การหา และสร้าง “คนเก่ง-คนดี” ของ SCG

การหา และสร้าง “คนเก่ง-คนดี” ของ SCG

การสรรหาบุคคลในเชิงรุกเพื่อให้ได้ “คนเก่ง” “คนดี” มาร่วมงาน

วิธีพัฒนาบุคลากรทั้งแบบให้ทุนการศึกษา และอบรม

4 หลักการสำคัญในการจัดการ เพื่อสร้างบทบาทการเป็นผู้นำ

2 เครื่องมือสร้าง และการพัฒนาผู้นำของเอสซีจี

เอสซีจี ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากตระหนักอยู่เสมอว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เริ่มตั้งแต่การสรรหาผู้ที่เป็นคนเก่งและดีเข้ามาร่วมงาน โดยจัดโครงการ “Drawing Your Career with SCG Career Camp” เพื่อจูงใจผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทยให้มาทำงานกับบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นการสรรหาบุคลากรในเชิงรุก

นอกจากนี้ยังมีโครงการ “Top Ten University Recruitment” เพื่อสรรหาผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยท็อป 10 ในสหรัฐอเมริกาหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำในยุโรปอีกด้วย

การพัฒนาบุคลากรของเอสซีจีจะดำเนินการโดยการให้ทุนการศึกษาและการอบรม โดยการอบรมนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Business Knowledge และ Leadership Skills ซึ่งทางเอสซีจีได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 0.19 ของรายได้ของบริษัทในปี 2550

สำหรับผู้ที่ผ่านหลักสูตรทั้งหมดแล้วและได้ขึ้นเป็นผู้บริหาร ทางเอสซีจีได้จัดหลักสูตรอบรมเพิ่มเติมได้แก่ Advance Management Program (AMP) และ Executive Development Program (EDP) โดยหลักสูตรแรกเอสซีจีร่วมมือกับ ฮาวาร์ด บิสสิเนสท สคูล และวาร์ตัน บิสสิเนส สคูล ส่วนหลักสูตร EDP ร่วมมือกับ โคลัมเบีย บิสสิเนส สคูล ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับฝึกอบรมผู้บริหารนี้จะแยกอิสระออกจากงบพัฒนาบุคคลหลัก

ปัจจุบันเอสซีจีมีนโยบายในการกระจายอำนาจ (Empowerment)

เพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าได้รับอิสระในการทำงาน มีการเสริมสร้างบทบาทผู้นำในด้านการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งหลักการและกลยุทธ์ที่สำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของเอสซีจี ประกอบด้วย

Merit System ระบบคุณธรรม

ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์ มีการโปรโมตยกย่อง แต่งตั้งคนเก่ง คนดี ทำงานดี ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นได้ตลอดเวลาFairness มีความเป็นธรรม มีเหตุผล มีข้อมูลสนับสนุนในการเลื่อนลำดับขั้น หรือเลือกคนให้ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยไม่มีความลำเอียง ไม่มีการเลือกสถาบัน มีระบบกรรมการดูแลพนักงานทั้งเครือ

Best recruit and retain กระบวนการในการสรรหาบุคลากรใหม่ที่ดีที่สุด

Training and development ใช้งบประมาณ 400-500 ล้านบาทต่อปี เฉพาะ Classroom Training ซึ่งยังไม่รวม On the job training หรือส่งไปอบรมทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้ เพราะเอสซีจีถือว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดที่ต้องเลือกสรรผ่านกระบวนการคัดเลือกที่โปร่งใส เป็นธรรม เปิดโอกาสให้ทั้ง 2 ฝ่ายคือองค์กร และผู้สมัคร ได้มีโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและกัน บริษัทให้ความสำคัญกับผู้นำระดับต่างๆ โดยพนักงานแต่ละระดับจะมีบทบาทภาวะผู้นำตั้งแต่

1.พนักงานระดับจัดการ (Management Level) ที่ต้องสามารถทำให้คนในองค์กรเห็นทิศทางอนาคตขององค์กร

2.พนักงานระดับบังคับบัญชา (Supervisory Level) เป็นผู้ที่นำนโยบายกลยุทธ์และทิศทางต่างๆ ที่ผู้บริหารระดับสูงได้ให้แนวทางไว้ แล้วนำไปสื่อและปฏิบัติได้เกิดผลในหน่วยงานของตนเอง

3.ผู้สามารถหยิบนโยบาย กลยุทธ์และทิศทางที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดนำไปใช้ให้เกิดผลสำเร็จ

4.พนักงานระดับปฏิบัติการ (Operation Level) กับความสามารถปฏิบัติงานตามแนวนโยบายในทิศทางเดียวกัน

ทางเอสซีจีมีนโยบายพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกลวิธีให้บุคลากรอยู่กับองค์กร มีการดำเนินการดังนี้

ประการแรก ถือเป็นการลงทุนในระยะยาว เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ

ประการที่สอง เพื่อพัฒนาพนักงานทุกวิชาชีพ ทุกระดับและทุกคน

ประการที่สาม พัฒนาอย่างเพียงพอต่อเนื่อง และสอดคล้องกับ competency ของพนักงาน

ประการที่สี่ ส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้ด้วยตนเอง

นอกจากนี้ยังมีการสร้างระบบประเมินพฤติกรรมให้กับผู้นำ เพื่อให้ผู้นำได้รับข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากบุคคลรอบด้านทั้งผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกัน โดยผ่านเครื่องมือต่างๆเช่น ไอ-บอร์ด ระบบการประเมิน 360 องศา เป็นต้น

แนวทางสร้างและพัฒนาผู้นำของเอสซีจี มีเครื่องมือประกอบด้วย

1.Systematic Approach คือระบบการสร้างบุคลากรที่ทรงประสิทธิภาพแก่องค์กร มีทั้งการสร้างและพัฒนาผู้นำผ่านกระบวนการด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีขั้นตอนกลั่นกรองและพัฒนาพนักงานนับตั้งแต่การสรรหาและคัดเลือกที่เน้น “คนเก่ง” และ “คนดี” จากแหล่งที่มาต่างๆ ทั้งจากผู้จบการศึกษาใหม่ และผู้ผ่านประสบการณ์การทำงานมาแล้ว และเมื่อได้เข้ามาทำงานกับเอสซีจี พนักงานทุกคนจะได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นระบบและด้วยความเป็นธรรม เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาเติบโตตามาสายอาชีพและได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมต่อไป

2.Informal Approach การเป็นต้นแบบของผู้นำ ซึ่งซีอีโอของเอสซีจีมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ธุรกิจของบริษัทก้าวไปสู่การเป็นธุรกิจระดับนานาชาติ และต้องการให้เอสซีจีเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ดังนั้น จึงมุ่งหวังให้ผู้นำในทุกระดับต้องแสดงวิธีคิด และปฏิบัติงานให้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ซึ่งรวมถึงการเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงด้วย

ยิ่งไปกว่านั้นเอสซีจียังใช้แนวคิด“การบริหารสมรรถนะความาสามารถ” (Competency Based Management) เพื่อให้การจัดการทรัพยากรบุคคลมีความชัดเจน ต่อเนื่อง และสนับสนุนความสำเร็จตามกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้น รวมทั้งยังมีการสร้างเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยระดับโลกเพื่อผลักดันให้บุคลากรของเอสซีจีมีความรู้ความสามารถระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค

 27048
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

หลาย ๆ คนคงทราบดีอยู่แล้วว่า สวัสดิการพนักงาน นั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ทางบริษัท หรือนายจ้างมอบให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างทุก ๆ คน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของลูกจ้างและเพื่อให้ลูกจ้างมีสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานที่ดีขึ้นก็ตาม แต่สิ่งที่ได้รับมาเหล่านั้นก็ต้องถูกนำไปคิดคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินของเราในการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในรอบปีบัญชีนั้น ๆ เว้นแต่สวัสดิการต่าง ๆ ที่เราได้รับ จะถูกจัดอยู่ในข้อบัญญัติตามกฎหมายให้มีการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่จะมีสวัสดิการตัวใดกันที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมาคำนวณภาษี ค่าคลอดบุตรถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ ค่าเบี้ยเลี้ยงทางภาษี ถือเป็นสวัสดิการที่ได้รับการยกเว้นหรือเปล่า และค่าเดินทางเหมาจ่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
22784 ผู้เข้าชม
องค์กรที่ก้าวหน้าอย่างยอดเยี่ยมนั้นมักจะมีผู้นำที่ดีเป็นหัวเรือองค์กรเสมอ ตลอดจนใส่ใจในผู้นำระดับล่างๆ ลงมาที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพในการบริหารงานและบริหารคนได้อย่างดีเยี่ยมไปพร้อมๆ กัน ผู้นำในยุคเก่านั้นอาจต้องเชี่ยวชาญในการใช้อำนาจสั่งการ บริหารคนให้อยู่ในระบบระเบียบ
1173 ผู้เข้าชม
ไม่มีการนิยามความหมายภาษาไทยชัดเจนสำหรับคำว่า Company Outings แต่มนุษย์ออฟฟิศส่วนใหญ่เข้าใจความหมายและชื่นชอบคำนี้กันเป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า Outings (เอาท์ติ้ง) ซึ่งนี่ก็คือกิจกรรมที่ออกไปทำอะไรร่วมกันประจำปีของบริษัทนั่นเอง
3286 ผู้เข้าชม
ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศไทยนั้นนับวันยิ่งมีความดุเดือดมากขึ้น หากองค์กรหยุดนิ่งหรือไม่พัฒนาเท่าที่ควร ก็อาจส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กรได้ ดังนั้น ผู้บริหารในแต่ละองค์กรจึงต้องวางแผนสร้างหนทางให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอดและพัฒนาเหนือคู่แข่งให้ได้ และปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความมั่นคงและการพัฒนาขององค์กรก็คือ การมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมาทำงานในองค์กร และเมื่อได้บุคลากรดังกล่าวมาแล้ว จะทำอย่างไรเพื่อดึงดูดให้บุคลากรเกิดความรู้สึกรักและอยากทำงานให้กับองค์กรไปนานๆ ซึ่งแน่นอนว่าการมีสวัสดิการที่ดีและเหมาะสมเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นแรงดึงดูดให้พนักงานอยากทำงานกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง หรือสวัสดิการอื่นๆ เช่นมีรางวัลพิเศษจากการจัดแข่งขันกีฬาภายในบริษัท ซึ่งผู้เขียนขอหยิบยกประเด็นทางภาษีอากรของเงินรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันกีฬาภายในบริษัท
2831 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์