• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ฝ่าย HR จะช่วย Reskill บุคลากรอย่างไรให้สอดรับกับองค์กรยุคใหม่

ฝ่าย HR จะช่วย Reskill บุคลากรอย่างไรให้สอดรับกับองค์กรยุคใหม่

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ฝ่าย HR จะช่วย Reskill บุคลากรอย่างไรให้สอดรับกับองค์กรยุคใหม่

ฝ่าย HR จะช่วย Reskill บุคลากรอย่างไรให้สอดรับกับองค์กรยุคใหม่

ต้องยอมรับว่าทันทีที่โลกก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายและรวดเร็ว นั่นรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพ และการปฎิวัติทางการทำงานที่ทุกฝ่ายต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ตั้งแต่ตัวองค์กรเองไปจนถึงพนักงานทุกระดับ ปฎิเสธไม่ได้ว่าตัวแปรสำคัญก็คือการเข้ามามีบทบาทของโทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เหล่านวัตกรรมทั้งหลายต่างก็เป็นประโยชน์และมีศักยภาพอย่างมากในการทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และนั่นเองที่ทำให้มันเริ่มเข้ามาทดแทนงานหลายอย่างของมนุษย์ ตลอดจนบุคลากรแต่ละฝ่ายในองค์กรใดก็ตามต่างก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีให้ทัน ใช้งานให้เป็น นำเทคโนโลยีมาเสริมประโยชน์ให้กับการทำงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถอยู่ในตลาดแรงงานตลอดจนองค์กรได้ต่อไป

หนึ่งในวิธีรับมือตลอดจนแก้ไขกับปัญหา “การปฎิวัติทางอาชีพ (Career Disruption)” ที่กำลังเกิดขึ้นไปทั่วโลกนี้ก็คือการที่ต้อง Reskill เรียนรู้ทักษะใหม่เพิ่มเติม และปฎิวัติทักษะเดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถประยุกต์ทักษะเดิมของตนเองให้เข้ากับการทำงานยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์สำหรับงานของตน เราจะเริ่มเห็นว่าหลายองค์กรทั่วโลกหรือแม้แต่ในไทยเองก็ตามก็เริ่มมีการนำเอาแนวคิด Reskill นี้มาใช้กันบ้างแล้ว เพื่อเตรียมปรับองค์กรตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในครั้งนี้ได้ทัน

Reskill คืออะไร

คำว่า Reskill นี้หากดูความหมายจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษที่น่าเชื่อถือของโลกหลายๆ แหล่งจะพูดในทำนองเดียวกันว่า Reskill นี้ก็คือการปรับปรุง เรียนรู้ พัฒนาทักษะเก่าของตนเอง ตลอดจนเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อที่จะสามารถทำงานใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น นั่นเป็นโจทย์สำคัญสำหรับคนยุคปัจจุบันที่เริ่มหันมาเปลี่ยนแปลงตัวเองให้สามารถทำงานร่วมกับทักษะวิชาชีพยุคใหม่ที่องค์กรต่างๆ ต้องการได้ องค์กรเองก็มีโปรแกรมในการพัฒนาบุคลากรในการเพิ่มทักษะวิชาชีพเดิมและเสริมทักษะวิชาชีพใหม่ๆ เช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเตรียมให้บุคลากรของตนเองสามารถรองรับงานได้หลากหลายประเภทมากขึ้น ตลอดจนหากบุคลากรไม่ได้ทำงานกับองค์กรแล้วออกสู่ตลาดแรงงานภายนอกก็สามารถที่จะมีทักษะหลากหลายรูปแบบเพื่อที่จะไปต่อยอดในงานสายต่างๆ ได้มากมายขึ้นด้วยนั่นเอง

ทักษะของบุคลากรยุคศตวรรษที่ 21

ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้โลกของการทำงานเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก หลายองค์กรหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงกว่า และประหยัดต้นทุนได้มากกว่าการจ้างคนมาทำงานได้ด้วย หลายองค์กรเริ่มลดพนักงานลง ในขณะที่มนุษย์ก็ยังมีความจำเป็นในองค์กรอยู่แต่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบไป นั่นทำให้ใครที่สามารถปรับตัวได้ก่อน มีศักยภาพที่สอดคล้องกับองค์กรยุคใหม่ได้มากกว่า ก็มีสิทธิที่จะได้งานมากกว่าเช่นกัน สำหรับทักษะในการทำงานยุคศตวรรษที่ 21 นี้จะแตกต่างไปจากยุคศตวรรษก่อนๆ ที่ผ่านมาที่องค์กรต้องการทักษะทางวิชาชีพเฉพาะตัว คนคนนึงพัฒนาทักษะวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งให้ชำนาญไปเลย เพื่อรองรับกับแต่ละงานหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ แต่ในยุคนี้คนที่มีศักยภาพมากกว่าคือคนที่มีทักษะวิชาชีพที่หลากหลายขึ้น รวมถึงมีทักษะวิชาชีพเฉพาะทางที่ลงลึกขึ้น มีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น ตลอดจนการมีทักษะวิชาชีพที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานในยุคปัจจุบัน เราลองมาดูกันดีกว่าว่าทักษะวิชาชีพสำหรับศตวรรษที่ 21 ควรเป็นอย่างไรบ้าง

1.Tech & Digital Skill – ทักษะทางเทคโนโลยีและดิจิทัล 

ผู้ที่มีความรู้เรื่องความสามารถในด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลนั้นจะเป็นผู้ได้เปรียบในการทำงานยุคใหม่นี้มากกว่า เพราะแทบทุกอุตสาหกรรมบนโลกยุคใหม่นี้ต่างก็มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น บุคลากรที่มีทักษะเกี่ยวกับ Programing การเขียนโปรแกรมต่างๆ, IOT-Internet of Things, Technology Innovation นวัตกรรมทางเทคโนโลยี, ตลอดจน Specialist Digital Skill ทักษะเฉพาะทางด้านดิจิทัลทั้งหลาย ต่างก็เป็นแรงงานที่มีมูลค่าการจ้างงานสูง และเป็นที่ต้องการเป็นจำนวนมาก มากกว่าทักษะวิชาชีพพื้นฐานทั่วไป

2.Mixed Skill – ทักษะผสมผสาน 

ใครที่มีทักษะในการทำงานหลากหลายรูปแบบในคนเดียวกันมากกว่ากันก็ย่อมจะเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานมากกว่าคนที่มีทักษะเฉพาะอย่างเพียงด้านเดียว ซึ่งองค์กรก็จะคุ้มค่ากว่าในการจ้างงานอีกด้วย การเพิ่มทักษะให้กับตัวเองที่มีประโยชน์ต่อการทำงานมากขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น และสามารถพัฒนาปรับตัวเองให้ก้าวทันตามโลกได้ อย่างเช่น การเพิ่มเติมทักษะในด้านเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปกับทักษะเดิมของตนเอง ก็จะทำให้เราได้เปรียบขึ้น เพราะทุกงานในยุคนี้ต่างนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์กันแทบทั้งสิ้น หรือการเพิ่มทักษะอื่นๆ ให้ตัวเองที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับสายงานเดิมๆ เพื่อรองรับตลาดแรงงานที่หลากหลายขึ้น

3.Business Skill – ทักษะทางด้านธุรกิจ

แทบจะทุกธุรกิจต่างก็ต้องการทักษะทางธุรกิจมาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรทั้งนั้น เพราะนี่คือจุดที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้นั่นเอง การที่มีทักษะทางด้านธุรกิจตลอดจนการตลาดนั้นจะเป็นข้อได้เปรียบที่สามารถทำงานได้หลากหลายประเภทและทุกองค์กร แต่ผู้ที่มีทักษะทางด้านธุรกิจนี้ก็ควรพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มเติมเพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้เรามีข้อได้เปรียบมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกันหลายสาขาอาชีพต่างก็สามารถพัฒนาทักษะธุรกิจเพิ่มเติมให้กับทักษะพื้นฐานของตนเองได้ ตลอดจนพัฒนาเป็นอีกทักษะที่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้หลากหลายขึ้นมากด้วย ซึ่งองค์กรหลายองค์กรนั้นต้องการทักษะวิชาชีพเฉพาะทางที่มีความรู้เรื่องการตลาด มากกว่าต้องการนักการตลาดที่ไม่มีความรู้เฉพาะทางในวิชาชีพมาเสริมทัพ ดังนั้นจึงเป็นทักษะที่หากมีเพิ่มเติมก็จะช่วยเสริมสร้างศักยะภาพของเราให้ดีมากขึ้นได้

4.Innovative & Creative Skill – ทักษะทางด้านนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ 

ในยุคนี้เรื่องของนวัตกรรมไม่ได้จำกัดอยู่แค่แวดวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเท่านั้น แล้วการสร้างสรรค์ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่แวดวงศิลปะหรือการออกแบบต่างๆ เพียงอย่างเดียว แต่สองสิ่งนี้เข้าไปมีบทบาทในแทบทุกองค์กรและทุกธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะนี่คือสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ยอดเยี่ยมนั่นเอง ทุกวันนี้หลายองค์กรใช้นวัตกรรมและการสร้างสรรค์เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับตนเองทั้งสิ้น ใครที่มีทักษะในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนสิ่งสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้คนนั้นก็ย่อมจะเป็นคนที่ได้เปรียบในยุคนี้ เพราะแทบทุกองค์กรต่างก็แข่งขันกันสร้างนวัตกรรมของตนเองขึ้นมาเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับทั้งผู้อื่นและกับงานในองค์กรของตนเองด้วย

5.Flexible Skill – ทักษะยืดหยุ่นในการทำงาน 

ทักษะนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับทักษะวิชาชีพมากนัก แต่เป็นทักษะของความยืดหยุ่นในการทำงาน ระบบการจ้างงาน ตลอดจนการปรับตัวในรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมลงตัวกับแต่ละธุรกิจ อย่างเช่น องค์กรก็ต้องลดภาระต้นทุน ไม่ใช่ว่าจะแบกภาระในการจ้างงานที่ต้องมีภาระตามมาอีกมากมาย บางตำแหน่งก็อาจจะไม่มีการจ้างประจำแล้ว เปลี่ยนไปเป็นการจ้างแบบสัญญาจ้างชั่วคราวหรือระบบฟรีแลนซ์แทน อีกอย่างยุคนี้คนทำงานรุ่นใหม่มักไม่ชอบทำงานประจำ หลายองค์ก็เริ่มปรับตัวในการเพิ่มระบบจ้างงานแบบฟรีแลนซ์มากขึ้น เพราะบางตำแหน่งก็ไม่จำเป็นต้องจ้างมานั่งประจำ แต่จ้างเป็นลักษณะงานไปจะดีกว่า อีกทั้งยังได้ลองทำงานหลากหลายรูปแบบกับคนหลากหลายประเภทอีกด้วย ก็เป็นประโยชน์สำหรับทุกภาคส่วน ทักษะยืดหยุ่นนี้ยังรวมไปถึงการสามารถทำงานได้หลากหลายทักษะ เปลี่ยนแผนกทำงานได้ รองรับงานได้มากกว่าทักษะของตน ตลอดจนสามารถโยกย้ายไปทำงานในตำแหน่งที่องค์กรต้องการได้ ซึ่งความยืดหยุ่นนั้นมีได้หลากหลายลักษณะ และผู้คนที่สามารถรองรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้ดีนั้นก็ย่อมเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าของแต่ละองค์กรเสมอ

6.Learning & Development Skill – ทักษะในการเรียนรู้และพัฒนา 

ด้วยโลกที่เปลี่ยนไปไวมาก ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนยุคนี้ก็คือคนที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ และไม่หยุดในการที่จะพัฒนาตนเอง เพราะองค์กรต้องการที่จะเสริมความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานอยู่เสมอ ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็ว และเราต้องเรียนรู้ให้ทัน นำความก้าวหน้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์กับทักษะวิชาชีพและการทำงานของตนให้ได้ ดังนั้นจึงต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา ไม่ขี้เกียจ ไม่เป็นน้ำเต็มแก้ว เปิดรับการเรียนรู้ได้ไม่จำกัด ขยันในการพัฒนาตนเอง ขณะเดียวกันก็ควรที่จะมีลักษณะนิสัยในการอยากเรียนรู้ หาสิ่งที่เป็นประโยชน์มาพัฒนาองค์ความรู้ตนเองด้วยตัวเองอยู่เสมอด้วย พร้อมที่จะรับองค์ความรู้ที่ไม่คุ้นเคย และเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ได้เสมอ ซึ่งทักษะนี้จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กรในโลกยุคศตวรรษที่ 21 นี้

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) จะช่วย Reskill ให้กับบุคลากรในองค์กรได้อย่างไร

หนึ่งในฝ่ายที่ต้องปรับตัวกับการปฎิวัติทางวิชาชีพ (Career Disruption) มากที่สุดก็คือฝ่ายทรัพยากรบุคคลนี่ล่ะ ทั้งการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้รองรับการปรับตัวสู่ง HR 4.0 ให้ได้ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในทุกภาคส่วนของการทำงานบริหารงานบุคคล ตลอดจนต้องเตรียมพร้อมพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้พร้อมรับมือกับโลกยุคใหม่และธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ฝ่าย HR ควรใส่ใจกันเป็นอย่างมากก็คือการ Reskill ให้กับบุคลากรในองค์กรนั่นเอง มาลองดูกันดีกว่าว่าฝ่าย HR จะมีบทบาทในเรื่องนี้อย่างไรได้บ้าง

  • 1.พัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นให้กับสายงานต่างๆ : องค์ความรู้ที่ควรพัฒนาทักษะเพิ่มให้กับบุคลากรก็คือเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน และเพื่อให้พนักงานได้ปรับตัวใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์มากขึ้นได้ด้วย ตลอดจนให้พนักงานในองค์กรสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการทำงานให้มีประสิทธิภาพในหลากหลายรูปแบบ
  • 2.ฝึกอบรมทักษะใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานให้เพิ่มยิ่งขึ้น : ฝ่าย HR ควรอบรมทักษะใหม่ๆ เพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน และเป็นประโยชน์ต่อตลาดแรงงานในอนาคต เพื่อพัฒนาศักภาพของบุคลากรในองค์กร ตลอดจนเสริมสร้างทักษะในการทำงานให้พนักงานสามารถไปสู่ตลาดแรงงานอื่นๆ ได้ด้วย

  • 3.เสริมการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดรูปแบบและขอบเขตในการเรียนรู้ : ฝ่าย HR เองอาจเสริมสร้างการเรียนรู้ในมิติอื่นๆ ทั้งแบบที่เป็นประโยชน์ส่วนบุคคล แบบที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน หรือทักษะที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ทักษะวิชาชีพเสริม ทักษะงานอดริเรก เป็นต้น เพื่อให้พนักงานมีช่องทางในการหารายได้เพิ่มขึ้น เสริมสร้างองค์ความรู้อื่นๆ ที่จะต่อยอดได้มากขึ้น เสริมสร้างวิชาชีพเสริม ตลอดจนสร้างวิชาชีพใหม่ได้อีกด้วย รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ให้กลายเป็นลักษณะนิสัยติดตัวบุคลากรได้ด้วยเช่นกัน

  • 4.ให้ความรู้บุคลากรในองค์กรเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นและตลาดแรงงานต้องการต่อการทำงานในยุคอนาคต : การเปลี่ยนแปลงหลายๆ ครั้งที่ส่งผลต่อการลดจำนวนบุคลากร หรือการปรับเปลี่ยนลักษณะงานใหม่ให้องค์กรอยู่รอด สิ่งที่ฝ่าย HR ควรให้ความรู้กับพนักงานก็คือแนวโน้มของตลาดแรงงานยุคใหม่ที่ต้องการวิชาชีพอะไร ทักษะสิ่งไหนที่จำเป็น หากสามารถช่วยส่งเสริมพนักงานได้ก็ควรช่วยพัฒนาทักษะนั้นให้กับบุคลากรด้วย หรือหากต้องมีการลดจำนวนพนักงานจริงๆ ก็ให้เขามีองค์ความรู้ที่จะไปต่อยอดในธุรกิจอื่นๆ หรือประกอบวิชาชีพอื่นๆ ที่จำเป็นต่อตลาดแรงงานในยุคใหม่ได้เช่นกัน

  • 5.เตรียมเส้นทางการทำงานที่เหมาะสมไว้รองรับและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเอง : ในส่วนขององค์กรเองก็ต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กร ตลอดจนเส้นทางในการก้าวหน้าในวิชาชีพไว้รองรับกับงานยุคใหม่ด้วย ซึ่งหากเราพัฒนาทักษะให้กับบุคลากรเพิ่มเติม หรือพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้แล้ว ก็ควรมีเส้นทางความก้าวหน้าไว้รองรับ หรือมีการสนับสนุนพนักงานที่มีศักยภาพให้ได้ทำงานที่เหมาะสมกับการพัฒนาตนเอง นั่นยังรวมไปถึงการเกิดขึ้นของตำแหน่งใหม่ๆ ให้เหมาะสมกับตลาดงานในโลกยุคนี้ ที่ต้องสรรหาบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่มีประสิทธิภาพ หรือพัฒนาศักยภาพพนักงานให้เหมาะสมกับทิศทางตำแหน่งใหม่ขององค์กร หรือสร้างตำแหน่งใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับการพัฒนาพนักงานในองค์กรตามวิถีที่บริษัทต้องการนั่นเอง

  • 6.พร้อมรับความคิดเห็นและการเสนอแนะ ตลอดจนปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม : แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงในทุกองค์กรย่อมมีการเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นกลับมาด้วยกันแทบทั้งสิ้น รวมถึงบุคลากรต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนต้องปรับตัวเพื่อให้ทันยุคทันสมัยนี้ ฝ่าย HR เองก็ควรเตรียมมือในการรับการเสนอแนะ การให้คำปรึกษา ตลอดจนนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับทุกฝ่ายให้มากที่สุด ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นจากคนในองค์กรว่าอยากให้องค์กรส่งเสริมหรือพัฒนาทักษะด้านไหนที่เป็นประโยชน์ เพื่อที่จะได้พัฒนาศักยภาพให้ตรงตามความต้องการที่แท้จริง

บทสรุป

ในโลกยุคที่เทคโนโลยีกำลังเข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วน นวัตกรรมหลายอย่างมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงและกำลังเข้ามาแทนที่มนุษย์ ขณะที่แรงงานคนก็ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและองค์กรทั่วโลกอยู่ เพียงแต่อาจเปลี่ยนรูปแบบของวิชาชีพที่ต้องการไป ทักษะที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ตลอดจนจำนวนคนที่ลดลงกว่าแต่ก่อน ปัญหาเหล่านี้กำลังกลายเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังเผชิญและร่วมกันแก้ไข แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเริ่มพัฒนาตนเองก่อนได้ก็คือการ Reskill ทักษะของตนเอง ตั้งแต่การพัฒนาทักษะที่ตนเองมีอยู่แล้วให้เชี่ยวชาญมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาผสานกับทักษะของตนเองให้เกิดประโยชน์และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ตลอดจนการหาทางพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์และตรงกับแนวโน้มที่ตลาดแรงงานกำลังต้องการ ซึ่งองค์กรที่ปรับตัวให้ก้าวหน้าทันยุค เมื่อจับมือกับพนักงานที่มีทักษะการทำงานที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับความต้องการขององค์กรยุคใหม่ หากร่วมมือกันได้อย่างดีเยี่ยมนั้นแน่นอนว่าทั้งคนและองค์กรต่างก็มุ่งหน้าสู่ความสำเร็จได้อย่างมีศักยภาพที่สุดเช่นกัน

สุดท้ายแล้วองค์กรนี่แหละที่จะสามารถมอบโอกาสดีๆ ให้กับพนักงานได้ในการพัฒนาทักษะตลอดจนศักยภาพของตน เมื่อพนักงานเกิดการพัฒนาทักษะยุคใหม่ที่สอดรับกับองค์กรก็จะยิ่งทำให้องค์กรมีโอกาสประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นได้ด้วยเช่นกัน เป็นผลประโยชน์ที่ได้รับกันทุกฝ่าย และเสริมสร้างศักยภาพให้กันทั้งระบบตั้งแต่แรงงาน องค์กร ยันภาคธุรกิจระดับองค์รวมเลยทีเดียว

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : th.hrnote.asia

 2646
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

1.ไม่เป็นไร ผิดพลาดกันได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทำงานผิดพลาดแล้วยังจะมานั่งโทษตัวเองให้เหนื่อยทำไม ให้กำลังใจตัวเองเพื่อทำงานชิ้นต่อไปดีกว่า ยิ่งเรามัวจมกับความผิดพลาดเดิม ๆ เราก็จะทำงานอื่นต่อไม่ได้ สู้เอาความผิดพลาดมาทำให้ถูกต้องในงานชิ้นใหม่ดีกว่า สัจธรรมของชีวิตที่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีใครจำเรื่องของคนอื่นนานหรอก ถึงใครจะว่าเรามากมายแค่ไหน แต่พอเดินพ้นหน้าเราไปเขาก็ต้องคิดเรื่องอื่นแทน แล้วเราจะมาลงโทษตัวเองอยู่ทำไม 2.งานไม่ได้หนักทุกวันสักหน่อย เดี๋ยวก็ได้พักแล้ว เวลางานล้นมือเราอาจท้อ แต่ท้อไปงานก็ไม่เสร็จ ลุกมาทุ่มเททำให้เสร็จ ๆ ไปดีกว่า เหนื่อยแค่ไหนเดี๋ยวก็ได้พัก และสิ่งที่เราต้องทำเมื่องานเยอะ คือจัดระเบียบเส้นตายของงานแต่ละชิ้น เจรจาต่อรองถ้าคิดว่าจะไม่เสร็จตรงเวลา แล้วก็ค่อย ๆ ทำไปทีละงาน เดี๋ยวดีเอง 3.ถึงจะไม่เก่งงานนี้ แต่เราก็พยายามเต็มที่แล้ว บ่อยครั้งที่เราได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด ก็คิดเสียว่าไม่เป็นไร ทำให้เต็มที่ แต่ก่อนทำก็บอกคนที่มอบหมายหน่อยว่าไม่ค่อยถนัดนะ แต่จะทำเต็มที่ ผิดพลาดอะไรก็บอกได้ เขาจะได้ไม่คาดหวังมาก แต่ถ้าทำออกมาแล้วดีก็ถือเป็นกำไร อย่าเสียใจที่ทำงานบางประเภทไม่เก่ง เพราะเราก็อาจจะเก่งในงานประเภทอื่นก็ได้ จำไว้ว่าปลาอาจจะว่ายน้ำเก่งกว่าลูกสุนัข แต่ปลาก็วิ่งไม่ได้เหมือนกัน ถ้าปลาตัวหน่งจะโดดขึ้นมาบนบกแล้วคืบคลานจนถลอกปอกเปิกก็คงไม่มีใครว่าอะไร เพราะมันเป็นปลาจริงไหม
1300 ผู้เข้าชม
อย่างที่ทราบกันว่าเอกสารทางราชการนั้นมีมากมาย สำหรับ HR มือใหม่อาจจะงงๆ ว่าชื่อย่อของเอกสารเหล่านั้นมันคือเอกสารอะไรกันนะ วันนี้แอดมินจะมาแนะนำเอกสาร 3 ตัวหลักๆด้วยกัน ได้แก่ ภ.ง.ด.1, ภ.พ.20 และ 50 ทวิ ว่าคืออะไรนะคะ
15509 ผู้เข้าชม
Talent Management หรือ ระบบการบริหารจัดการคนเก่ง เป็นเครื่องมือทางการบริหารทรัพยากรบุคคลอยางหนึ่งที่ในปัจจุบันองค์กรจํานวนมากกำลังให้ความสนใจกับการบริหารจัดการคนเก่งที่มีอยูในองค์กร หากจะกำหนดนิยามของ Talent Management ก็อาจกล่าวได้ว่า Talent Management หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และวางแผนที่มีความสอดคล้องกันในการหาแหล่งที่มา (Sourcing) กลั่นกรอง (Screening) การคัดเลือก (Selection) การนําไปใช้ (Deployment) การพัฒนา (Development) และการทําให้คงอยู่(Retention) ของทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพสูงและ สามารถทํางานได้อยางมีประสิทธิภาพสูงสุด
12954 ผู้เข้าชม
กองทุน SSF (Super Savings Fund) รูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งนอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังช่วยให้คนออมระยะยาวขึ้น ใครอยากทราบว่า SSF มีเงื่อนไขต่างจากกองทุน LTF อย่างไร ลองมาทำความเข้าใจกัน
4132 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์