บริหารแผนงาน ภาวะวิกฤติ

บริหารแผนงาน ภาวะวิกฤติ

โลกธุรกิจหนีไม่พ้น "ความเสี่ยง" ไม่มากก็น้อย ยิ่งยุคปัจจุบันยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นมาก เพราะการแข่งขันเข้มข้นมากขึ้นตั้งแต่ธุรกิจไร้พรมแดน ความสำเร็จแต่ละชิ้นนับวันแต่จะทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามเราในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ก็ต้องพยายามฟันฝ่าอุปสรรคของความลำบากนั้นไปบรรลุจุดหมายให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้

ซึ่งต้องทำความเข้าใจที่สภาวะใดเรียกว่า การบริหารแผนงานในภาวะวิกฤติ

1. แผนงานดำเนินไปตามระยะเวลาที่กำหนด แต่งบประมาณที่ขออนุมัติไว้ มีแนวโน้มไม่พอใช้จ่ายจนเสร็จแผนงาน อาจเป็นไปได้ว่าคาดการณ์งบประมาณไว้ผิดพลาด หรืออาจไม่มีวินัยในการใช้งบประมาณ

วิกฤติ ก็คือ มีแนวโน้มแผนงานจะไม่เสร็จตามแผน เพราะงบประมาณไม่พอใช้จ่าย

2. แผนงานดำเนินไปล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด แต่ งบประมาณใช้จ่ายต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า เพราะแผนงานดำเนินล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด งบประมาณจึงถูกเบิกไปใช้ล่าช้าไปด้วย หรืออาจเป็นไปได้ว่าตั้งงบประมาณไว้สูงเกินความต้องการของแผนงาน

วิกฤติ ก็คือ หากเป็นประเด็นตั้งงบประมาณไว้สูงเกินความต้องการของแผนงาน ก็จะทำให้การพิจารณางบประมาณครั้งต่อไป มีความเจือปนในเรื่องอคติในการตัดสินใจ เช่น เสนองบประมาณเผื่อตัด หรือลักไก่ของบเกินความต้องการ

3. แผนงานดำเนินไปล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด แต่งบประมาณใช้จ่ายสอดคล้องกับแผนงาน

วิกฤติ ก็คือ แผนงานไม่เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

4. แผนงานดำเนินไปล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด และงบประมาณใช้จ่ายสูงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นไปได้ว่า คาดการณ์งบประมาณผิดพลาด หรืออาจไม่มีวินัยในการใช้งบประมาณ

วิกฤติ ก็คือ มีแนวโน้มแผนงานจะไม่เสร็จตามแผน เพราะงบประมาณไม่พอใช้จ่าย

ในทางกลับกันยังมีอีก 3 รูปแบบของการบริหารแผนงานที่มิได้กล่าวถึง ก็คือ การบริหารแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ได้แก่

1. แผนงานดำเนินไปตามระยะเวลาที่กำหนด และใช้งบประมาณสอดคล้องกับความคืบหน้าของแผนงาน

2. แผนงานดำเนินไปตามระยะเวลาที่กำหนด แต่ใช้งบประมาณต่ำกว่าความคืบหน้าของแผนงาน ในที่นี้สาเหตุเป็นเพราะการบริหารงบประมาณแบบมีประสิทธิภาพ

3 .แผนงานดำเนินไปได้เร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนด และใช้งบประมาณต่ำกว่า ความคืบหน้าของแผนงาน ในที่นี้สาเหตุเป็นเพราะ การบริหารแผนงาน และงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ในลำดับต่อไปนี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึง วิธีการอย่างไรที่จะแก้ปัญหา การบริหารแผนงานในภาวะวิกฤติ ซึ่งมีด้วยกัน 5 วิธีการ คือ

1. กรณีแผนงานดำเนินไปอย่างล่าช้ากว่าระยะเวลา และงบประมาณไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายเพื่อให้แผนงานดำเนินไปจนเสร็จสมบูรณ์ มีวิธีแก้วิกฤติได้ ดังนี้ ผู้รับผิดชอบงาน ก็ยังคงดำเนินการตามแผนงานเดิม และงบประมาณเดิมที่ตั้งไว้ อาจทำได้โดย การลดขอบเขตของงานให้เล็กลง เช่น แทนที่จะดำเนินการในขอบเขตของประชากรที่มีอยู่ ก็อาจจะลดขอบเขตดำเนินการเพียงกลุ่มตัวอย่าง หรือที่เรียกว่า โครงการนำร่อง ซึ่งเป็นการลดขอบเขตให้สอดคล้องกับงบประมาณที่เหลืออยู่ ความสำเร็จยังคงพอมีให้เห็นเมื่อการประเมินมาถึง

2. ผู้รับผิดชอบงาน ยังคงดำเนินการตามแผนงานเดิม โดยของบประมาณเพิ่มเติม ซึ่งมีความเป็นไปได้หากมีเหตุอันสุดวิสัย เช่น ผู้มีอำนาจขยายขอบเขตของแผนงาน หรือ อัตราแลกเปลี่ยนด้านการเงิน เกิดความผันผวน ทำให้ลดค่าเงินปัจจุบัน

3. ผู้รับผิดชอบงาน ยังคงดำเนินการตามแผนงานเดิม โดยขอโอนงบประมาณจากส่วนแผนงานอื่นที่มีงบประมาณเหลือใช้เมื่อแผนงานบรรลุ สมบูรณ์ ในประเด็นนี้ ก็น่าจะมีความเป็นไปได้ เพราะกระทำไปโดยมิได้เพิ่มงบประมาณโดยรวม

4. ผู้รับผิดชอบงาน ตัดแผนงาน ณ ปัจจุบันออก และโอนงบประมาณให้แผนงานอื่นที่มีศักยภาพที่จะดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ได้ แต่ขาดงบประมาณดำเนินการเพื่อให้แผนงานดำเนินจนเสร็จสมบูรณ์

5. ผู้รับผิดชอบงาน ตัดแผนงาน ณ ปัจจุบันออก และให้รักษางบประมาณที่ได้อนุมัติไว้ เพื่อผู้รับผิดชอบอาจหาแผนงานอื่นมาทดแทนแผนงานเดิมที่ไม่สามารถดำเนินการ ต่อไปได้

ผู้เขียน เชื่อเป็นอย่างว่า ปัญหาทุกปัญหา มักมีทางออกอยู่เสมอ อาจไม่สามารถแก้วิกฤติได้อย่างสมบูรณ์ 100% แต่ก็น่าจะอยู่ในวิสัยที่เจ้าของเงินยอมรับได้ในระดับหนึ่งครับ คงไม่มีใครอยากเห็นแผนงาน ที่ต้องเผชิญกับวิกฤติโดยไม่จำเป็น

อย่างไรก็ตามดีที่สุด มุ่งบริหารแผนให้เป็นไปตามระยะเวลา และ บริหารงบประมาณให้สอดคล้องกับความคืบหน้าของแผนงาน "อย่าลืมนะครับว่า ยังมีอีกหลายโครงการที่ไม่ต้องอาศัยงบประมาณ ก็สามารถดำเนินการได้ หรืออาจใช้งบประมาณจากแหล่งอื่น พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ"

 1452
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management หรือ HRM) คืออะไร มีลักษณะ และขอบเขตของการทำงานอย่างไรบ้าง
48919 ผู้เข้าชม
ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่อง คุณสมบัติของผู้นำ มองย้อนยุคกลับไปสู่อดีต สิ่งแรกซึ่งเป็นสัจธรรมของชีวิตและสังคมที่ใคร่ขอนำมาย้ำความสำคัญไว้ ณ โอกาสนี้คือ หากไม่มีวันนั้นย่อมไม่มีวันนี้ การที่ชี้ให้หวนกลับไปมองสู่อดีต เพื่อประโยชน์ของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งพึงได้รับอย่างลึกซึ้ง น่าจะได้แก่ ผลจากการคิดได้ถึงสิ่งอันเป็นที่มา ย่อมทำให้เกิดการเจริญสติภายในรากฐานของแต่ละคน เพื่อให้ชีวิตอนาคตรู้ความจริงและใช้ เป็นพื้นฐานในการก้าวต่อไปได้มั่นคงยิ่งขึ้น ผู้ใหญ่ในอดีตเคยยืนยันสัจธรรมของการดำเนินชีวิต ฝากไว้ให้ลูกหลานรับไปพิจารณาว่า จะทำอะไรอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ ขอให้ทำหน้าที่ ณ จุดนั้นอย่างดีที่สุด อย่าได้ คิดโลภโมโทสัน ทำให้เกิดความทุกข์แก่ตนเอง และสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่อยู่ ร่วมกันในสังคม
1900 ผู้เข้าชม
1.ไม่เป็นไร ผิดพลาดกันได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทำงานผิดพลาดแล้วยังจะมานั่งโทษตัวเองให้เหนื่อยทำไม ให้กำลังใจตัวเองเพื่อทำงานชิ้นต่อไปดีกว่า ยิ่งเรามัวจมกับความผิดพลาดเดิม ๆ เราก็จะทำงานอื่นต่อไม่ได้ สู้เอาความผิดพลาดมาทำให้ถูกต้องในงานชิ้นใหม่ดีกว่า สัจธรรมของชีวิตที่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีใครจำเรื่องของคนอื่นนานหรอก ถึงใครจะว่าเรามากมายแค่ไหน แต่พอเดินพ้นหน้าเราไปเขาก็ต้องคิดเรื่องอื่นแทน แล้วเราจะมาลงโทษตัวเองอยู่ทำไม 2.งานไม่ได้หนักทุกวันสักหน่อย เดี๋ยวก็ได้พักแล้ว เวลางานล้นมือเราอาจท้อ แต่ท้อไปงานก็ไม่เสร็จ ลุกมาทุ่มเททำให้เสร็จ ๆ ไปดีกว่า เหนื่อยแค่ไหนเดี๋ยวก็ได้พัก และสิ่งที่เราต้องทำเมื่องานเยอะ คือจัดระเบียบเส้นตายของงานแต่ละชิ้น เจรจาต่อรองถ้าคิดว่าจะไม่เสร็จตรงเวลา แล้วก็ค่อย ๆ ทำไปทีละงาน เดี๋ยวดีเอง 3.ถึงจะไม่เก่งงานนี้ แต่เราก็พยายามเต็มที่แล้ว บ่อยครั้งที่เราได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด ก็คิดเสียว่าไม่เป็นไร ทำให้เต็มที่ แต่ก่อนทำก็บอกคนที่มอบหมายหน่อยว่าไม่ค่อยถนัดนะ แต่จะทำเต็มที่ ผิดพลาดอะไรก็บอกได้ เขาจะได้ไม่คาดหวังมาก แต่ถ้าทำออกมาแล้วดีก็ถือเป็นกำไร อย่าเสียใจที่ทำงานบางประเภทไม่เก่ง เพราะเราก็อาจจะเก่งในงานประเภทอื่นก็ได้ จำไว้ว่าปลาอาจจะว่ายน้ำเก่งกว่าลูกสุนัข แต่ปลาก็วิ่งไม่ได้เหมือนกัน ถ้าปลาตัวหน่งจะโดดขึ้นมาบนบกแล้วคืบคลานจนถลอกปอกเปิกก็คงไม่มีใครว่าอะไร เพราะมันเป็นปลาจริงไหม
1150 ผู้เข้าชม
กระแส แนวคิดและการปฎิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ (Corporate Social Responsibility) หรือ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อน ที่หลายองค์การให้ความสำคัญ และทำให้บทบาทของนักบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) เริ่มมีความเด่นชัดมากขึ้น ในการทำหน้าที่หุ้นส่วนกลยุทธ์ (Strategic Partner) ทั้งนี้เนื่องจาก CSR ช่วยตอกย้ำและเพิ่มพูนบทบาทหน้าที่และความเชี่ยวชาญของ HR ที่มีเป็นทุนเดิมมาก่อน
28428 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์