ค่าชดเชยการเลิกจ้างจากการเกษียณ

ค่าชดเชยการเลิกจ้างจากการเกษียณ

จากสถิติประชากรศาสตร์ของประเทศนั้น จะเห็นว่า อีก 15 ปีข้างหน้า คนไทยอายุเกิน 60 ปี จะมีมากถึง 1 ใน 4 ของประเทศ ทำให้มีการผลักดันการแก้กฎหมาย โดยมีการเพิ่มมาตรา 118/1 ให้ถือว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรค เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และกำหนดอายุของการเกษียณอายุไว้ที่ 60 ปีบริบูรณ์

ทั้งนี้ หากไม่มีการระบุอายุเกษียณไว้ในสัญญาการจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ให้ใช้เกณฑ์อายุครบเกษียณที่ 60 ปี จะได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างงานทันที หลังจากนั้นอาจทำสัญญาฉบับใหม่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่แตกต่างจากเดิมก็ได้ ถือเป็นการปฏิรูปครั้งสำคัญในกฎหมายคุ้มครองแรงงานรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งแต่ละปีจะมีลูกจ้างที่ครบกำหนดเกษียณอายุประมาณ 300,000-400,000 ราย

หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทั้งทางแพ่งและอาญา โดยทางแพ่งโทษปรับสูงสุดตามค่าชดเชยที่ค้างรวมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี หรือคิดเงินเพิ่มร้อยละ 15 ตามยอดเงินผิดนัดชำระ 7 วัน สำหรับโทษทางอาญาจำคุกสูงสุด 6 เดือน หรือทั้งจำและปรับ ไม่เกิน 100,000 บาท

กฎหมายฉบับใหม่นี้จึงเป็นประโยชน์กับลูกจ้าง โดยเฉพาะกับสถานประกอบการขนาดเล็กที่ไม่ได้ระบุอายุเกษียณไว้ในสัญญาจ้างงาน ซึ่งกฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดให้การเกษียณอายุงานต้องจ่ายเงินชดเชย แต่กฎหมายฉบับใหม่นี้หากเกษียณอายุก็บังคับว่าต้องจ่ายเงินชดเชยด้วย ซึ่งน่าจะมีเกือบ 100,000 บริษัท ที่มีลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกว่า 650,000 คน ในสถานประกอบการขนาดเล็ก


สำหรับมุมมองของนายจ้างนั้น ก็คงจะต้องมีการเตรียมตัวจ่าย ผลประโยชน์พนักงาน เหล่านี้ในอนาคต ซึ่งคาดการณ์ได้ยากว่าบริษัทควรตั้งสำรองในเวลานี้เป็นจำนวนเท่าไร อาจจะต้องอาศัยการคาดเดาในอนาคตว่าลูกจ้างแต่ละคนนั้นจะมีเงินเดือนเท่าไรในตอนที่แต่ละคนจะเกษียณ และจะมีโอกาสทำงานอยู่กับบริษัทจนถึงเกษียณเป็นจำนวนเท่าไร รวมถึงหลักการในการตั้งเป็นเงินสำรองด้วย ซึ่งหลักการเหล่านี้จะเป็นหลักการคนละแบบกับการตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

การคำนวณเงินสำรองสำหรับค่าชดเชยจากการเกษียณ (ซึ่งเท่ากับเลิกจ้าง) เป็นการการันตีผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับตอนที่ทำงานจนถึงอายุเกษียณ ซึ่งหลักการตั้งเงินสำรองจะเหมือนกับหลักการเดียวกับแบบประกันชีวิต ที่การันตีผลประโยชน์ให้ในอนาคตที่ระบุไว้ ซึ่งหลักการที่ว่านี้จะอาศัยหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย ในการคำนวณ เพื่อตั้งสำรองให้เหมาะสมและไม่มากหรือน้อยจนเกินไป


ดังนั้น ในทางบัญชีแล้ว นายจ้างก็ควรจะรับรู้ ผลประโยชน์พนักงาน เหล่านี้เป็นหนี้สิน และตั้งเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีไว้ด้วย นึกเสียว่าบริษัทกำลังจ่ายเบี้ยประกันให้กับตัวบริษัทเอง เพื่อเก็บเงินก้อนนี้ไว้จ่ายลูกจ้างในยามที่เขาเกษียณไป

สรุปคือ ตอนนี้ กฎหมายได้กำหนดว่า “การเกษียณ” เท่ากับเลิกจ้าง ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชย พร้อมกำหนดอายุเกษียณเป็น 60 ปี ซึ่งก็อย่าได้ชะล่าใจ ตอนนี้ต้องเตรียมตัว คำนวณผลประโยชน์พนักงาน เหล่านี้ ให้ตั้งเงินสำรองรับรู้เป็นภาระหนี้สินของบริษัท และทยอยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีเอาไว้

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : actuarialbiz.com

 2502
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

เรื่องของการทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานนั้น มีการพูดถึงกันมาก็หลายปีแล้ว มีองค์กรในประเทศไทยที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ สร้างพนักงานให้มีความสุขในการทำงาน เพราะเชื่อว่า พนักงานที่มีความสุขในการทำงานนั้น จะสามารถสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง แต่ตรรกะนี้ เป็นจริงหรือ พนักงานที่มีความสุขในการทำงาน จะทำให้องค์กรมีผลงานที่ดีขึ้นจริงๆ หรือ
3176 ผู้เข้าชม
ด้วยปัจจัยตั้งต้นก็มักจะคล้ายกันในหลายๆ กิจการ ที่ก่อเกิดโดยคนเพียง 1 หรือ 2-3 คนในการคิดทำสินค้า หรือบริการ นั้น ๆ ออกขาย จะเรียกว่าเกิดจากไอเดีย (idea) ช่องทาง (Chanel) หรืออื่นๆ แม้จะเป็นความสร้างสรรค์หรือไม่ก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดความคิด ที่รวมๆ แล้วเรียกได้ว่า ความคิดจากการมองเห็น โอกาส (Opportunity)
1473 ผู้เข้าชม
ในองค์กรของคุณมีพนักงานแบบนี้อยู่หรือเปล่า คนที่พร้อมเรียนรู้ ไม่อู้งาน ไม่หมกเม็ด เอาประโยชน์ของบริษัทเป็นที่ตั้ง มีมาตรฐานการทำงานสูง ทำให้ผู้อื่นมีความสุข ฯลฯ หากมีนับเป็นความโชคดีขององค์กรคุณ และควรเก็บรักษาพนักงานเหล่านี้ไว้ให้ดี สนับสนุนพวกเขาให้ถูกทาง
1734 ผู้เข้าชม
เมื่อได้ยินคำว่า “ภาษี” ทีไร ผมเชื่อเหลือเกินครับว่า เราทุกคนอยากจะสรรหาวิธีมาประหยัดรายจ่ายตัวนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะมันเป็นรายจ่ายที่จ่ายไปแล้ว ไม่ค่อยจะสบายใจ ว่าเอ๊ะ...เงินเรามันหายไปไหนกันนะ
999 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์