ธุรกิจซื้อมาขายไป ผ่านทางออนไลน์ ต้องเสียภาษียังไง ?

ธุรกิจซื้อมาขายไป ผ่านทางออนไลน์ ต้องเสียภาษียังไง ?

คนที่เพิ่งทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือทำงานประจำควบคู่กับการขายของออนไลน์มักเจอปัญหาเรื่องการเสียภาษี ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาษีอะไรบ้างที่ต้องจ่าย และมีเอกสารอะไรที่ต้องเก็บบ้าง

ยิ่งการค้าขายยุคนี้ทำเรื่องซื้อขายกันผ่านสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น FB/IG/LINE หรือสื่อเจ้าอื่นๆ การส่งเอกสารทั้งใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้า หลักฐานการโอนเงิน หรือใบเสร็จ ก็ทำกันช่องทางนี้ หากไม่พิมพ์เอกสารเหล่านี้ออกมาเก็บไว้ พอถึงสิ้นปีที่จะต้องเสียภาษี ก็ไม่มีข้อมูลที่จะมาใช้คำนวณ ทำให้เสียภาษีไม่ถูกต้อง (อาจจะสูงไปหรือต่ำไป) และเป็นเหตุให้ต้องโดนสอบภาษีย้อนหลังได้

1. เก็บเอกสารการทำธุรกิจไว้ เพื่อนำมาใช้คำนวณภาษี

FB/IG/LINE เว็บไซต์ธุรกิจที่ตั้งขึ้น รวมถึงเว็บ E-Commerce เปรียบได้กับหน้าบ้านที่ช่วยให้ค้าขายได้สะดวกสบายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลาย แต่ก็ไม่ควรลืมระบบหลังบ้านที่ทำหน้าที่จัดการเอกสารและหลักฐานการซื้อขาย เพื่อเอาไว้ใช้คำนวณภาษีและยื่นภาษีแก่กรมสรรพากรตามที่กำหนดด้วย ไม่ว่าผลการประกอบการจะเป็นเช่นไร จะกำไรหรือขาดทุน ก็ต้องยื่นแบบนำส่งกรมสรรพากร

2. ทำความเข้าใจว่าตัวเรามีรายได้ประเภทไหนบ้าง

รายได้ในแต่ละช่องทางที่ได้รับคือตัวบอกว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไร หากมีรายได้จากแค่ เงินเดือน ค่าล่วงเวลา และโบนัส จะถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ต้องเสียภาษี ลงในฟอร์ม ภ.ง.ด. 91 แต่หากมีรายได้จากช่องทางอื่นๆ ก็จะเสียภาษีลงในฟอร์ม ภ.ง.ด.90

 

ซื้อมาขายไป เป็นรายได้ประเภทที่เท่าไหร่

รายได้ 8 ประเภท ที่ต้องเสียภาษี

 

สำหรับรายได้ที่มาจากการทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือขายของออนไลน์ จะถือเป็นรายได้ประเภทที่ 8 ก็จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด.90

วิธีคำนวณ ภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาส่วนรายได้จาก “ธุรกิจซื้อมาขายไป”

ในการคำนวนภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่มีการทำธุรกิจซื้อมาขายไปนั้นจะต้องมีวิธีในการคำนวณภาษีอากรทั้งหมด 2 ขั้นตอน คือ

  1. คำนวณจากรายได้ที่เกิดขึ้น

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) = รายได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

  1. คำนวณจากรายได้จาก ธุรกิจซื้อมาขายไป และทางอื่นๆ (ยกเว้นเงินเดือน) ถ้ามีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป จะใช้วิธีการคำนวณได้ 2 แบบ คือแบบเหมา 0.5% และแบบหักตามค่าใช้จ่ายจริง (หากเป็นธุรกิจที่ผลิตเองขายเองจะใช้วิธีคำนวณแบบหักตามค่าใช้จ่ายจริงเท่านั้น)

รายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.005% = ค่าภาษี

หลังจากนั้นให้เทียบภาษีจากทั้ง 2 วิธี หากวิธีไหนคำนวณแล้วได้ว่าต้องเสียภาษีมากกว่า ให้เลือกเสียภาษีจากวิธีคำนวณนั้น

3. บัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป ต้องทำให้ได้

เมื่อเข้าสู่โลกของการทำธุรกิจ และมีรายได้แล้ว ก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษี แต่จะเสียภาษีได้อย่างไร หากไม่รู้ว่าธุรกิจที่ตัวเองทำอยู่มีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ ดังนั้นถ้าอยากรู้ว่าสิ้นปีเราจะมีรายได้เท่าไหร่ ก็ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายขึ้น

ในการดำเนินธุรกิจ จะมีคนที่เกี่ยวข้องในชีวิตเราอย่างน้อย 2 คนคือ นักบัญชี และผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งคนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจที่ยังไม่ได้จ้างนักบัญชีหรือสำนักบัญชี ก็ต้องมั่นใจว่าบัญชีที่เราทำนั้นถูกต้อง แต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจในบัญชีที่ทำอยู่ว่าถูกต้องหรือไม่ หรือไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ขอให้เริ่มจากสิ่งเหล่านี้ก่อน

  • ทำบัญชีรายรับรายจ่าย บันทึกต้นทุนและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และบันทึกรายได้เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น
  • ทำสต็อกสินค้า เพื่อให้ทราบปริมาณความเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือ ป้องกันสินค้าสูญหาย และยังช่วยในการประเมินว่าสินค้าตัวไหนเป็นที่ต้องการของตลาด หรือสินค้าตัวไหนควรลดสต็อก เพื่อให้ต้นทุนไม่จมอยู่กับสินค้ามากเกินไป นอกจากนี้ สต็อกสินค้ายังเป็นสิ่งแรกที่กรมสรรพากรมักจะตรวจสอบด้วย
  • แยกกระเป๋าเงินส่วนตัวและกระเป๋าธุรกิจ เพราะถ้าไม่แยก จะเกิดปัญหาว่าทำไมสินค้าขายได้ มีกำไรแล้ว แต่เงินหายไปไหนไม่รู้ แล้วผลที่ตามมาคือทำให้เกิดการขาดสภาพคล่อง
  • เก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายให้ครบ คือหลักฐานทางการเงินที่แสดงให้เห็นว่ามีการซื้อขาย เช่น ใบเสนอราคา ใบวางบิล ใบแจ้งหนี้  ใบเสร็จ ใบกำกับภาษี เพื่อถึงเวลาสิ้นปีจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณภาษี

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : flowaccount.com

 3414
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ถ้าเกิดทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ก็จะส่งผลให้มีความรู้สึกไม่มีแรงใจในการทำงานต่อไปเพราะกลัวทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายเหมือนงานที่ผ่านมา จะทำอย่างไรเมื่อเราไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่องค์กรได้วางเอาไว้
2299 ผู้เข้าชม
ก็ยังได้รับคำถามในแนวนี้อยู่ ก็คือ หน้าที่ในการพัฒนาพนักงานเป็นหน้าที่ของใครกันแน่ การที่จะส่งพนักงานไปอบรม หรือการที่เราจะวางแผนพัฒนาพนักงานในเรื่องใดนั้น ตกลงเป็นหน้าที่ใคร
3223 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ คนน่าจะมีคำตอบอยู่ในใจไปในทิศทางเดียวกัน งาน HR คือแผนกที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องพนักงานของบริษัท รับพนักงานเข้า ดูแลพนักงานที่อยู่ ทำเรื่องให้คนออก ดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคน ภาพต่าง ๆ เหล่านั้นอาจจะเป็นภาพที่ HR สร้างให้ตัวเองมาโดยตลอด แต่ในวันนี้ HR ยังควรรักษาเพียงภาพนี้เอาไว้อย่างเหนียวแน่นหรือไม่
999 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับแนวคิดการบริหารคนจากต่าง Gen กัน วันนี้เราจะสรุปไว้เป็น 4 Gen และจะดูไปด้วยกันว่าในแต่ ละวัฒนธรรม (ไทยญี่ปุ่น จีน อเมริกัน) นั้นมีลักษณะแต่ละ Gen เหมือนหรือต่างกันอย่างไรด้วยครับ โดยการแบ่ง Gen ไมได้ หมายความว่ามี เส้นแบ่งโดย เด็ดขาด ว่า Gen ไหนก็จะต้องเป็นแบบนั้น แต่เป็นการบอกแนวโน้ม บอกความน่าจะเป็น ของกลุ่มคนโดยส่วนใหญ่ใน Gen นั้นเท่านั้น การแบ่ง นั้น บางตําราแบ่งเป็น 8 Gen คือ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มี 3 Gen และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มี 5 Gen รวมกันเป็น 8 Gen แต่บางตำราแบ่งเป็น 5 Gen คือเหมารวมพวกก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเป็น 1 Gen และ พวกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็น 4 Gen
3415 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์