ประกันไม่ได้มีไว้แค่ลดหย่อนภาษี แต่มีไว้เพื่อ...

ประกันไม่ได้มีไว้แค่ลดหย่อนภาษี แต่มีไว้เพื่อ...

ถ้ามีใครสักคนพูดขึ้นมาว่า “อยากวางแผนลดหย่อนภาษี” เชื่อเลยครับว่าต้องมีคนแนะนำ “ประกันชีวิต” ตามมาทันทีเป็นตัวเลือกแรกๆ แถมบางคนมักจะตบท้ายด้วยประโยคว่า เลือกประกันชีวิตนอกจากได้ลดหย่อนภาษีแล้ว เงินต้นยังไม่หาย แถมได้รับผลตอบแทนอีกด้วยนะ

ประโยคทั้งหมดที่ว่ามานี้ ไม่ใช่เรื่องเข้าใจผิดหรือไม่ดีหรอกนะครับ เพียงแต่เราควรเช็คให้ดีก่อนว่า การลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตนั้น มันช่วยตอบโจทย์ในทุกมุมมองของชีวิตและเป้าหมายที่เราต้องการไว้หรือไม่ เพราะวันนี้มีประกันมากมายหลากหลายรูปแบบที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน แต่ที่สำคัญคือเราจะเลือกให้มันถูกต้องและคุ้มค่าอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว ประกันชีวิตที่คนส่วนใหญ่นิยมทำกัน มักจะเป็น ประกันชีวิตออมทรัพย์ (หรือสะสมทรัพย์) ด้วยเหตุผลตามที่ว่ามา (ลดหย่อนภาษี เงินต้นไม่หาย ได้ผลตอบแทน) แต่จริง ๆ แล้วยังมีประกันมากมายอีกหลายแบบซึ่งมีประโยชน์แตกต่างกันไปตามเป้าหมายของแต่ละคน


ดังนั้นคำถามสำคัญจริงๆ คือ นอกจากสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีที่เราได้รับแล้ว เราได้เลือกประกันชีวิตได้อย่างคุ้มค่า เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายชีวิตของเราหรือเปล่า?

จากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีกับวงการการเงินมาบ้าง ผมสังเกตเห็นว่า บางคนมีการทำประกันชีวิตซ้ำซ้อน โดยเน้นที่ผลตอบแทนที่ได้รับให้รู้สึกว่าคุ้มค่าก่อน โดยไม่สนใจด้วยว่าความคุ้มครองที่ตัวเองได้นั้นมันเป็นแบบไหน? และไม่ได้สนใจด้วยซ้ำว่า จริงๆตัวเองต้องการอะไร แถมบางคนยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าประกันชีวิตที่ลดหย่อนภาษีได้นั้นมี 4 ประเภทที่แตกต่างกันไป

ประกันไม่ได้มีไว้แค่ลดหย่อนภาษี แต่มีไว้เพื่อ...

โดยบางคนอาจจะเลือกซื้อแต่ประกันแบบสะสมทรัพย์ โดยมีเป้าหมายที่ได้รับเงินจริงเมื่อถึงช่วงเวลาที่กำหนด แต่ไม่ได้ความคุ้มครองที่เพียงพอต่อความต้องการจริงๆ หรือบางคนอาจจะจ่ายประกันชีวิตตลอดชีพโดยที่ไม่ได้ต้องการระยะเวลาการคุ้มครองที่ยาวนานขนาดนั้น ฯลฯ

แล้วประกันชีวิตที่ลดหย่อนภาษีได้นั้น มันมีเงื่อนไขอย่างไร? 

สำหรับคนที่สนใจว่าประกันชีวิตแบบไหนลดหย่อนภาษีได้นั้น เรามาดูกันที่เงื่อนไขตามกฎหมายกันดีกว่าครับ เพื่อที่จะได้เช็คอีกทีว่า ประกันชีวิตที่เรามีอยู่นั้น มันสามารถลดหย่อนภาษีได้ถูกต้องตามกฎหมายหรือเปล่า

1. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิต 

กลุ่มนี้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท โดยกลุ่มนี้จะหมายความรวมถึงเบี้ยประกันชีวิตทั้ง 3 แบบด้านบน นั่นคือ แบบสะสมทรัพย์ แบบชั่วระยะเวลา และแบบตลอดชีพ


ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ การหักค่าเบี้ยประกันจะหักได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าหากคู่สมรสมีรายได้จะหักสูงสุดได้ถึง 100,000 บาทครับ

สำหรับเรื่องของเงื่อนไขนั้น จะมีเรื่องของระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย ได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี ฯลฯ 

2. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 

สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท กลุ่มนี้จะเป็นเงื่อนไขจำนวนเงินแยกออกมาจากประกันชีวิต 3 ประเภทในข้อ  1 ครับ


นอกจากนั้น ประกันชีวิตแบบบำนาญ ถือเป็นตัวลดหย่อนภาษีที่เป็นการวางแผนเกษียณ ซึ่งจะมีเงื่อนไขแยกต่างหากของกลุ่มนี้ครับ คือ ยอดรวมของ RMF + กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน + กองทุนการออมแห่งชาติ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทอีกด้วยครับ

สำหรับเงื่อนไขประกันชีวิตแบบบำนาญนั้นจะมีเรื่องของ ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป  ทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และมีการ จ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ และกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อเรามีอายุตั้งแต่ 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น ่รวมถึงต้องจ่ายเบี้ยประกันครบก่อนได้รับผลประโยชน์อีกด้วยครับ


สำหรับการทำประกันชีวิตทั้ง 2 กลุ่มนี้ ถ้าใครอยากรู้ว่าตัวเองมีค่าเบี้ยประกันที่จ่ายเท่าไร ผมแนะนำว่าให้เน้นความสำคัญตรง ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันที่ระบุไว้ว่าเป็นค่าประกันชีวิตเท่าไร ตรงนี้ข้อมูลจะชัดเจนที่สุดครับ

นอกจากนั้นยังมีเรื่องของประกันสุขภาพต่างๆ ที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะครับ เช่น เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง หรือ เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : aommoney.com

 907
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวนึงที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว
816 ผู้เข้าชม
เวลาเราให้คนออกจากงานไปนั้นมักเป็นการง่ายที่โทษว่า “ก็เป็นความผิดของพนักงานคนนั้นเอง” ทั้งนี้เป็นเพราะมาตรการการ เลิกจ้างนั้นเป็นมาตรการที่ควรใช้เมื่อพนักงาน “มีอาการ” ที่สมควร ที่จะต้องให้ออกจากงานไปจริง ๆ เช่น ไม่มีวินัยในการทำงาน ชอบสร้าง ปัญหาต่าง ๆ นานาให้กับหน่วยงาน สร้างความแตกแยกในหมู่ เพื่อนร่วมงาน เฉื่อยหรือหย่อนสมรรถภาพในการทำงานจนเป็นตัวถ่วง ผลการปฏิบัติงานขององค์กรที่ไม่อาจปล่อยไว้ได้ เป็นต้น
1886 ผู้เข้าชม
“ภาษี” อาจเป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนหลายคนคิดว่ายุ่งยากและน่าปวดหัวที่สุด โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มก้าวแรกของชีวิตการทำงานและยังไม่เคยมีประสบการณ์การยื่นแบบเพื่อจ่ายภาษีประจำปีมาก่อน คุณอาจมีคำถามและข้อสงสัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนของเราต้องจ่ายภาษีมั้ย? จ่ายภาษีอย่างไร? แล้วเงินภาษีส่วนเกินที่จ่ายไปนั้นจะได้คืนหรือเปล่า?
4041 ผู้เข้าชม
การทำ Succession Planning เชิงรุกเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดพนักงานในตำแหน่งสำคัญๆ ได้มาก เพราะบริษัทจะทำการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเป็นระยะๆ มีการสรรหา พัฒนา และตระเตรียมคนไว้ทดแทนอยู่ตลอดเวลา แทนที่จะรอพนักงานคนเก่งลาออกไปแล้วค่อยมาคิดหาคนทดแทน ซึ่งกว่าจะหาคนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงมาทดแทนได้ก็ยาก และบางทีก็ใช้เวลานาน
9117 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์