ใกล้สิ้นปี “วางแผนภาษี” กันแล้วหรือยัง ?

ใกล้สิ้นปี “วางแผนภาษี” กันแล้วหรือยัง ?



การวางแผนภาษีเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงปลายปีแบบนี้ ซึ่งเราทุกๆคนมีหน้าที่จะต้องจ่ายภาษีในช่วงต้นปีถัดไป ก่อนถึงกำหนดจ่ายภาษีบอกไว้ก่อนว่า การวางแผนภาษีไม่ใช่การหนีภาษีนะ แต่ถือเป็นกระบวนการที่ถูกต้องตามหลักสิทธิประโยชน์ทางภาษีทางกฎหมายที่ระบุไว้อยู่แล้ว เพื่อที่จะช่วยให้เราจ่ายภาษีให้น้อยที่สุด !

ก่อนอื่นเราต้องประเมินรายได้รวมทั้งปีทั้งหมดออกมาก่อน หรือภาษาทางการที่เรียกว่า เงินได้พึงประเมิน แล้วนำมาหักลดค่าลดหย่อนต่างๆจนเหลือเป็น เงินได้สุทธิ มาคำนวณภาษีนั่นเอง

มีวิธี “วางแผนภาษี” กันอย่างไรบ้าง ให้เสียภาษีน้อยลง ?

ช่วงสิ้นปีแบบนี้สิ่งที่จะสามารถจัดการเพิ่มเติมได้ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง การลดหย่อนภาษี มีอยู่มากมายหลายวิธี และก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐในปีนั้นๆด้วย สำหรับบทความนี้พี่ทุยจะขอเล่าวิธีที่เป็นหลักการที่ทุกคนสามารถนำไปใช้กันได้แบบง่ายๆ

เริ่มต้นจาก เราต้องเลือกประเภทของเงินได้ให้ถูกต้องตามแหล่งรายได้นั้นให้ถูกต้อง เนื่องจากเงินได้แต่ละแหล่ง ต่างก็มีค่าลดหย่อนภาษีที่มากน้อยแตกต่างกันไป  เช่น เงินได้จากการจ้างงาน หรือเงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เงินได้จากค่าลิขสิทธิ์สิทธิบัตร หรือเงินได้จากอาชีพอิสระ และอื่นๆ เป็นต้น

ขั้นตอนต่อมา เป็นเรื่องของสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษี ช่วงสิ้นปีแบบนี้จะให้มีลูกเพิ่ม มีครอบครัวคงจะยาก สิทธิลดหย่อนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น 5 ตัวหลัก ๆ ที่เราสมารถบริหารจัดการเพิ่มได้

1. เบี้ยประกันชีวิต 

ที่เป็นความคุ้มครองแบบระยะยาวที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป แต่จำนวนไม่เกิน 100,000บาท หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต จะหักลดหย่อนได้เฉพาะเบี้ยประกันชีวิตเท่านั้นนะ


2. เบี้ยประกันสุขภาพ 

ที่เป็นฉบับของเราเอง ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดจำนวนไม่เกิน 15,000 บาท หรือเมื่อรวมกับข้อแรกแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท และเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท


3. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 

สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยที่สามารถใช้สิทธิได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บออมเงินในระยะยาว
ถ้าหากใครต้องการลงรายละเอียดเชิงลึก แนะนำว่าให้ลองสอบถามตัวแทนประกันแต่ละที่เปรียบเทียบกันดูก่อนได้ เนื่องจากนโยบายจะมีกฎระเบียบในการใช้สิทธิที่กำหนดไว้ตามระเบียบ


4. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) 

หักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งเป็นหน่วยลงทุนยอดนิยมของมนุษย์เงินเดือนหรือผู้ที่มีรายได้สูง ถือเป็นรูปแบบของการลงทุนในระยะกลาง-ยาว ที่ผู้ซื้อ LTF จะต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 7 ปีปฎิทิน (หรือ 5 ปี 2 วัน ในกรณีที่ซื้อสิ้นปีแรก แล้วไปขายต้นปีสุดท้าย)


5. กองทุนรวมหุ้นเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 

หักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เป็นกองทุนระยะยาวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณ ถือเป็นอีกหน่วยลงทุนที่ได้รับความนิยมสูงจากนักลงทุน เงื่อนไขเบื้องต้น ต้องถือหน่วยลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และเมื่ออายุครบ 55 ปี จึงสามารถขายได้ โดยมุ่งเน้นการลงทุนระยะยาวจริงๆ เหนื่อยตอนนี้ สบายตอนแก่ แถมยังมีสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆอีกด้วย


ดังนั้นแล้ว เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ขอยกตัวอย่างวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หนุ่มน้อยหน้ามนต์ มนุษย์เงินเดือนทำงานมาไม่นาน มีเงินอยู่ที่ 30,000 บาท รวมรายได้ของเงินเดือน 360,000 บาท


กำลังจะสิ้นปีคาดว่าจะได้โบนัสอีก 100,000 บาท


หนุ่มคนนี้จะมีรายได้รวมทั้งปี 460,000 บาท หักค่าใช้จ่ายต่างๆ หักเงินได้ที่ได้รับยกเว้น และค่าใช้จ่ายตามประเภทของเงินได้ (แบบเหมาจ่าย) 100,000 บาท

ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนดูแลพ่อแม่รวม 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนจากประกันสังคม 9,000 บาท


รวมค่าลดหย่อนเท่ากับ 129,000 บาท

ดังนั้น ยอดเงินได้สุทธิ เท่ากัน 460,000 – 229,000 = 231,000 บาท


ตามโครงสร้างภาษี ปี 62

เงินได้สุทธิอยู่ที่
150,000 บาทแรก ไม่เสียภาษี
150,001-300,000 บาท เสียภาษีอยู่ที่ 5%
300,001-500,000 บาท เสียภาษีที่ 10%
และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากเงินได้สุทธิของหนุ่มน้อยคนนี้อยู่ที่ 150,001 – 231,000 บาท เท่ากับ 81,000 บาท แสดงว่าเสียภาษีเท่ากับ 81,000 x 5% หนุ่มน้อยคนนี้ต้องเสียภาษีเป็นจำนวน 4,050 บาท ถ้าหนุ่มคนนี้ไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์อื่นๆใดเพิ่มเติม ก็ต้องจ่ายภาษีเข้ารัฐไปตามจำนวนเรียกเก็บ

แต่โชคดีที่หนุ่มน้อยคนนี้มาเจอมาคุยกับพี่ทุยก่อน จึงได้ตัดสินใจวางแผนภาษี เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และตั้งใจลงทุนระยะยาวเพื่อสร้างความมั่งคั่ง ในกอง LTF, RMF รวมถึงคุ้มครองความเสี่ยงจากการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ดังต่อไปนี้

ค่าเบี้ยประกันชีวิต 20,000 บาท
ค่าเบี้ยสุขภาพ 15,000 บาท
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกอง LTF  30,000 บาท
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกอง RMF 10,000  บาท
รวมค่าลดหย่อนจากการใช้สิทธิประโยชน์ภาษีเป็น 249,000 บาท
จะเหลือเงินได้สุทธิเท่ากับ 156,000 บาท (เงินที่ต้องเสียภาษีเท่ากัย 6,000 x 5%)

ดังนั้น เมื่อรวมมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีแล้ว หนุ่มน้อยคนนี้จะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 300 บาท เหลือว่าประหยัดภาษีไปได้ถึง 3,750 บาท! และยังได้เรื่องของการคุ้มครองความเสี่ยงและสร้างความมั่งคั่งจากการลงทุนด้วย

จะเห็นว่าการวางแผนภาษี ทำให้มีประโยชน์หลายแง่มุมทั้ง สามารถลดหย่อนภาษี และการคุ้มครองความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงส่งเสริมความมั่งคั่งในระยะกลาง-ยาว


ที่มา : www.moneybuffalo.in.th

 1942
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ
2436 ผู้เข้าชม
ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี” หมายความว่า ถ้าตายไประหว่างปีไหน ปีนั้นก็จะกลายเป็นว่ายังต้องเสียภาษีอยู่ในชื่อของตัวเอง แต่เปลี่ยนฐานะใหม่เป็นผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี หรือพูดง่ายๆ ว่า ตายแล้วก็ต้องไปเสียภาษีอีกต่อหนึ่ง
1715 ผู้เข้าชม
การทำประเมินผลสวัสดิการนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี และเพื่อหลากหลายวัตถุประสงค์ เราสามารถทำการประเมินผลโดยวิธีทำแบบสอบถาม ทำการสำรวจออนไลน์ ไปจนถึงการสัมภาษณ์ ซึ่งแต่ละกระบวนการมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป เราอาจมาลองดูกันว่าการประเมินผลสวัสดิการนั้นสามารถที่จะทำเพื่อวัตถุประสงค์ใดได้บ้าง
2570 ผู้เข้าชม
บทความนี้ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้วิธีจัดการกับพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ โดยเบื้องต้นเราต้องแยกพนักงาน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. พนักงานไม่รู้ ไม่เข้าใจ 2. พนักงานรู้ แต่ประมาท ลืม หรือไม่ใส่ใจในงานอย่าง เพียงพอ และ 3. พนักงานที่เจตนาทำผิด เมื่อเราแยกพนักงานแต่ละคนออกเป็นกลุ่มๆ ตามการปฏิบัติงานแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ วิธีการจัดการกับพนักงานแต่ละกลุ่ม ซึ่งมี ดังนี้
928 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์