ปัญหาวุ่น ๆ ของการประสานงาน

ปัญหาวุ่น ๆ ของการประสานงาน

“ น้อง ทำไมไม่แจ้งล่วงหน้าเนี่ย มาบอกตอนนี้ใครจะทำทันล่ะ ” หรือ “ เอาอีกแล้ว เจ้านี้ลืมจัดของว่างให้ผู้เข้าอบรมอีกแล้ว อุตสาห์โทรไปเตือนตั้งหลายครั้งแล้ว ก็ดันลืมจนได้ ” เหนื่อยใจไหมค่ะกับการติดต่อประสานงานที่ไม่ได้ดั่งใจ อลิสเชื่อว่ากระบวนการติดต่อประสานงานย่อมเกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ที่ใดมีการติดต่อประสานงาน ที่นั่นย่อมต้องมีปัญหาเกิดขึ้น สุดแล้วแต่ว่าใครจะเจอปัญหามากหรือน้อยกว่ากัน

ไม่มีใครที่ไม่เคยเจอปัญหาในการติดต่อประสานงาน แม้แต่ตัวอลิสเองก็ยังต้องเจอะเจอกับเรื่องวุ่น ๆ ในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นเลย แต่สิ่งสำคัญก็คือ จะเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างไร พบว่าโดยส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดต่อประสานงานมักจะเป็นเรื่องของการบริหารคน เราไม่สามารถบังคับให้ใครทำอะไรตามใจเราได้ คนเป็นเรื่องที่เราควบคุมค่อนข้างลำบาก เรื่องหนักใจอยู่ที่ว่า เราต้องไปติดต่อประสานงานกับคนที่คุยกันแล้วจูนกันไม่ติด พูดกันไม่รู้เรื่อง คิดกันคนละอย่าง และที่ซ้ำร้ายหากคุณต้องไปติดต่อประสานงานกับคนที่ไม่ถูกชะตากัน รับรองว่าใครก็ใคร จะต้องคิดมาก กลุ้มใจ หรือมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาสารพัด

ไม่มีใครที่ไม่เคยเจอปัญหาในการติดต่อประสานงาน แม้แต่ตัวอลิสเองก็ยังต้องเจอะเจอกับเรื่องวุ่น ๆ ในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นเลย แต่สิ่งสำคัญคือ จะเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างไร พบว่าโดยส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดต่อประสานนั้นหนีไม่พ้นสาเหตุของเรื่องวุ่น ๆ ดังต่อไปนี้

ให้ข้อมูลล่าช้าเกินไป

การที่เราติดต่อประสานงานกับอีกหน่วยงานหนึ่งล่าช้า นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าเรามัวแต่รอข้อมูลจากอีกหลายหน่วยงาน จึงทำให้เราส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องล่าช้าตามไปด้วย ปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อย่างเช่น เพื่อนของอลิสมักจะบ่นว่า ตัวเองต้องถูกพี่อีกหน่วยงานหนึ่งบ่นว่าทำงานไม่เป็น ซึ่งเพื่อนของอลิสก็ไม่รู้จะตอบว่าอย่างไร น้ำท่วมปาก บอกไปก็จะเข้าทำนองว่า “ แก้ตัว ” เพราะจริง ๆ แล้วคนที่ทำงานช้าคือ หัวหน้างานของตนที่ตรวจสอบงานให้ช้า และหากคุณเจอะเจอกับสถานการณ์แบบนี้ อลิสว่า ไม่ต้องคิดมากค่ะ ทำใจให้สบาย คิดเสียว่านั่นไม่ใช่ความผิดของเรา จะกลุ้มใจไปทำไมกัน

เพิกเฉย และหลงลืม

เรื่องวุ่น ๆ อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเพิกเฉย ไม่สนใจว่าเป็นหน้าที่ของตนเองที่จะต้องติดตาม ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ คิดว่าไม่ใช่เรื่อง ไม่ใช่หน้าที่ ไม่เห็นความจำเป็น หรือไม่เห็นความสำคัญของการติดต่อประสานงาน คิดเสียแต่ว่ารอให้เค้ามาติดต่อกับเราเองไม่ดีกว่าหรือ และบางคนยิ่งซ้ำร้ายใหญ่ นัดแล้ว แต่กลับลืมนัดที่รับปากไว้ ทำเอาอีกฝ่ายเดือดร้อนตาม ๆ กัน เหตุเพราะมัวแต่คอยมาแก้ไขปัญหาจากการติดต่อประสานงานที่อีกฝ่ายลืมนัดของเรา

รับ - ส่งข้อมูลผิดพลาด

การรับ และส่งมอบข้อมูล รายงาน เอกสารที่ผิดพลาด ย่อมนำไปสู่การติดต่อประสานงานที่ไม่รู้จบ คนบางคนยังไม่ทันฟัง กลับด่วนสรุปตามอำเภอใจ หรือคนบางคนเอาเร็วไว้ก่อน ส่งข้อมูลให้ด้วยความรวดเร็ว แต่ข้อมูลที่นำส่งให้กลับพบแต่ข้อผิดพลาด อลิสขอนำเรื่องของเพื่อนสนิทมาเม้าท์ให้ฟังค่ะ มีอยู่ครั้งหนึ่งเค้าส่งข้อมูลแจ้งการฝึกอบรมให้ลูกค้าในองค์กร ต่าง ๆ ผิดพลาด ทำเอาหัวหน้างานต้องใช้เวลาในการติดต่อประสานงานกับลูกค้าในแต่ละองค์กรเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดนี้

เห็นไหมค่ะว่า อะไรคือต้นเหตุของเรื่องวุ่น ๆ จากการติดต่อประสานงานที่ผิดพลาด พบว่าการประสานงานที่ไม่ได้ดั่งใจ เพราะอีกฝ่ายส่งข้อมูลให้ช้า เพิกเฉย หรือหลงลืม หรืออีกฝ่ายส่งมอบข้อมูลให้ผิดพลาด เหตุการณ์เช่นที่ว่านี้ถือว่าเป็นประเด็นปัญหาที่น่าปวดหัว บางคนถึงขนาดกินยาแก้ปวดหัว เพราะไมเกรนขึ้น หรือบางคนถึงขนาดกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะมัวแต่นั่งกลุ้มใจและโทษตนเองว่าเป็นความผิดของเรา อลิสเชื่อว่า ไม่มีใครที่อยากจะเจอกับสถานการณ์ของการติดต่อประสานงานที่ไม่ได้ดั่งใจ อลิสขอให้ทุกคนที่อยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ตั้งสติ ค่อยๆ คิดว่าเราจะแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างไร เพราะสติจะทำให้เราเกิดสมาธิ และปัญญาในการแก้ไขปัญหาที่

 8581
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

นายปรี๊ดค้นเจอบทความชิ้นหนึ่งของผู้เขียน ชื่อ นาเดีย กูดแมน จากเว็บไซต์ ideas.ted.com ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ ดร.เคลลี่ แมคกอนิกัล (Kelly McGonigal) อาจารย์สาขาจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด ผู้เขียนหนังสือ “The Willpower Instinct” ซึ่งถูกแปลมากว่า 10 ภาษาและประสบความสำเร็จมากในประเทศญี่ปุ่น เป็นหนังสือสไตล์ฮาวทู (how to) เผื่อใช้จัดการวินัยในตนเอง บนฐานคิดและหลักฐานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเอง
1162 ผู้เข้าชม
เราสามารถสร้างการคัดสรรพนักงานด้วยวิธีการที่ไม่เหมือนใครขึ้นมาได้ มากกว่าแค่การเรียกมานั่งสัมภาษณ์งานเท่านั้น ซึ่งกระบวนการต่างๆ สามารถที่จะทดสอบตลอดจนวัดค่าในมุมต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นและมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย ที่สำคัญกระบวนการสรรหาที่คัดสรรนี้ยังช่วยสร้างการรับรู้ที่ดีในองค์กรได้เช่นกัน เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีวิธีการคัดสรรที่สร้างสรรค์อะไรที่น่าสนใจกันบ้าง
2347 ผู้เข้าชม
"Mindset" เป็นกรอบแนวคิด ความเชื่อ มุมมอง และทัศนคติที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู การศึกษา ประสบการณ์ที่ผ่านมา และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาก่อน ถือว่าเป็นส่วนที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Model) ที่มองเห็นและประเมินได้ยากว่าแต่ละคนจะมี Mindset กันแบบใด และต้องใช้เวลาในการพัฒนา Mindset นั้น โดยมีความเชื่อว่า Mindset จะส่งผลต่อไปยังพฤติกรรมที่เป็นการแสดงออกของแต่ละบุคคล (Behavior)
2343 ผู้เข้าชม
เรื่องของการทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานนั้น มีการพูดถึงกันมาก็หลายปีแล้ว มีองค์กรในประเทศไทยที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ สร้างพนักงานให้มีความสุขในการทำงาน เพราะเชื่อว่า พนักงานที่มีความสุขในการทำงานนั้น จะสามารถสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง แต่ตรรกะนี้ เป็นจริงหรือ พนักงานที่มีความสุขในการทำงาน จะทำให้องค์กรมีผลงานที่ดีขึ้นจริงๆ หรือ
2977 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์