Call Us :
081-359-6920
,
02-402-6117
Menu
Home
Products
HRMI - โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
ESS - ระบบจัดการข้อมูลพนักงานออนไลน์
HCM - ระบบประเมินผลพนักงาน
HRCloud - โปรแกรมบริหารงานบุคคลบน Cloud
Pricing & Services
ราคาแพ็กเกจ
บริการเสริม
Promotion
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายการรักษาข้อมูล
วิธีการชำระเงิน
News
News
E-Newsletter
HR Articles
Our Customers
Help
บริการหลังการขาย
คำถามที่พบบ่อย FAQs
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
คู่มือการใช้งาน
What's New
Contact Us
Contact Us
About Us
ทดลองใช้งานฟรี
Call Us :
02-402-6560
,
081-359-7687
หน้าแรก
HR Articles (hide)
จ้างผู้สูงอายุทำงาน ทางเลือกประหยัดภาษี
จ้างผู้สูงอายุทำงาน ทางเลือกประหยัดภาษี
ย้อนกลับ
หน้าแรก
HR Articles (hide)
จ้างผู้สูงอายุทำงาน ทางเลือกประหยัดภาษี
จ้างผู้สูงอายุทำงาน ทางเลือกประหยัดภาษี
ย้อนกลับ
จากกระทรวงแรงงานะระบุว่า ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 12 ล้านคน พร้อมกันนี้กระทรวงแรงงานโดยคณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมสำหรับ การจ้างงานผู้สูงอายุ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว กำหนดให้รูปแบบการทำงานของผู้สูงอายุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย อัตราเดียวค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 45 บาทต่อชั่วโมง และกำหนดระยะเวลาทำงานที่เหมาะสมสำหรับลูกจ้างผู้สูงอายุ โดยไม่ควรเกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 6 วันต่อสัปดาห์
รวมทั้งการจูงใจให้ภาคเอกชนจ้างแรงงานผู้สูงอายุเข้าทำงานมากขึ้น รัฐบาลได้ออกมาตรการจูงใจ โดยการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 639)พ.ศ.2560 ให้บริษัทที่มี การจ้างงานผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปเข้าทำงาน ให้สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ถึง 100% ของเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างสูงอายุตามที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2560 ดังนั้น ผู้สูงอายุที่บริษัทจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามกฎหมายได้จึงต้องเกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498
การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานผู้สูงอายุเป็นมาตรการถาวร หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดก็สามารถใช้สิทธิในการหักรายจ่ายได้ถึง 2 เท่าของจำนวนที่ได้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุไปจริง แต่ไม่เกินจำนวน 15,000 บาท
ดังนั้นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก็จะมีสิทธิหักรายจ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้สูงสุดถึง 30,000 บาท สิทธิประโยชน์ทางภาษีดี ๆ ที่กรมสรรพากรมอบให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายนี้ นอกจากจะช่วยประหยัดภาษีให้แก่ผู้ประกอบการแล้ว ยังเป็นการสร้างงานให้แก่ผู้สูงอายุที่มากความสามารถและยังคงมีกำลังกายที่สามารถทำงานให้แก่ผู้ประกอบการ และที่สำคัญเป็นการช่วยลดงบประมาณภาครัฐด้านสวัสดิการชราภาพในระยะยาวได้อีกด้วย
คุณสมบัติของผู้สูงอายุที่ธุรกิจสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ในการจ้างผู้สูงอายุเข้าทำงานในสถานประกอบการของตน ผู้สูงอายุต้องมีลักษณะสรุปดังนี้
ต้องมีอายุ 60 ปี ขึ้นไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์
ต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น
ผู้สูงอายุที่จะเข้าทำงานจะเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างอยู่ก่อนแล้ว เช่น เกษียณอายุงานและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจ้างให้ทำงานต่อ เป็นต้น หรือเป็นผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนหางานไว้กับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ก็ได้
ผู้สูงอายุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรับเข้าทำงาน ต้องไม่เป็นและไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างผู้สูงอายุดังกล่าว หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน กรณีดังกล่าว กฎหมายมีเจตนาให้เจ้าของกิจการจ้างบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการหรือผู้ถือหุ้นของตนเองเข้าทำงาน เพื่อประโยชน์ในการสร้างแรงงานและป้องกันการวางแผนภาษีอากรอีกประการหนึ่งด้วย
สำหรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่นิติบุคคลที่ประสงค์สิทธิประโยชน์ทางภาษีต้องปฏิบัติตาม
1.
ลูกจ้างผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตรงตามระบุ และต้องทำงานเต็มเดือน โดยต้องเป็นการจ้างอันเนื่องมาจากการจ้างแรงงานซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
2.
จำนวนการจ้างงานผู้สูงอายุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ต้องไม่มีจำนวนไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดที่ทำงานเต็มเดือนในประเทศไทยในแต่ละเดือนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น โดยให้คำนวณหาจำนวนลูกจ้างผู้สูงอายุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นรายเดือน (คำนวณจากลูกจ้างเต็มเดือนที่มีอยู่โดยไม่จำกัดสัญชาติ และเมื่อคำนวณแล้วมีเศษ เศษของผลลัพธ์ตั้งแต่ 0.5 ให้ปัดเศษขึ้นเป็นจำนวนเต็ม)
3.
ค่าตอบแทนในการจ้างผู้สูงอายุต้องมีจำนวนไม่เกิน 15,000 บาท/คน/เดือน กรณีที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างผู้สูงอายุรายใด ในเดือนใด เกินจำนวน 15,000 บาท เช่น 18,000 บาท/เดือน เป็นต้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างผู้สูงอายุนั้นเข้าทำงาน ไม่สามารถใช้สิทธิหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่ยังถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้จ่ายค่าจ้างให้ผู้สูงอายุเพื่อประโยชน์ในการหารายได้หรือใช้ในการประกอบธุรกิจของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยตรง จึงมีสิทธินำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ปกติ (1 เท่า) ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
4
. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างผู้สูงอายุเข้าทำงาน มีสิทธิหักรายจ่ายได้จำนวนร้อยละหนึ่งร้อย หรือ 2 เท่า ของ รายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุ คำว่า “รายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุ” หมายถึง รายจ่ายทุกประเภทที่ได้จ่ายเพื่อการจ้างผู้สูงอายุซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะเป็น เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์ที่คำนวณได้เป็นเงิน ภาษีอากรที่ผู้จ่ายออกแทนให้ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เงินที่จ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดขึ้นโดยเฉพาะ เช่น เงินที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
5.
กรณีผู้สูงอายุทำงานในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหลายแห่งในเวลาเดียวกัน ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับผู้สูงอายุเข้าทำงานก่อนเป็นผู้ได้รับสิทธิหักรายจ่ายได้ 2 เท่า
6.
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวต้องจัดทำรายงานและแจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุดังนี้
-
จัดทำรายงานเกี่ยวกับการจ้างผู้สูงอายุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะนำมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับ 290)ฯ และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการ พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
- แจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะนำมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร โดยต้องแจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุอย่างน้อยตามที่กำหนดในเว็บไซต์ดังกล่าว
-
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 มีนาคม 2560 ต้องแจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุดังกล่าวภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2560
ผู้สูงอายุที่สนใจสามารถสมัครงานผ่าน 5 ช่องทางคือ
1.
ศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย (Smart Job Center) สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด
2.
ไปสมัครที่สถานประกอบการ ด้วยตนเอง
3.
เว็บไซต์
Smartjob.doe.go.th
4.
ตู้งาน (Job Box)
5.
สายด่วน 1506
ที่ผ่านมามีบริษัทเอกชนในประเทศไทยหลายรายมีการเปิดรับผู้สูงอายุเข้าทำงาน ซึ่งจะด้วยเหตุผลทางด้านภาษีหรืออะไรก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การจ้างผู้สูงอายุเข้าสู่ตลาดแรงงาน อีกครั้งเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนที่ช่วงให้สวัสดิภาพผู้สูงอายุในประเทศไทยดีขึ้นและถ้าทุกหน่วยงานช่วยเหลือกัน สังคมผู้สูงอายุในไทยก็ไม่ได้น่ากังวลอย่างที่คิด
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้
ที่นี้
ที่มา :
www.bangkokbanksme.com
10489
ผู้เข้าชม
HR Articles
Company Outings : เสียเวลา เปลืองงบ หรือ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าขององค์กร
Company Outings : เสียเวลา เปลืองงบ หรือ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าขององค์กร
ไม่มีการนิยามความหมายภาษาไทยชัดเจนสำหรับคำว่า Company Outings แต่มนุษย์ออฟฟิศส่วนใหญ่เข้าใจความหมายและชื่นชอบคำนี้กันเป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า Outings (เอาท์ติ้ง) ซึ่งนี่ก็คือกิจกรรมที่ออกไปทำอะไรร่วมกันประจำปีของบริษัทนั่นเอง
3462 ผู้เข้าชม
ศัพท์อาชีพ ที่คนทำงานสาย HR ไม่รู้ไม่ได้
ศัพท์อาชีพ ที่คนทำงานสาย HR ไม่รู้ไม่ได้
รวบรวมคำศัพท์สายอาชีพ และตำแหน่งงานในแต่ละสายอาชีพทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ได้แก่ งานบัญชี งานธุรการ งานเลขานุการ งานเกษตรกรรม งานประมง งานเหมืองแร่ งานสายการบิน งานการเงิน งานธนาคาร งานก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานที่ปรึกษา งานนักวิเคราะห์ งานบริการลูกค้า งานวิศวกร เป็นต้น
2867 ผู้เข้าชม
จับผิด!!! การลา การขาดงานของพนักงาน
จับผิด!!! การลา การขาดงานของพนักงาน
อาการแบบนี้เกิดขึ้นกับพนักงานของท่านหรือเปล่า - อาการป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ - อาการป่วยการเมือง - อาการป่วยจริง - ลางานเป็นประจำ หรือ ขาดงานอยู่บ่อยๆ จนหัวหน้าต้องตาม จะทำอย่างไร? เมื่อพนักงานของท่านขาดงาน
16105 ผู้เข้าชม
กว่าจะได้เป็น HR ระดับสูง
กว่าจะได้เป็น HR ระดับสูง
ความก้าวหน้าในอาชีพของ HR นั้น นอกจากในเรื่องค่าตอบแทนที่สูงขึ้นแล้ว การก้าวสู่ตำแหน่งบริหารก็เป็นสิ่งที่ HR ปรารถนา แต่การจะได้เป็นผู้บริหารด้าน HR นั้นไม่ง่าย เพราะคนที่จะทำงานในระดับนี้ องค์กรต้องคัดเฟ้นเฉพาะคนดีมีฝีมือจริง ๆ เท่านั้นจึงจะเป็นที่ยอมรับ สำหรับ HR ผู้ที่ใฝ่ฝันจะก้าวสู่งานด้านบริหารต้องมีความสามารถอย่างไรบ้าง
1732 ผู้เข้าชม
Get started for free today.
DEMO FREE 60 DAYS
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com