• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • พนักงานมีความสุข แล้วองค์กรจะมีผลงานที่ดีขึ้นจริงหรือ?

พนักงานมีความสุข แล้วองค์กรจะมีผลงานที่ดีขึ้นจริงหรือ?

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • พนักงานมีความสุข แล้วองค์กรจะมีผลงานที่ดีขึ้นจริงหรือ?

พนักงานมีความสุข แล้วองค์กรจะมีผลงานที่ดีขึ้นจริงหรือ?



อีกเรื่องหนึ่งที่มีงานวิจัยออกมามากมาย ก็คือ เรื่องของการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เนื่องจากงานวิจัยต่างๆ ที่ออกมานั้น พยายามพิสูจน์ว่า พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรนั้น จะสร้างผลงานที่ดีขึ้น ทั้งของตนเอง และขององค์กรด้วย ประเด็นนี้อีกเช่นกัน ที่มีข้อถกเถียงกันว่า จริงหรือที่พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรจะเป็นคนที่สร้างผลงานได้อย่างดี 

    อีกประเด็นที่มักจะคิดกันอยู่เสมอ ก็คือ พนักงานที่มีความสุขในการทำงาน ก็คือ พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กร ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรก็พยายามที่จะทำให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข เพื่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งจะนำมาซึ่งผลงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตรรกะนี้ เป็นจริง หรือไม่ อย่างไร 

    เรื่องของพนักงานที่มีความสุขในการทำงาน หรือการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรนั้น ล้วนแต่มีประเด็นที่ต้องระวังทั้งสิ้น ลองมาดูว่าประเด็นเหล่านี้มีอะไรบ้าง 

1. พนักงานที่มีความสุข เป็นคนที่อยากทำงานจริงหรือ

มีข้อถกเถียงมาว่า พนักงานที่มีความสุขในการทำงาน ก็คือ พนักงานที่มาทำงานโดยไม่ต้องทำอะไรมากมาย องค์กรและหัวหน้างานไม่มอบหมายงานอะไรให้กับพนักงาน ก็เลยทำให้พนักงานทำงานแบบสบายๆ ไม่ต้องเครียด เรื่อยๆ ทำบ้างเล่นบ้าง ซึ่งพนักงานกลุ่มนี้ต่างก็บอกว่า มีความสุขในการทำงานมาก งานไม่หนักมีเงินเดือนใช้ แถมขึ้นเงินเดือนทุกปีอีกด้วย และเมื่อไหร่ที่องค์กร และผู้บริหารระดับสูง เริ่มที่จะผลักดันระบบงานใหม่ๆ และเป้าหมายที่สูงขึ้น พนักงานกลุ่มนี้ก็จะไม่มีความสุขในการทำงานอีกต่อไป เพราะต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง ก็เลยไม่ชอบ ถ้าเป็นแบบนี้จริงๆ พนักงานที่มีความสุขในการทำงาน จะสร้างผลงานที่ดีขึ้นจริงหรือ

2. พนักงานที่มีความผูกพันกับองค์กรจะสร้างผลงานที่ดีขึ้นจริงหรือ

เช่น กันกับประเด็นเรื่องของความผูกพัน ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร นั้นเริ่มจากพนักงานรู้สึกพึงพอใจในการทำงานก่อน จากนั้นจึงเริ่มรู้สึกผูกพัน แต่ถ้าการที่พนักงานรู้สึกพึงพอใจนั้น มาจากเหตุผลที่ว่า ทำงานสบายๆ เล่นๆ ชิวๆ นายไม่เคยติดตามหรือสั่งการอะไร มาตอนเช้าก็เล่นเน็ต โพส facebook คุย Line กับเพื่อน งานการก็ทำแค่วันละ 2 ชั่วโมง ฯลฯ ก็เลยทำให้พนักงานรู้สึกว่า พึงพอใจกับงานที่ทำอย่างมาก ก็เลยรู้สึกผูกพัน และไม่อยากที่จะไปทำงานที่อื่นที่มันลำบากกว่านี้ และด้วยเหตุผลนี้เอง ก็เลยทำให้พนักงานยึดติดกับความสุขเหล่านี้ จนไม่อยากที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เวลานายสั่งอะไร หรือมีนโยบายอะไรใหม่ๆ ที่จะต้องบุกตลาด รุกช่องทางการขายใหม่ๆ พนักงานก็ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แถมยังออกอาการต่อต้าน ไม่ทำงานเสียอีก พร้อมกับบ่นว่า เริ่มไม่มีความสุขในการทำงานแล้ว 

3. พนักงานที่ผูกพันกับองค์กร คือคนที่มีผลงานที่ดีจริงหรือ

อีกประเด็นในเรื่องของความผูกพันก็คือ พนักงานที่มีความผูกพันมากๆ กับองค์กร รู้สึกรัก และอยากอยู่ทำงานกับองค์กรต่อไปเรื่อยๆ จะเป็นคนที่มีผลงานที่โดดเด่นจริงๆหรือ พนักงานบางคนไม่อยากลาออกเลย ด้วยเหตุผลว่า งานที่นี่สบายมาก เช้ามาก็มีที่ให้ชอปปิ้งก่อน เข้างานสายหน่อยก็ไม่มีใครว่า แถมกลางวัน ก็ชอปปิ้งได้อีก กินข้าวนานหน่อยก็ไม่มีใครบ่น ตอนเย็น ก็ยังเลิกงานก่อนเวลาได้ด้วย ด้วยสภาพแวดล้อมแบบนี้ ก็เลยทำให้พนักงานรู้สึกรักองค์กรนี้มาก และไม่อยากจากไปไหนเลย ถามว่าด้วยสภาพแบบนี้พนักงานคนนี้จะสร้างผลงานที่โดดเด่นให้กับองค์กรได้ จริงหรือ 

4. Work-Life Balance ทำให้พนักงานทุ่มเททำงานจริงหรือ

อีกประเด็นที่มักจะมีผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรก็คือ การสร้างระบบที่เรียกว่าทำให้ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของพนักงานมีความสมดุล แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ก็คือ พนักงานเริ่มมาสายกันมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่า work-life balance เริ่มที่จะใช้เวลางานไปกับเรื่องส่วนตัวมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่า work-life balance และเมื่อใดที่ได้โอกาส กลับบ้านก่อน หรือหยุดงาน ไม่มาทำงานได้ ก็จะทำทันที โดยให้เหตุผลว่า work-life balance ลองคิดดูว่าถ้ามีพนักงานทำแบบนี้เกิดขึ้นหนึ่งของบริษัท แล้วจะแปลว่าพนักงานกลุ่มนี้ทุ่มเททำงานให้กับองค์กรจริงๆหรือ ผลงานจะดีขึ้นจริงๆ หรือ 

    ที่เขียนมาทั้งหมด ไม่ได้ต่อต้าน หรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เรียกกว่า Employee Engagement หรือ การสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน รวมทั้งการทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานนะครับ เพียงแต่เรื่องราวเหล่านี้มันมีด้านมืดของมันที่เราอาจจะมองข้ามไปก็ได้ ส่วนใหญ่เรามักจะมองไปในแง่ดี ว่าพนักงานที่มีความสุข มีความพึงพอใจ และมีความผูกพันต่อองค์กรนั้น จะเป็นพนักงานที่ทำงานแบบตัวเป็นเกลียว และมักจะผลักดัน สร้างสรรค์ ความเจริญก้าวหน้าให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง ผมแค่อยากจะบอกว่า อย่าคิดไปในทางนั้นทางเดียวครับ 

    เพราะมีพนักงานอีกเยอะที่มีความสุข มีความพึงพอใจ และผูกพันกับองค์กรที่ทำอยู่อย่างมากมาย เนื่องจากเหตุผลที่ว่า “ทำงานที่นี่มันสบายๆ เรื่อยๆ ไม่ต้องสร้างผลงานอะไรมากมาย แต่มีเงินเดือนใช้ไม่ขาดมือ” 


ที่มา : www.siamhrm.com

 2980
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับแนวคิดการบริหารคนจากต่าง Gen กัน วันนี้เราจะสรุปไว้เป็น 4 Gen และจะดูไปด้วยกันว่าในแต่ ละวัฒนธรรม (ไทยญี่ปุ่น จีน อเมริกัน) นั้นมีลักษณะแต่ละ Gen เหมือนหรือต่างกันอย่างไรด้วยครับ โดยการแบ่ง Gen ไมได้ หมายความว่ามี เส้นแบ่งโดย เด็ดขาด ว่า Gen ไหนก็จะต้องเป็นแบบนั้น แต่เป็นการบอกแนวโน้ม บอกความน่าจะเป็น ของกลุ่มคนโดยส่วนใหญ่ใน Gen นั้นเท่านั้น การแบ่ง นั้น บางตําราแบ่งเป็น 8 Gen คือ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มี 3 Gen และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มี 5 Gen รวมกันเป็น 8 Gen แต่บางตำราแบ่งเป็น 5 Gen คือเหมารวมพวกก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเป็น 1 Gen และ พวกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็น 4 Gen
3027 ผู้เข้าชม
โซลูชั่นเพื่อการคิดคำนวณเวลาขององค์กรโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ค่าใช้จ่าย จะมุ่งเป้าไปยังการคิดและคำนวณเวลาทำงานของพนักงาน รวมถึงค่าตอบแทน หน้าที่และแผนกที่สังกัด ทั้งยังให้ส่วนบริหารตรวจสอบและติดตามผล พร้อมกับตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วย ต่อไปนี้เป็นการตรวจสอบและตรวจวัดที่คุณอาจนำไปใช้ เพื่อประเมินชุดซอฟต์แวร์สำหรับงานดังกล่าว
3421 ผู้เข้าชม
ในการจัดการทรัพยากรบุคคล (HR) เทคโนโลยี Machine Learning อาจเป็นสาขาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ AI ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถระบุผู้สมัครที่มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในตำแหน่งงานนั้นๆ หรือตรวจสอบว่าพนักงานคนใดไม่เหมาะกับบางตำแหน่งงานในช่วงสองสามปีข้างหน้า เราจะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลได้เพียงการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ
2720 ผู้เข้าชม
นื่องจากความเชื่อข้างต้น ก็เลยทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้เงิน เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ โดยเริ่มต้นจากเรื่องของเงินเดือนเป็นอันดับแรก ให้เงินเดือนเพราะต้องการให้พนักสร้างผลงานให้กับองค์กร จากนั้นก็ต่อด้วยเรื่องของการให้คอมมิชชั่นสำหรับพนักงานขาย ใครที่ขายได้มาก ก็ยิ่งได้เงินมากขึ้น ระยะหลังๆ มานี้ก็เริ่มมีสิ่งที่เรียกกว่า pay for performance เกิดขึ้น โดยเอาผลงานของพนักงานมาเป็นพื้นฐานและผูกด้วยระบบการจ่ายค่าจ้างที่เป็นไปตามผลงาน ใครทำงานได้ดี ก็ได้รับเงินรางวัลที่สูงกว่าคนที่ทำผลงานได้ไม่ดีพอ โดยบางแห่งก็กำหนดเป็นเรื่องของโบนัสตามผลงาน คำถามก็คือ เงินรางวัลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราสามารถใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในระยะยาวได้จริงๆ หรือ
1099 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์