5 เรื่อง "คน" ที่ผู้บริหารกังวล

5 เรื่อง "คน" ที่ผู้บริหารกังวล

ขึ้นชื่อว่า "คน" ยังไงคงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ยิ่งในยุคธุรกิจขยายตัว ตอบรับกับการ เปลี่ยนแปลงรอบด้านด้วยแล้ว การวางกลยุทธ์ธุรกิจย่อมหลีกไม่พ้นต้องวางกลยุทธ์การบริหารงานบุคคล และพัฒนาคนด้วยเช่นกัน

ล่าสุดดีลอยท์ฯได้เปิดเผยผลสำรวจที่เรียกว่า "Talent Edge 2020" ซึ่ง ร่วมทำกับฟอร์บส อินไซต์ส เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและพนักงานในประเด็นต่าง ๆ ครอบคลุม 400 บริษัทที่มีขนาดธุรกิจมูลค่ามากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในอเมริกาเหนือ, เอเชีย-แปซิฟิก, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

ส่วนในประเทศไทย "อภิรักษ์ จาตุกัญญาประทีป" และ "เกสรา ศักดิ์มณีวงศา" หุ้นส่วนด้านที่ปรึกษาธุรกิจ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ที่ปรึกษา จำกัด ได้เล่าถึงผลสำรวจที่เผยแพร่ออกมาว่า จากการสอบถามทั้งจากมุมมองของผู้บริหารและพนักงาน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

ทำให้พบว่า 5 เรื่องแรกที่ผู้บริหารมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องคนมากที่สุด ได้แก่ 

1. การพัฒนาผู้นำรุ่นถัดไป และการวางแผนสืบทอดตำแหน่งงาน (30%)

2. เรื่องการสรรหา และการรักษาคนให้อยู่กับองค์กร โดยเฉพาะคนที่มีความ สามารถหรือ Talent (29%) อ่านวิธีการรักษาคนให้อยู่กับองค์กรไว้นานได้ที่:การรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กร

3. การสร้างความยั่งยืนด้วยศีลธรรม และการผูกใจพนักงาน (25%)

4. เป็นความกังวลเรื่องการแข่งขันเพื่อจูงใจให้คนเก่ง หรือคนที่มีความสามารในตลาดที่ธุรกิจกำลังจะขยายไปอยู่ทั้งในระดับโลก และในตลาดเกิดใหม่อยากมาทำงานกับธุรกิจของตน (23%)

5. คือความกังวลเรื่องการลดค่าใช้จ่ายต่อหัว และต้นทุนด้านคน (23%) เช่นกัน

เบื้องต้น "เกสรา" ระบุว่า ความกังวลเรื่องคนของผู้บริหารอยู่ที่ 3 เรื่องหลัก คือจะหาคนเก่งอย่างไร จะพัฒนาคนเก่งอย่างไร และจะรักษาเขาไว้ได้อย่างไร เพราะ ทั้งหมดนี้ไม่เพียงเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาคน หากในเรื่องการสรรหาคนเก่ง การพัฒนาคนเก่ง และการรักษาคนเก่ง ยังเป็นเทรนด์หลักของการพัฒนาคนทุกปี ทุกหน่วยงาน ที่ไม่เพียงแต่ภาครัฐและเอกชนเท่านั้น หากในระดับภูมิภาคและระดับโลก ทั้ง 3 เรื่องหลักยังคงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารองค์กรต่างต้องการทั้งสิ้น

แต่กระนั้น เมื่อย้อนมองถึงตัวเลข ผลสำรวจใน 5 เรื่องแรกที่ผู้บริหารมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องคนมากที่สุด โดยเฉพาะในความกังวลแรก คือการพัฒนาผู้นำรุ่นถัดไป และการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง ที่ผลสำรวจระบุว่าอยู่ที่ประมาณ 30% นั้น ถ้ามองในเชิงสถิติ จะพบว่าความกังวลต่อประเด็นนี้ถือว่ามีตัวเลขที่สูงพอสมควร เพราะดังที่ทราบ เรื่องของการพัฒนาผู้นำรุ่นถัดไป และการวางแผนสืบทอดตำแหน่งกำลังเป็นเรื่องกังวลของผู้บริหารชาวเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา

เนื่องจากผู้บริหารในยุคเบบี้บูมเมอร์กำลังจะลงจาก ตำแหน่ง และยังสรรหา ผู้ที่จะเข้ามาทดแทนไม่ทัน ทั้งในเรื่องของธุรกิจครอบครัว และธุรกิจหุ้นส่วน ยิ่งเฉพาะกับประเทศในเอเชียกำลังประสบปัญหาเรื่องนี้อย่างมาก

ดังนั้น เมื่อมาโยงประเด็นให้สอดคล้องกับประเด็นด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่ฝ่ายบริหารให้ ความสนใจ เพราะจากการสำรวจระบุว่ามี 3 เรื่องสำคัญที่ผู้บริหารให้ความสนใจ และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจในปัจจุบัน คือ

หนึ่ง การปรับปรุงรายได้ และผลกำไร 38%

สอง การขยายตลาดเข้าไปในตลาดใหม่ ๆ และในระดับโลก เนื่องจากตลาดปัจจุบันไร้พรมแดน (33%)

สาม การบริหารต้นทุน ว่าจะทำอย่างไรให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีต้นทุนดีขึ้น(32%)

"โดยเฉพาะการขยายตลาดเข้าไปในระดับโลกและตลาดเกิดใหม่ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารให้ความสำคัญ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 12% ในปี 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 33% ในปีล่าสุด"

ดังนั้น การพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ การสรรหาคนเก่ง คนมีความสามารถ พัฒนาคนเก่ง และรักษาคนเก่ง เพื่อตอบรับการกลยุทธ์การขยายตัวของธุรกิจ จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในใจของผู้บริหาร และต้องการเครื่องมือในการบริหารจัดการเรื่องเหล่านี้ จากการสำรวจ ของดีลอยท์ฯยังทำ ให้พบอีกว่า สิ่งที่ผู้บริหารเลือกเพื่อจัดการ รักษาคนเก่ง และคนมีความสามารถให้อยู่กับองค์กร มีอยู่ 3 เรื่องใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ

หนึ่ง การบริหารจัดการการประเมินผลงาน (PM : Performance Management) สูงถึง 73%

สอง การประเมินว่าใครคือคนเก่ง ใครคือคนมีความสามารถ โดยดูที่ศักยภาพของคนคนนั้น เพื่อแยกให้ออกกับพนักงานทั่วไป (talent assessment) 72%

สาม การมีแผนที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพสูง 71%

นั่นคือภาพรวมในฝ่ายผู้บริหาร ขณะที่ในฝ่ายพนักงานกลับมีผลสำรวจที่น่าตกใจ คือพนักงานมากถึง 65% ใน 400 บริษัทที่สำรวจระบุว่ามีแผนจะย้ายงาน ขณะที่อีก 30% เริ่มหางานอย่างจริงจัง

โดยพบสาเหตุของการย้ายงาน คือพนักงานรู้สึกว่าขาดความก้าวหน้าในสายอาชีพ (28%) ขณะที่เรื่องผลตอบแทน เรื่องความมั่นคงในการทำงาน และการขาดความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ กลับเป็นลำดับที่ 2, 3 และ 4 และมีสัดส่วน 24% เท่ากัน ส่วนการรักษา พนักงานที่เก่งและมีความสามารถ ในมุมมองของพนักงานระบุว่า เขาต้องการให้ความสำคัญกับการเลื่อนขั้นตำแหน่งงาน และการสร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพ (53%)

ถัดมา 39% ระบุว่า ต้องการให้เพิ่มผลค่าตอบแทนในรูปแบบเงิน และไม่ใช่เงิน เช่น สวัสดิการต่าง ๆ และการเพิ่มโบนัส หรือเงินอัดฉีด 34%

อย่างไรก็ตาม มีพนักงานถึง 30% ระบุว่า เขาต้องการได้รับการสนับสนุน และการยอมรับจากหัวหน้างานและผู้บริหาร ซึ่งส่วนนี้ "เกสรา" บอกว่า เป็นสิ่งที่ผู้บริหารสามารถทำได้ และไม่ต้องใช้เงินด้วยซ้ำ ส่วนบริบทธุรกิจไทย "เกสรา" ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ผู้บริหารไทยกำลังกังวลอย่างมาก คือเมื่อธุรกิจต้องการขยายตัว แต่ธุรกิจกลับไม่สามารถ สร้างผู้นำรุ่นใหม่ขึ้นมาได้ และมีปัญหาภาวะผู้นำสูงมาก โดยเฉพาะในธุรกิจการผลิต

จึงเป็นเรื่องท้าทายในภาคการผลิตอย่างยิ่ง !

 3713
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามโลกยุคไร้พรมแดนและการปฎิวัติวิชาชีพ (Career Disruption) ในยุคนี้ก็คือระบบการทำงานยุคใหม่ที่ยืดหยุ่นและเอื้อประโยชน์ให้กับบุคลากรทั่วโลกในการมาร่วมแจมการทำงานโดยปรับเปลี่ยนเงื่อนไขไปตามการจ้างงานของแต่ละคน
3069 ผู้เข้าชม
นายปรี๊ดค้นเจอบทความชิ้นหนึ่งของผู้เขียน ชื่อ นาเดีย กูดแมน จากเว็บไซต์ ideas.ted.com ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ ดร.เคลลี่ แมคกอนิกัล (Kelly McGonigal) อาจารย์สาขาจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด ผู้เขียนหนังสือ “The Willpower Instinct” ซึ่งถูกแปลมากว่า 10 ภาษาและประสบความสำเร็จมากในประเทศญี่ปุ่น เป็นหนังสือสไตล์ฮาวทู (how to) เผื่อใช้จัดการวินัยในตนเอง บนฐานคิดและหลักฐานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเอง
1208 ผู้เข้าชม
ขึ้นชื่อว่า "คน" ยังไงคงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ยิ่งในยุคธุรกิจขยายตัว ตอบรับกับการ เปลี่ยนแปลงรอบด้านด้วยแล้ว การวางกลยุทธ์ธุรกิจย่อมหลีกไม่พ้นต้องวางกลยุทธ์การบริหารงานบุคคล และพัฒนาคนด้วยเช่นกัน ล่าสุด ดีลอยท์ฯได้เปิดเผยผลสำรวจที่เรียกว่า "Talent Edge 2020" ซึ่ง ร่วมทำกับฟอร์บส อินไซต์ส เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและพนักงานในประเด็นต่าง ๆ ครอบคลุม 400 บริษัทที่มีขนาดธุรกิจมูลค่ามากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในอเมริกาเหนือ, เอเชีย-แปซิฟิก, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
3713 ผู้เข้าชม
บทความนี้ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้วิธีจัดการกับพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ โดยเบื้องต้นเราต้องแยกพนักงาน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. พนักงานไม่รู้ ไม่เข้าใจ 2. พนักงานรู้ แต่ประมาท ลืม หรือไม่ใส่ใจในงานอย่าง เพียงพอ และ 3. พนักงานที่เจตนาทำผิด เมื่อเราแยกพนักงานแต่ละคนออกเป็นกลุ่มๆ ตามการปฏิบัติงานแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ วิธีการจัดการกับพนักงานแต่ละกลุ่ม ซึ่งมี ดังนี้
950 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์