• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • Assessment Center เลือกอย่างไร? ให้ได้ผู้บริหารที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย

Assessment Center เลือกอย่างไร? ให้ได้ผู้บริหารที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • Assessment Center เลือกอย่างไร? ให้ได้ผู้บริหารที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย

Assessment Center เลือกอย่างไร? ให้ได้ผู้บริหารที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย

Assessment Center หรือที่เรียกกันว่า ศูนย์การประเมินผล เป็นเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการประเมินศักยภาพและพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรเพื่อที่จะก้าวเข้าสู่สายงานในระดับบริหาร ด้วยวิธีการประเมิน การวัดและวิเคราะห์ผลในเรื่องทักษะ ความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของบุคลากรในองค์กร โดยจะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์หาพฤติกรรมด้านการบริหารจัดการ เช่น วิสัยทัศน์ การวางแผนงาน การแก้ไขปัญหาตัดสินใจ ความคิดเชิงกลยุทธ์  วัตถุประสงค์เพื่อที่จะคัดสรรผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมตรงกับความต้องการในแต่ละตำแหน่งงานอย่างแท้จริงและสอดคล้องกับทิศทางขององค์กรนั้นๆ ยิ่งในบางตำแหน่งงานซึ่งมีความสำคัญอย่างมากกับองค์กร อาทิเช่น CEO หรือในระดับ Top management องค์กรต้องมีวิธีการสรรหาและคัดสรรที่เหมาะสมที่สุดเพื่อที่จะนำพาองค์กรให้พัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Assessment Center แตกต่างจากเครื่องมือประเมินอื่นในแง่ความเป็นบูรณาการ  โดยประเมินหลายสมรรถนะ หลายวิธีการ เช่น

  • การสัมภาษณ์
  • การให้ผู้เข้ารับการประเมินนำเสนอผลงานจากโจทย์ที่กำหนด (Oral Presentation Excercises)
  • การทำแบบทดสอบในการบริหารจัดการงาน (In-basket Excercises)
  •  การระดมสมองเพื่ออภิปรายกรณีศึกษา (Group Discussions)
  • การแสดงบทบาทสมมุติ  (Role Play) ในสถานการณ์จำลองเพื่อประเมินวิธีการคิด วิเคราะห์ และการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ใน  Assessment Center จะถูกออกแบบให้มีความใกล้เคียงกับบริบทของงานในตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง เพื่อให้โอกาสผู้เข้ารับการประเมินได้แสดงออกถึงพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงสมรรถนะที่จำเป็นต่อตำแหน่ง โดยประเมินสมรรถนะมากกว่าหนึ่งสมรรถนะ และเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าผู้เข้ารับการประเมิน (Assessee) สามารถแสดงพฤติกรรมที่บ่งชี้สมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในอนาคต โดยจะมีผู้ประเมิน (Assessor) หลายคนคอยสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้ารับการประเมินหนึ่งคน และเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมผู้ประเมินแต่ละคนให้คะแนนแต่ละกิจกรรม ผู้ประเมินจะอภิปรายพฤติกรรมของผู้เข้ารับการประเมินถึงผลการให้คะแนน เรียกว่า การซักฟอก  (Wash up)  ผลการประเมินจบที่คะแนนเป็นเอกฉันท์ (Consensus) โดยผู้ประเมินควรจะมาจากหลายหน่วยงาน ไม่จำเป็นจะต้องมาจากฝ่ายบุคคลเท่านั้น แต่ควรจะเป็นผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานของหน่วยงาน ซึ่งผู้ประเมินทุกคนจะต้องได้รับการฝึกอบรมให้เข้าใจถึงแนวทาง ขั้นตอนการประเมินและการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เข้ารับการประเมิน

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งองค์กรมิอาจจะมองข้ามได้คือ “ทัศนคติของผู้ประเมินและผู้เข้ารับการประเมิน” ปัญหาที่มักจะพบได้บ่อยในการประเมินคือ การที่ผู้ประเมินไม่เข้าใจในวิธีการประเมินอย่างถูกต้อง ไม่รู้วิธีการในการใช้เครื่องมือประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการที่ผู้ประเมินใช้ความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องในการประเมิน ในขณะที่ผู้เข้ารับการประเมินเองก็ไม่ยอมรับในผลของการประเมิน ปัญหาเหล่านี้สามารถถูกขจัดออกไปได้ ถ้าองค์กรทำการสื่อสารอย่างชัดเจน โดยให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องรวมถึงพนักงานทั้งหมดเพื่อให้เกิดเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับการนำ Assessment Center เข้ามาใช้ในองค์กร

นอกจากนี้แล้วแนวคิดของ Assessment Center ยังเปรียบเสมือนการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตให้กับองค์กร เพราะสิ่งที่สำคัญคือผู้ประเมินที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ว่าบุคลากรที่เข้าร่วมศูนย์การประเมินผลมีจุดแข็งและจุดอ่อนในเรื่องใด ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้นั้นผู้ประเมินจะต้องให้ข้อมูลป้อนกลับผลการประเมินแก่ผู้เข้ารับการประเมิน เพื่อให้บุคคลเหล่านี้รับรู้และหาแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงความสามารถของตนเองให้ดีขึ้นตามที่องค์การต้องการ และองค์กรสามารถประเมินผู้เข้ารับการประเมินมีความพร้อมในการที่จะเลื่อนตำแหน่ง หรือควรที่จะต้องเพิ่มเติมทักษะและความสามารถในด้านใด ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล (Individual Development Plan) ต่อไป


ที่มา : jobdst.com

 2130
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี” หมายความว่า ถ้าตายไประหว่างปีไหน ปีนั้นก็จะกลายเป็นว่ายังต้องเสียภาษีอยู่ในชื่อของตัวเอง แต่เปลี่ยนฐานะใหม่เป็นผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี หรือพูดง่ายๆ ว่า ตายแล้วก็ต้องไปเสียภาษีอีกต่อหนึ่ง
1713 ผู้เข้าชม
เรื่องของการทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานนั้น มีการพูดถึงกันมาก็หลายปีแล้ว มีองค์กรในประเทศไทยที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ สร้างพนักงานให้มีความสุขในการทำงาน เพราะเชื่อว่า พนักงานที่มีความสุขในการทำงานนั้น จะสามารถสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง แต่ตรรกะนี้ เป็นจริงหรือ พนักงานที่มีความสุขในการทำงาน จะทำให้องค์กรมีผลงานที่ดีขึ้นจริงๆ หรือ
2977 ผู้เข้าชม
การวิจารณ์ที่ดีเป็นไปเพื่อเสริมสร้างและชี้แนะผู้ถูกวิจารณ์ให้เกิดการพัฒนา ไม่ใช่เพื่อจ้องจับผิด หรือต้องการประจานให้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่บางครั้งบางคราที่ผู้วิจารณ์มีเจตนาดีแต่ไม่รู้วิธีพูด ความหวังดี จึงกลับกลายเป็นการทำร้ายให้เจ็บช้ำน้ำใจได้โดยไม่รู้ตัว ผู้มีหน้าที่ในการบริหารบุคลากรจึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
1977 ผู้เข้าชม
บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลระดับโลกฉายภาพว่า ขั้นตอนการสรรหาทรัพยากรบุคคลแต่เดิมทำกันมาตั้งแต่ระบบจดบันทึกข้อมูลพนักงานส่วนบุคคล จนมาถึงยุคที่บริษัท องค์กรต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับระบบการสรรหาคนเก่งหรือบุคลากรที่มีความสามารถสูง (Talent Management Systems) เพื่อขับเคลื่อนองค์กร ผลักดันงานให้ไปถึงเป้าหมายความสำเร็จได้เร็วขึ้น
1739 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์