ค่าชดเชยการเลิกจ้างจากการเกษียณ

ค่าชดเชยการเลิกจ้างจากการเกษียณ

จากสถิติประชากรศาสตร์ของประเทศนั้น จะเห็นว่า อีก 15 ปีข้างหน้า คนไทยอายุเกิน 60 ปี จะมีมากถึง 1 ใน 4 ของประเทศ ทำให้มีการผลักดันการแก้กฎหมาย โดยมีการเพิ่มมาตรา 118/1 ให้ถือว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรค เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และกำหนดอายุของการเกษียณอายุไว้ที่ 60 ปีบริบูรณ์

ทั้งนี้ หากไม่มีการระบุอายุเกษียณไว้ในสัญญาการจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ให้ใช้เกณฑ์อายุครบเกษียณที่ 60 ปี จะได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างงานทันที หลังจากนั้นอาจทำสัญญาฉบับใหม่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่แตกต่างจากเดิมก็ได้ ถือเป็นการปฏิรูปครั้งสำคัญในกฎหมายคุ้มครองแรงงานรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งแต่ละปีจะมีลูกจ้างที่ครบกำหนดเกษียณอายุประมาณ 300,000-400,000 ราย

หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทั้งทางแพ่งและอาญา โดยทางแพ่งโทษปรับสูงสุดตามค่าชดเชยที่ค้างรวมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี หรือคิดเงินเพิ่มร้อยละ 15 ตามยอดเงินผิดนัดชำระ 7 วัน สำหรับโทษทางอาญาจำคุกสูงสุด 6 เดือน หรือทั้งจำและปรับ ไม่เกิน 100,000 บาท

กฎหมายฉบับใหม่นี้จึงเป็นประโยชน์กับลูกจ้าง โดยเฉพาะกับสถานประกอบการขนาดเล็กที่ไม่ได้ระบุอายุเกษียณไว้ในสัญญาจ้างงาน ซึ่งกฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดให้การเกษียณอายุงานต้องจ่ายเงินชดเชย แต่กฎหมายฉบับใหม่นี้หากเกษียณอายุก็บังคับว่าต้องจ่ายเงินชดเชยด้วย ซึ่งน่าจะมีเกือบ 100,000 บริษัท ที่มีลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกว่า 650,000 คน ในสถานประกอบการขนาดเล็ก


สำหรับมุมมองของนายจ้างนั้น ก็คงจะต้องมีการเตรียมตัวจ่าย ผลประโยชน์พนักงาน เหล่านี้ในอนาคต ซึ่งคาดการณ์ได้ยากว่าบริษัทควรตั้งสำรองในเวลานี้เป็นจำนวนเท่าไร อาจจะต้องอาศัยการคาดเดาในอนาคตว่าลูกจ้างแต่ละคนนั้นจะมีเงินเดือนเท่าไรในตอนที่แต่ละคนจะเกษียณ และจะมีโอกาสทำงานอยู่กับบริษัทจนถึงเกษียณเป็นจำนวนเท่าไร รวมถึงหลักการในการตั้งเป็นเงินสำรองด้วย ซึ่งหลักการเหล่านี้จะเป็นหลักการคนละแบบกับการตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

การคำนวณเงินสำรองสำหรับค่าชดเชยจากการเกษียณ (ซึ่งเท่ากับเลิกจ้าง) เป็นการการันตีผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับตอนที่ทำงานจนถึงอายุเกษียณ ซึ่งหลักการตั้งเงินสำรองจะเหมือนกับหลักการเดียวกับแบบประกันชีวิต ที่การันตีผลประโยชน์ให้ในอนาคตที่ระบุไว้ ซึ่งหลักการที่ว่านี้จะอาศัยหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย ในการคำนวณ เพื่อตั้งสำรองให้เหมาะสมและไม่มากหรือน้อยจนเกินไป


ดังนั้น ในทางบัญชีแล้ว นายจ้างก็ควรจะรับรู้ ผลประโยชน์พนักงาน เหล่านี้เป็นหนี้สิน และตั้งเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีไว้ด้วย นึกเสียว่าบริษัทกำลังจ่ายเบี้ยประกันให้กับตัวบริษัทเอง เพื่อเก็บเงินก้อนนี้ไว้จ่ายลูกจ้างในยามที่เขาเกษียณไป

สรุปคือ ตอนนี้ กฎหมายได้กำหนดว่า “การเกษียณ” เท่ากับเลิกจ้าง ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชย พร้อมกำหนดอายุเกษียณเป็น 60 ปี ซึ่งก็อย่าได้ชะล่าใจ ตอนนี้ต้องเตรียมตัว คำนวณผลประโยชน์พนักงาน เหล่านี้ ให้ตั้งเงินสำรองรับรู้เป็นภาระหนี้สินของบริษัท และทยอยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีเอาไว้

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : actuarialbiz.com

 2487
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ปกติแล้วเรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า Customer Experience หรือ ประสบการณ์ของลูกค้า ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของธุรกิจที่จะต้องทำให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ดีและน่าประทับใจกับผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ
2486 ผู้เข้าชม
แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relation) เป็นความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้อง หรือการปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายนายจ้าง หรือฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายจัดการฝ่ายหนึ่ง กับฝ่ายลูกจ้าง หรือฝ่ายพนักงาน หรือฝ่ายผู้ปฏิบัติงานอีกฝ่ายหนึ่ง
22525 ผู้เข้าชม
กองทุน SSF (Super Savings Fund) รูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งนอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังช่วยให้คนออมระยะยาวขึ้น ใครอยากทราบว่า SSF มีเงื่อนไขต่างจากกองทุน LTF อย่างไร ลองมาทำความเข้าใจกัน
3333 ผู้เข้าชม
การที่จะรักษาพนักงานให้คงอยู่ได้นั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะกับคนที่มีความสามารถทั้งหลายที่องค์กรจะมีวิธีมัดใจอย่างไรให้เขาเหล่านั้นอยากทำงานกับองค์กร และเกิดความจงรักภักดีในที่สุด และนี่คือเคล็ดลับที่อาจใช้มัดใจคนที่มีพรสวรรค์ (Talent) เหล่านั้นได้อยู่หมัด
1391 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์