เรื่องที่ควรบอกในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่

เรื่องที่ควรบอกในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่

เชื่อว่าทุกองค์กรมีหลักสูตรสำหรับพนักงานใหม่ บางทีอาจเรียกว่า หลักสูตรปฐมนิเทศ Orientation Program, New Employee Program ฯลฯ จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ละองค์กร แต่ความหมายสำคัญ คือ เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นสำหรับพนักงานที่เข้างานใหม่กับองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ให้พนักงานรู้จักองค์กรมากขึ้น สามารถปรับตัวให้เข้ากับองค์กรได้ง่ายและเร็วมากขึ้น พร้อมที่จะทำงานให้กับองค์กร

          บางองค์กรอาจกำหนดโครงสร้างหลักสูตรไว้ชัดเจน หัวข้อการสอน ผู้รับผิดชอบ ที่แน่นอน วิธีการนี้จะทำให้ผู้เข้าอบรมในแต่ละรุ่นได้ความรู้ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เข้าใจเรื่องราวขององค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่หากองค์กรไม่ได้มีการจัดการอบรมสำหรับพนักงานใหม่ที่เป็นมาตรฐานไว้แล้ว คือ ค่อย ๆ ให้พนักงานเรียนรู้เอง ซึมซับเอง ไม่มีการกำหนดหัวข้อที่ชัดเจน ผู้เข้าอบรมจะได้ความรู้ที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์ อารมณ์ ทัศนคติของผู้สอนแต่ละคนที่มีไม่เท่ากัน เป็นการเสี่ยงให้พนักงานใหม่ที่เราอุตส่าห์คัดเลือกมาจากผู้สมัครเป็นสิบ ๆ ร้อย ๆ คน ต้องเผชิญกับโลกใหม่ในองค์กรของเราเองอย่างโดดเดี่ยว ทั้ง ๆ ที่เป็นหลักสูตรแรกที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้เข้าอบรมแท้ ๆ

         ตอนนี้ HR มือใหม่คงอยากทราบถึงสิ่งที่ควรกำหนดให้พนักงานใหม่เรียนรู้เพื่อสร้างความประทับใจแบบรักแรกพบกันแล้ว แบ่งออกเป็น 6 เรื่องดังนี้

1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับองค์กร หรือความรู้เกี่ยวกับสิทธิ์ต่าง ๆ ที่พนักงานได้รับ
เช่น ประวัติองค์กร การกรอกเอกสารเข้างาน หรือแบบฟอร์มต่าง ๆ เงินเดือนและสวัสดิการ การคำนวณค่าล่วงเวลา กฎระเบียบและวินัย สิทธิ์การลา ระยะเวลาการทดลองงาน รถรับส่ง ที่จอดรถ เวลาทำงาน เวลาพัก การเข้ากะ ฯลฯ เป็นต้น

2. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน หรือระบบที่องค์กรได้รับการรับรอง
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระบบหรือมาตรฐานของแต่ละองค์กรที่ได้รับการรับรอง เช่น องค์กรได้รับการรับรองระบบ ISO 14001 ซึ่งมีข้อกำหนดในการอบรมพนักงานในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3. ความรู้ที่กฎหมายกำหนด
เช่น เรื่องการอบรมลูกจ้างตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้างทุกคนเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นสำหรับสถานประกอบกิจการทุกแห่ง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดเนื่องจากการทำงานและเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือเกิดการเจ็บป่วยจากโรคจากการทำงาน เป็นต้น

4. Basic Technical Skill
การให้ความสำคัญกับการปูพื้นฐานความรู้เรื่อง Basic Technical Skill ให้กับพนักงานใหม่ก่อนส่งพนักงานให้หน่วยงานต้นสังกัด ทั้งนี้ช่วยให้หน่วยงานต้นสังกัดไม่ต้องเสียเวลาในการปูความรู้พื้นฐานทางเทคนิคให้พนักงานใหม่สามารถเข้าใจถึงกระบวนการทำงานใน Process ได้เลย

5. ความรู้ หรือสิ่งที่องค์กรต้องการเน้นย้ำ
เช่น บางองค์กรเน้นเรื่องวินัยในการทำงานมาก เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานในการทำงานที่จะต่อยอดไปสู่การพัฒนาในด้านอื่น ๆ หรือเรื่องปัญหาคุณภาพที่ต้องการเน้นให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกรักษามาตรฐานและคุณภาพในงานของตน หากมีสิ่งที่องค์กรต้องการเน้นย้ำก็ควรแยกประเด็นออกมาเพื่ออบรมให้พนักงานทราบและตระหนักอย่างชัดเจน

6. ปัจจัยที่จะทำให้ผ่านทดลองงาน
เรื่องนี้หลายคนอาจแย้งว่าทำไม่เราต้องสอนให้พนักงานใหม่ทราบถึงปัจจัยที่จะทำให้ผ่านทดลองงานด้วย ในเมื่อหากพนักงานทำตัวไม่ดีก็ไม่ควรผ่านทดลองงานอยู่แล้ว แต่ที่ต้องอบรมกันในเรื่องนี้เพราะว่า เด็กใหม่ ๆ ใส ๆ ที่เพิ่งจบกับมา อาจมีความเป็นตัวของตัวเองสูง จะให้ยอมรับกฎกติกาอะไรง่าย ๆ ก็ไม่ได้ ต้องมีคำถามว่าทำไม ทำไม ทำไม อย่างที่หลายคนคงได้เจอ องค์กรจำเป็นต้องชี้แจงว่าปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้เขาผ่าน หรือไม่ผ่านทดลองงาน เพื่อเป็นโอกาสในการอธิบายที่มาของแต่ละปัจจัย และเพื่อเป็นการป้องกันการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบโดยไม่ตั้งใจของพนักงานใหม่ ซึ่งเชื่อว่าระยะเวลาการทดลองงาน 3-6 เดือน น่าจะเพียงพอสำหรับหัวหน้างานในการพิจารณาว่าใครสมควรได้ไปต่อ

          การอบรมทั้ง 6 เรื่องนี้ อย่างน้อยต้องให้เวลา 3-5 วัน เพื่อให้พนักงานใหม่ได้ค่อย ๆ เรียนรู้ก่อนส่งพนักงานให้กับหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งหากสามารถจัดสรรเวลาให้เหมาะสมได้ หน่วยงานจะได้ไม่เสียเวลาสอนเรื่องพื้นฐานกับพนักงานใหม่อีก สามารถ OJT การทำงานในหน้างานได้เลย Win-Win ทั้ง HR พนักงานใหม่ และหน่วยงานต้นสังกัด

ที่มา : th.jobsdb.com/th-th/articles

 4307
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ความก้าวหน้าในอาชีพของ HR นั้น นอกจากในเรื่องค่าตอบแทนที่สูงขึ้นแล้ว การก้าวสู่ตำแหน่งบริหารก็เป็นสิ่งที่ HR ปรารถนา แต่การจะได้เป็นผู้บริหารด้าน HR นั้นไม่ง่าย เพราะคนที่จะทำงานในระดับนี้ องค์กรต้องคัดเฟ้นเฉพาะคนดีมีฝีมือจริง ๆ เท่านั้นจึงจะเป็นที่ยอมรับ สำหรับ HR ผู้ที่ใฝ่ฝันจะก้าวสู่งานด้านบริหารต้องมีความสามารถอย่างไรบ้าง
1506 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับแนวคิดการบริหารคนจากต่าง Gen กัน วันนี้เราจะสรุปไว้เป็น 4 Gen และจะดูไปด้วยกันว่าในแต่ ละวัฒนธรรม (ไทยญี่ปุ่น จีน อเมริกัน) นั้นมีลักษณะแต่ละ Gen เหมือนหรือต่างกันอย่างไรด้วยครับ โดยการแบ่ง Gen ไมได้ หมายความว่ามี เส้นแบ่งโดย เด็ดขาด ว่า Gen ไหนก็จะต้องเป็นแบบนั้น แต่เป็นการบอกแนวโน้ม บอกความน่าจะเป็น ของกลุ่มคนโดยส่วนใหญ่ใน Gen นั้นเท่านั้น การแบ่ง นั้น บางตําราแบ่งเป็น 8 Gen คือ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มี 3 Gen และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มี 5 Gen รวมกันเป็น 8 Gen แต่บางตำราแบ่งเป็น 5 Gen คือเหมารวมพวกก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเป็น 1 Gen และ พวกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็น 4 Gen
3026 ผู้เข้าชม
บทความนี้ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้วิธีจัดการกับพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ โดยเบื้องต้นเราต้องแยกพนักงาน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. พนักงานไม่รู้ ไม่เข้าใจ 2. พนักงานรู้ แต่ประมาท ลืม หรือไม่ใส่ใจในงานอย่าง เพียงพอ และ 3. พนักงานที่เจตนาทำผิด เมื่อเราแยกพนักงานแต่ละคนออกเป็นกลุ่มๆ ตามการปฏิบัติงานแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ วิธีการจัดการกับพนักงานแต่ละกลุ่ม ซึ่งมี ดังนี้
928 ผู้เข้าชม
อย่างที่ทราบกันดีว่า ในปี 2563 เป็นปีที่เริ่มต้นการเก็บภาษีที่ดินใหม่ หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) โดยในครั้งแรกประกาศให้เริ่มจัดเก็บไปเป็นเดือนสิงหาคม 2563 แทน
1270 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์