ที่กำหนดเงื่อนไขไว้ในกรมธรรม์นั้นๆ ตัวนี้ถือเป็นการสร้างบำนาญ ซึ่งผู้ซื้อจจะได้รับเงินใช้ในแต่ละเดือนนับตั้งแต่วันเกษียณอายุ  ซึ่งคุณก็สามารถสร้างเงินบำนาญของตัวเองได้ไม่แพ้ข้าราชการ และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเพียงเงินประกันสังคม หรือเงินช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น เงินสวัสดิการผู้สูงอายุ 60 ปี ที่ได้รับตั้งแต่ 600 บาทขึ้นไป ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงพอใช้

4. แบบประกันควบการลงทุน (Unit-Linked)

ซึ่งจะแบ่งค่าเบี้ยส่วนหนึ่งลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งสามารถจัดพอร์ตและเลือกลงทุนในกองทุนรวม และเบี้ยอีกส่วนหนึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายในการทำประกันคุ้มครองชีวิต สิ่งที่ได้จะเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนกองทุนรวมควบคู่กับป้องกันความเสี่ยง แต่แบบประกันนี้จะมีความเสี่ยงสูงในการบริหารผลตอบแทน ซึ่งจะต่างกับแบบประกันข้างต้น ดังนั้นผู้ที่จะซื้อประกันแบบนี้ จึงต้องมีความรู้การลงทุนด้วย

สำหรับเบี้ยประกัน” ที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษี มีดังนี้

1. เบี้ยประกันชีวิตแบบปกติ  สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ 100,000 บาท โดยจะเป็นเบี้ย”ประกันสุขภาพ”นำมาหักลดหย่อนฯได้ไม่เกิน 15,000 บาท

2. เบี้ยประกันบำนาญ สามารถนำหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด15%ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเม็ดเงินที่ซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญ(กบข.) ด้วยกันแล้วจะต้องไม่เกินวงเงิน 500,000 บาท

ปัจจุบัน มีแบบ ประกันให้เลือกซื้อมากมายและหลากหลาย จนคนซื้อก็เลือกไม่ถูก ดังนั้น มาดูแนวทางการเลือกซื้อประกันกันบ้าง

1. สำรวจความต้องการและเป้าหมายของของตัวคุณเองว่า   อยากได้แบบประกันประเภทไหน

2. คุณต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายเบี้ย ซึ่งจะสัมพันธ์กับทุนประกัน และผลตอบแทนที่จะได้รับ

3. คุณได้มีการวางแผนทางการเงินสำหรับการจ่ายเบี้ยที่ดีหรือยัง

4. คุณสามารถปรึกษาตัวแทนประกันชีวิต นักวางแผนการเงินของบริษัทประกัน โบรกเกอร์ประกัน  ธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการเลือก.ท้อประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง ว่า จะเลือกซื้อประกันนั้นๆด้วยเหตุผลอะไร ตรงกับเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ รวมทั้งคุณต้องศึกษารายละเอียดของแต่ละแบบประกันที่ต้องการซื้อและเงื่อนไขต่างๆ ก่อนการตัดสินใจซื้อด้วย

ทั้ง 4 ปัจจัยนี้ จะช่วยให้คุณสามารถบริหารเงินและได้รับผลประโยชน์ที่คุ้มค่า

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : businesstoday.co

 1046
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี? เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยอยู่บ่อยๆ ถึงกับขั้นไปค้นหาใน Google กันจนฮิตติดกระแส แต่ความเป็นจริงแล้วมีหลักการคิดแบบนี้จ้า
1070 ผู้เข้าชม
โดยปกติการยื่นภาษีสามารถทำได้ทั้งที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งข้อดีของการยื่นภาษีออนไลน์คือ จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบฯและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน จนบางครั้งเราอาจชะล่าใจ ผลัดวันไปเพราะวันนี้ยังหาเอกสารไม่ครบ วันนี้ติดประชุม หรือสารพัดเหตุผล พอรู้ตัวอีกทีก็เลยกำหนดยื่นภาษีไปเสียแล้ว แล้วอย่างนี้ควรทำอย่างไรดี
95814 ผู้เข้าชม
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เงินเดือนที่มีรายจ่ายมากมายก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีกันได้ถ้าหากเราบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและเข้าใจก็จะทำให้ประหยัดไปหลายบาทเลยทีเดียว และที่สำคัญการวางแผนประกันลดหย่อนภาษีก็เป็นอีกเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนควรวางแผนให้ดีเช่นกัน
1593 ผู้เข้าชม
มีงานเขียนทำนอง White Paper ไม่ถึงกับเรียกว่าวิจัยทีเดียวนัก ชื่อว่า ระบบอัตโนมัติ : ผลกระทบต่อแรงงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต จัดทำโดย สถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล (บทความวิจัยฉบับเต็ม เผยแพร่ในงาน HR Day สามารถหาอ่านได้จากเว็บของสมาคมฯ หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่สมาคม)
1050 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์