การให้คนออกจากงาน... อาจไม่ใช่จุดสิ้นสุดของปัญหา

การให้คนออกจากงาน... อาจไม่ใช่จุดสิ้นสุดของปัญหา


เวลาเราให้คนออกจากงานไปนั้นมักเป็นการง่ายที่โทษว่า
“ก็เป็นความผิดของพนักงานคนนั้นเอง” ทั้งนี้เป็นเพราะมาตรการการ เลิกจ้างนั้นเป็นมาตรการที่ควรใช้เมื่อพนักงาน “มีอาการ” ที่สมควร
ที่จะต้องให้ออกจากงานไปจริง ๆ เช่น ไม่มีวินัยในการทำงาน ชอบสร้างปัญหาต่าง ๆ นานาให้กับหน่วยงาน สร้างความแตกแยกในหมู่เพื่อนร่วมงาน เฉื่อยหรือหย่อนสมรรถภาพในการทำงานจนเป็นตัวถ่วง ผลการปฏิบัติงานขององค์กรที่ไม่อาจปล่อยไว้ได้ เป็นต้น

ข้อที่ควรสังเกตก็คือ “อาการผิดปกติ” เหล่านี ้ แม้ว่าสุดท้ายแล้ว จำเป็นจะต้องใช้มาตรการเลิกจ้างไปเพราะปล่อยไว้ไม่ได้ก็จริง แต่อาจเป็นเพียงการแก้ไขตามอาการเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการแก้ไขที่ “เหตุ” ของปัญหา เพราะถ้าคำตอบคือ “ใช่” การปรับปรุงแก้ไข “เหตุ” ของอาการผิดปกติเหล่านั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง มิฉะนั้นอาการอย่างที่ว่า ๆ มาก็จะยังคงจะเกิดขึ้นซ้ำอีก

พฤติกรรมที่พนักงานแสดงออกมาและทำให้ องค์กรต้อง เลิกจ้างก็มีตัวอย่างประมาณนี้ครับ


พนักงานขาดงานไปเฉย ๆ

พนักงานที่เข้ามาใหม่ทำงานไปได้ไม่ถึงเดือนก็ขาดงานไปเฉย ๆ ไม่ติดต่อกลับมาเลยจนเกิน 3 วัน บริษัทก็เลยต้องเลิกจ้างไปเพราะเหตุ “ละทิ้งหน้าที่เกินกว่า 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุ อันสมควร” เวลากับการมาทำงาน จึงเป็นสิ่งสำคัญ

อาการแบบนี้ก็ต้องเลิกจ้างแน่ ๆ เพราะไม่รู้จะให้ทำงานอยู่ ต่อไปได้อย่างไร ก็เล่นไม่ยอมกลับมาทำงานแล้ว แต่ปัญหานี้ก็อาจ เกิดขึ้นได้อีกอย่างไม่สิ้นสุด ถ้ายังหาเหตุไม่พบว่าเป็นเพราะเหตุใด
แล้วเข้าแก้ไข เหตุที่ว่านี้อาจเป็นได้หลายประการ เช่น

• กระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานที่มีอยู่อาจยังไม่สามารถคัดเลือกได้คนที่เหมาะสมเข้ามาทำงาน ทำให้อาจได้คนที่มีคุณสมบัติสูงไปบ้าง ต่ำไปบ้าง หรือไม่ตั้งใจที่จะมาทำงานกับเราบ้าง จึงมาทำ ๆ แล้วก็ออกไป

• หากตรวจสอบแล้วว่า ไม่ใช่เหตุที่กระบวนการสรรหาและ คัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน เพราะจริง ๆ แล้วโดย กระบวนการก็สามารถรับ “คนที่ใช่” เข้ามาแล้ว แต่เป็นเพราะกระบวนการการปฐมนิเทศและการดูแลพนักงานใหม่ยังไม่ดีพอ พนักงานจึงปรับตัวเข้ากับงาน คน และวัฒนธรรมขององค์กรไม่ค่อยได้ จึงไม่เกิดความรัก ความผูกพันต่องาน คน และองค์กร หากเป็นแบบนี้ ส่วนที่ต้อง
ปรับปรุงก็อาจไม่ใช่กระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้า ทำงานก็เป็นได


พนักงานหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน ไม่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

การให้คนออกจากงานเพราะเหตุผลนี้ มักเป็นเหตุผลที่ได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ก็ต้องสืบสาวต่อไปเหมือนกันว่าเหตุที่พนักงานเป็นแบบนี้มาจากอะไร เช่น เรามีการฝึกอบรมพัฒนาพนักงานอย่างดีพอ
และต่อเนื่องหรือไม่มีเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานหรือไม่ หรือมีรูปแบบการประเมินผลงานและฟีดแบ็กที่เหมาะสมและสม่ำเสมอหรือไม่ เป็นต้น แล้วต้องรู้ว่าพนักงานแบบไหนที่หัวหน้าควรสนับสนุน

ถ้าพบว่าปัญหาเป็นแบบที่กล่าวมาข้างบนนี้ ล่ะก็ เราคงต้องหันกลับมาปรับปรุงระบบรับและรักษาคนกันแล้วล่ะครับ เพราะพฤติกรรมที่ผิดปกตินั้นอาจจะไม่ใช่ความผิดของพนักงานเสียทีเดียว 


พนักงานขาดวินัยที่ดีในการทำงาน

ปัญหานี้ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจเหมือนกัน ว่าที่จริงแล้วมีเหตุมาจากเรื่องอื่น ๆ ที่องค์กรต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ เช่น

• มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ดีและชัดเจน และพนักงานปฏิบัติตามข้อบังคับนั้น ๆ ดีหรือไม่

• ผู้บังคับบัญชาได้ให้การชี้แนะสั่งสอนลูกน้องอย่างเหมาะสมหรือไม่

• การจัดการของผู้บังคับบัญชาตามสายงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมหรือไม่

• เมื่อพนักงานมีปัญหา ปัญหาเหล่านั ้นได้ถูกนำมาแก้ไขอย่างเหมาะสมหรือไม่

นอกจากตัวอย่างที่หยิบยกมาเหล่านี้ ยังมีปัญหาอีกมากมายที่ทำให้คนต้องถูกออกจากงาน เชื่อแน่ว่าผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงมีประสบการณ์กันมาไม่มากก็น้อย และเห็นได้ว่าบ่อย ๆ ที่การให้คน
ออกจากงานนั้นเป็นแต่เพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น

แน่นอน ถ้าต้นเหตุของปัญหายังคงอยู่ วงจรของการกระทำผิดและการถูกออกจากงานก็จะยังคงอยู่คู่กับองค์กรไปจนกว่าต้นเหตุของปัญหาจะถูกแก้ไข

ไม่ต้องบอกก็คงพอคาดหมายได้ ว่าองค์กรที่มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปสู่ความเสื่อม มักจะเป็นองค์กรที่ไม่สนใจแก้ปัญหาที่ต้นเหตุครับ


ที่มา : ไพศาล เตมีย์

 1710
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

อาการแบบนี้เกิดขึ้นกับพนักงานของท่านหรือเปล่า - อาการป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ - อาการป่วยการเมือง - อาการป่วยจริง - ลางานเป็นประจำ หรือ ขาดงานอยู่บ่อยๆ จนหัวหน้าต้องตาม จะทำอย่างไร? เมื่อพนักงานของท่านขาดงาน
15265 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ คนคงทราบดีอยู่แล้วว่า สวัสดิการพนักงาน นั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ทางบริษัท หรือนายจ้างมอบให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างทุก ๆ คน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของลูกจ้างและเพื่อให้ลูกจ้างมีสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานที่ดีขึ้นก็ตาม แต่สิ่งที่ได้รับมาเหล่านั้นก็ต้องถูกนำไปคิดคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินของเราในการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในรอบปีบัญชีนั้น ๆ เว้นแต่สวัสดิการต่าง ๆ ที่เราได้รับ จะถูกจัดอยู่ในข้อบัญญัติตามกฎหมายให้มีการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่จะมีสวัสดิการตัวใดกันที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมาคำนวณภาษี ค่าคลอดบุตรถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ ค่าเบี้ยเลี้ยงทางภาษี ถือเป็นสวัสดิการที่ได้รับการยกเว้นหรือเปล่า และค่าเดินทางเหมาจ่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
21440 ผู้เข้าชม
พูดกันอยู่บ่อย ๆ ว่า HR ต้องเป็น Business Partner แล้วจะต้องออกแบบความคิด (Design Thinking) HR อย่างไรถึงจะเป็น Business Partner ล่ะครับ วันนี้เราลองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบ สบาย ๆ จาก Case Study ที่ผมเข้าไปให้คำปรึกษา ในหลายองค์กรเลยขอนำมาแชร์นะครับ
2146 ผู้เข้าชม
ก็ยังได้รับคำถามในแนวนี้อยู่ ก็คือ หน้าที่ในการพัฒนาพนักงานเป็นหน้าที่ของใครกันแน่ การที่จะส่งพนักงานไปอบรม หรือการที่เราจะวางแผนพัฒนาพนักงานในเรื่องใดนั้น ตกลงเป็นหน้าที่ใคร
2976 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์