การบริหารค่าจ้างเงินเดือน แบบไหนที่เรียกว่าเป็นธรรม?

การบริหารค่าจ้างเงินเดือน แบบไหนที่เรียกว่าเป็นธรรม?


ความเป็นธรรมในการบริหารค่าจ้าง หลายๆ บริษัทที่มีการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ต่างก็พยายามที่จะสร้างความเป็นธรรมในเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นในองค์กรทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าองค์กรมีความเป็นธรรมในการบริหาร ค่าจ้างเงินเดือน 


จ่ายเงินเดือนแตกต่างกัน ตามสถาบันการศึกษาที่จบมา

ลักษณะ แรกที่พบก็คือ บริษัทมีการกำหนดอัตราแรกจ้างพนักงานใหม่ โดยกำหนดให้มีอัตราที่แตกต่างกันตามสถาบันการศึกษาที่จบมา แม้ว่าจะรับเข้ามาทำงานในตำแหน่งเดียวกันก็ตาม เช่น ถ้าจบสถาบันชั้นนำ ในระดับปริญญาตรี เริ่มจ้างที่ 20,000 บาท แต่ถ้าจบจากสถาบันไม่ใช่ชั้นนำ ก็จ่ายให้ 15,000 บาท โดยที่ทำงานในตำแหน่งเดียวกัน เป็นต้น ลักษณะนี้ คิดว่าเป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนหรือไม่ครับ 


จ่ายเงินเดือนเพิ่มให้กรณีพนักงานได้เกียรตินิยม

บางบริษัท ถ้าพนักงานคนใดจบเกียรตินิยมมา ก็จะได้รับค่าเกียรตินิยมเพิ่มให้ประมาณ 2,000 บาท ส่วนพนักงานคนอื่นที่ไม่ได้ ก็จะได้เงินเดือนตามปกติ ก็เลยทำให้พนักงานที่ได้เกียรตินิยมจะได้รับเงินเดือนที่สูงกว่า พนักงานปกติอยู่ แม้ว่าจะทำงานในตำแหน่งเดียวกัน และเริ่มงานในวันเดียวกันก็ตาม ลักษณะนี้เป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนหรือไม่ 


ปรับอัตราแรกจ้างพนักงานใหม่ แต่ไม่ได้ปรับให้พนักงานเก่า

กรณีนี้ก็เกิดขึ้นเยอะครับ ตัวอย่างง่ายๆ ที่เกิดขึ้นก็คือ ช่วงที่มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรืออัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษาเป็นอัตราใหม่ของบริษัท พอประกาศอัตราใหม่ ใครที่มาสมัครงานช่วงหลังประกาศอัตราใหม่ ก็จะได้รับเงินเดือนในอัตราใหม่ทันที โดยที่พนักงานเก่าที่รับเข้ามาก่อนหน้านี้ ไม่มีการปรับใดๆ ผลก็คือ พนักงานเก่าที่ทำงานกับบริษัทมาสักพัก กลับได้รับเงินเดือนที่น้อยกว่าพนักงานใหม่ ที่เพิ่งเข้ามาทำงาน และยังไม่เห็นผลงานอะไร แบบนี้เป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนหรือไม่


ให้ความสำคัญกับพนักงานใหม่ มากกกว่าพนักงานเก่า

บางบริษัทบริหารค่าจ้างเงินเดือนโดยให้เงินเดือนพนักงานใหม่ตามที่เขาขอมา เพราะอยากได้เข้ามาทำงาน โดยที่ไม่สนใจว่า พนักงานเก่าที่ทำงานในตำแหน่งเดียวกัน อายุงานใกล้เคียงกัน จะได้เงินเดือนอยู่เท่าไหร่ บางบริษัท พนักงานใหม่ที่มาสมัครงานขอมามากแค่ไหนก็สู้ แต่พนักงานเก่าของบริษัทกลับขึ้นเงินเดือนให้ทีละนิดหน่อย กลายเป็นว่า คนเก่าที่ทำงานอยู่แล้ว ก็ได้แบบนิดๆ แต่กับคนใหม่ที่ไม่เคยรู้ผลงานมาก่อน กลับให้เงินเดือนสูงปรี๊ด แล้วแบบนี้ เป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนหรือไม่


ขึ้นเงินเดือนพอๆ กัน ไม่ว่าผลงานจะเป็นอย่างไร

บางองค์กรที่ถึงเวลาขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงาน ก็ให้เงินเดือนขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกันมาก ไม่ว่าพนักงานจะทำผลงานได้ดีเลิศ หรือย่ำแย่ปานใด ต่างก็ได้รับการขึ้นเงินเดือนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เหตุผลของผู้บริหารก็คือ จะได้เกิดความเป็นธรรม และไม่ทำลายการทำงานเป็นทีมที่ดี ส่วนพนักงานกลับมองว่า อุตส่าห์ตั้งใจทำงานแทบตาย ผลงานที่ได้ก็ทำให้องค์กรดีขึ้นตั้งมากมาย แต่กลับได้รับเงินเดือนขึ้นพอๆ กับคนที่ไม่ทำงานอะไรเลย แบบนี้จะทำดีไปทำไม แล้วแบบไหนล่ะครับ ที่เรียกกว่าเป็นธรรมในการบริหารค่าจ้างเงินเดือน


ขึ้นเงินเดือนตามอายุงาน กรณีเกิดขึ้นกับองค์กรที่ยังไม่มีระบบการประเมินผลงานที่ดี

หัวหน้า และผู้จัดการประเมินผลงานพนักงานตนเองไม่ออก ก็เลยให้คะแนนผลงานแบบพอๆ กัน เท่าๆ กันไป สุดท้ายนายใหญ่ก็ต้องเอามาแก้ไขปรับปรุง แต่ไม่รู้จะใช้เหตุผลอะไร ก็เลยเอาเรื่องของใครที่ทำงานด้วยแล้วรู้สึกดี ก็ให้เยอะหน่อย ใครที่ทำงานกับบริษัทมานาน ก็ให้เยอะหน่อย ด้วยเหตุผลที่ว่าซื่อสัตย์และไม่จากบริษัทไปไหน ส่วนคนอื่นที่ไม่ค่อยรู้จัก และรู้สึกไม่ค่อยชอบหน้า ก็ให้พอๆ กันไป แบบนี้เรียกว่าความเป็นธรรมหรือไม่ครับ 

    ผมเชื่อว่ายังไม่กรณีอื่นๆ ที่มากกว่าที่กล่าวมา ซึ่งผมอาจจะไม่ได้สรุปมาให้อ่านกัน แต่สิ่งที่สรุปมาข้างต้นนั้น เป็นสิ่งที่เจอบ่อยๆ กับองค์กรต่างๆ ในบ้านเรา บางองค์กรก็รู้ตัว บางองค์กรก็ไม่รู้ตัว และมองว่า ตนเองบริหารค่าจ้างด้วยความเป็นธรรมที่สุด โดยไม่ได้สอบถามพนักงานเลยว่า มีความคิดเห็นอย่างไรกับระบบการบริหารค่าจ้างขององค์กร ยิ่งในปัจจุบัน เรื่องของค่าจ้างค่าตอบแทนนั้นทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือน แต่ต้องรู้ว่าการสร้างแรงจูงใจโดยใช้เงินจะได้ผลจริงหรือ? ดังนั้นบริษัทควรจะสร้างระบบค่าจ้างค่าตอบแทนให้มีความเป็นธรรมมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงาน และสร้างผลงานให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง 


ที่มา : www.siamhrm.com

 2647
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

การวิจารณ์ที่ดีเป็นไปเพื่อเสริมสร้างและชี้แนะผู้ถูกวิจารณ์ให้เกิดการพัฒนา ไม่ใช่เพื่อจ้องจับผิด หรือต้องการประจานให้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่บางครั้งบางคราที่ผู้วิจารณ์มีเจตนาดีแต่ไม่รู้วิธีพูด ความหวังดี จึงกลับกลายเป็นการทำร้ายให้เจ็บช้ำน้ำใจได้โดยไม่รู้ตัว ผู้มีหน้าที่ในการบริหารบุคลากรจึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
2038 ผู้เข้าชม
เวลาเราให้คนออกจากงานไปนั้นมักเป็นการง่ายที่โทษว่า “ก็เป็นความผิดของพนักงานคนนั้นเอง” ทั้งนี้เป็นเพราะมาตรการการ เลิกจ้างนั้นเป็นมาตรการที่ควรใช้เมื่อพนักงาน “มีอาการ” ที่สมควร ที่จะต้องให้ออกจากงานไปจริง ๆ เช่น ไม่มีวินัยในการทำงาน ชอบสร้าง ปัญหาต่าง ๆ นานาให้กับหน่วยงาน สร้างความแตกแยกในหมู่ เพื่อนร่วมงาน เฉื่อยหรือหย่อนสมรรถภาพในการทำงานจนเป็นตัวถ่วง ผลการปฏิบัติงานขององค์กรที่ไม่อาจปล่อยไว้ได้ เป็นต้น
1867 ผู้เข้าชม
ผู้ได้รับรางวัลจากสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น แม้ไม่ต้องนำเงินรางวัลที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้เงินรางวัลเต็มจำนวน เนื่องจากผู้ได้รับรางวัลจะมีภาระภาษีผ่านการจ่ายค่า ‘อากรแสตมป์’
10109 ผู้เข้าชม
สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางที่แต่ละองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของตัวเอง แต่อย่างแรกที่ต้องทำคือการเริ่มจากทัศนคติที่ว่า “เป็นเรื่องโอเครที่จะสร้างความผิดพลาด แต่ต้องเป็นการผิดพลาดที่สามารถนำมาเรียนรู้ต่อได้”
1685 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์