เรื่องที่เข้าใจผิดในการใช้สิทธิ “ลดหย่อนภาษี”

เรื่องที่เข้าใจผิดในการใช้สิทธิ “ลดหย่อนภาษี”



หลังจากที่เราทราบกันแล้วนะครับว่า เรามีสิทธิประโยชน์ ในการลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง หากยังไม่ทราบอย่าลืม “เช็คสิทธิ ! ค่าลดหย่อนภาษีของคุณว่ามีอะไรบ้าง” กันด้วยนะครับ

บทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อยเกี่ยวกับการใช้สิทธิ “ลดหย่อนภาษี” กันครับ

หลายคนเข้าใจผิดว่าค่าลดหย่อนเมื่อจ่ายไปแล้วจะเสียภาษีน้อยลงตามจำนวนที่จ่ายไป

เช่น ใช้สิทธิลดหย่อน ฿1,000 แล้วจะได้เสียภาษีถูกลง ฿1,000 เลย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะจะเสียภาษีน้อยลงหรือได้เงินคืนภาษีเพิ่มมากขึ้นอยู่กับจำนวน เงินได้ และ อัตราภาษี ของแต่ละคนด้วย

หลายคนมักเข้าใจผิดว่าค่าลดหย่อนภาษี

คือ เงินคืนภาษีที่จะได้รับเลย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ค่าลดหย่อนภาษีจะช่วยประหยัดภาษีได้จริง แต่จะได้เงินคืนภาษีมากหรือน้อยเท่าไหร่นั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนรายได้และอัตราภาษีของแต่ละคนด้วย เช่น ถ้ามีเงินได้สุทธิเกิน 5 ล้านบาทต่อปี จะเสียภาษีในอัตรา 35% แสดงว่าถ้าได้รับค่าลดหย่อน ฿1,000 จะประหยัดภาษีเพิ่มได้ ฿350 แต่ถ้ามีเงินได้สุทธิไม่เกิน ฿150,000 จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี แบบนี้ต่อให้ได้รับค่าลดหย่อน ฿1,000 ก็ไม่ช่วยให้ประหยัดภาษีเพิ่มแต่อย่างใด เพราะไม่ได้เสียภาษีแต่แรกอยู่แล้ว

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า สิทธิประโยชน์ภาษีจำนวน

฿190,000 ของผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไปหรือผู้พิการนั้นเป็น "ค่าลดหย่อน" แต่ความจริงแล้วกฎหมายระบุ ว่าสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเป็นการยกเว้นรายได้ให้ผู้มีเงินได้อายุ 65 ปีหรือผู้พิการสำหรับรายได้ ฿190,000 แรก ดังนั้น สิทธิประโยชน์นี้จึงควรเรียกว่า "เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี" มากกว่า

หลายคนสับสนระหว่างคำว่า ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ว่าเป็นคำเดียวกัน

แต่ความจริงแล้วสองคำนี้มีความหมายต่างกัน กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายคือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายมอบให้โดยขึ้นอยู่กับประเภทของ เงินได้ ที่คุณได้รับ เช่น มีรายได้จากงานประจำจะหักค่าใช้จ่ายได้แบบนึง แต่ถ้ามีรายได้จากดอกเบี้ยจะหักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลย ในขณะที่ ค่าลดหย่อน คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายมอบให้ โดยขึ้นอยู่กับสถานภาพและภาระของตัวผู้เสียภาษีคนนั้นๆ เช่น มีภาระดูแลพ่อแม่ มีภาระจ่ายดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัยหรือจ่ายเบี้ยประกันชีวิต เป็นต้น
 
      แต่อย่าลืมครับ สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาในการวางแผนประชากรและจัดเก็บภาษีสำหรับอนาคตก็คือ การพัฒนาการวางแผนการเงินอย่างบูรณาการและยั่งยืนของประชาชนในประเทศ ซึ่งภาครัฐสามารถเตรียมความพร้อมของคนที่กำลังจะเกษียณ ให้รู้จักการออมสำหรับยามเกษียณได้ วิธีการนี้จึงน่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ดีที่สุด
      หากภาครัฐทำให้ประชาชนมีแรงจูงใจในการออมเงินกันมากขึ้น แค่เพียงประชาชนมีการวางแผนทางการเงินที่ดีพอ ไม่ต้องรอพึ่งพิงสวัสดิการจากรัฐเมื่อยามเกษียณ เพราะอนาคตมันไม่แน่นอน จริงไหมครับ? สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ การลดหย่อนภาษีอื่นๆได้ที่นี้

ที่มา : actuarialbiz.com
 810
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

จากสถิติประชากรศาสตร์ของประเทศนั้น จะเห็นว่า อีก 15 ปีข้างหน้า คนไทยอายุเกิน 60 ปี จะมีมากถึง 1 ใน 4 ของประเทศ ทำให้มีการผลักดันการแก้กฎหมาย โดยมีการเพิ่มมาตรา 118/1 ให้ถือว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรค 2 เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และกำหนดอายุของการเกษียณอายุไว้ที่ 60 ปีบริบูรณ์
2501 ผู้เข้าชม
โอกาสทองของคนอยากมีบ้าน-คอนโดเป็นของตัวเอง เพราะปี 2562 นี้ผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรกในราคาที่ไม่เกิน 5,000,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาท จากมติเห็นชอบมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 ของรัฐบาล หนึ่งในมาตรการที่ได้รับความสนใจและถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่อยากเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย คือ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
1061 ผู้เข้าชม
คนที่เพิ่งทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือทำงานประจำควบคู่กับการขายของออนไลน์มักเจอปัญหาเรื่องการเสียภาษี ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาษีอะไรบ้างที่ต้องจ่าย และมีเอกสารอะไรที่ต้องเก็บบ้าง
3273 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์