เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
พูดถึงเรื่อง Time ในองค์กร ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการเข้า – ออกตามกะงานต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ก็ยังคงมีการกำหนดขอบเขตการลงเวลาเข้า – ออกที่เป็นเวลาตายตัวที่องค์กรกำหนดไว้เท่านั้น
...แต่ก็มีบางองค์กรที่นำ “ระบบการลงเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น” หรือ “Flexible Time” มาปรับใช้
ซึ่งระบบการทำงานแบบยืดหยุ่นนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจคนทำงานรุ่นใหม่ไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากสามารถบริหารจัดการเวลาเข้างานของตัวเองได้อย่างอิสระ
โดยเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Time) ที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ประมาณ 3 รูปแบบ ดังนี้
ต้องบอกว่ารูปแบบนี้เป็นที่นิยมใช้ในอันดับต้น ๆ โดยองค์กรจะกำหนดเวลาเข้า – ออกกะงานเป็นช่วง ๆ ไว้ ส่วนใหญ่ก็จะกำหนดให้ 3 ช่วงเวลา ซึ่งก็จะมีเวลาเข้างานที่แตกต่างกัน เมื่อพนักงานลงเวลาเข้าใกล้เคียงกะไหน ก็จะทำงานในกะงานนั้น และทำงานจนถึงเวลาออกงานของกะงานนั้น ๆ เช่นกัน
เช่น องค์กรกำหนดไว้ 3 กะงาน
08.30 – 17.30
09.00 – 18.00
09.30 – 18.30
พนักงานมาทำงาน 08.53 ก็ยังไม่สาย เพราะว่าเข้ากะ 09.00 – 18.00 ได้ สบายใจ ^^ เคสนี้ยืดหยุ่น เหมาะสำหรับองค์กรที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีรถติดชนิดร้ายแรง แต่ถ้ายังดันมาช้าเกิน 09.30 ก็ต้องสายแล้วน๊า
รูปแบบการทำงานนี้ เน้นการนับชั่วโมงการทำงานเป็นหลัก พนักงานจะเข้า – ออกเวลาไหนก็ได้ แค่ทำงานให้ครบตามชั่วโมงที่องค์กรกำหนดเท่านั้น ก็พอ โอ้โห!! แบบนี้วัยรุ่นชอบ ...ตื่นสายได้
ฟังดูงง ๆ จริง ๆ รูปแบบนี้ ก็คล้ายกับแบบที่ 1 นั่นแหละจ้า เพียงแต่ว่าองค์กรจะกำหนดช่วงเวลาการทำงานมาให้ พร้อมจำนวนชั่วโมงที่พนักงานจะต้องทำ ดังนั้นถ้ามาสาย ก็แค่ทำชดเชยให้ครบตามชั่วโมงที่กำหนดไว้แค่นั้น แต่!! ต้องไม่เกินเวลาที่องค์กรอนุญาตให้ชดเชยนะ
เช่น องค์กรกำหนดไว้ 3 กะงาน
08.30 – 17.30
09.00 – 18.00
09.30 – 18.30
โดยให้ทำงาน 8 ชั่วโมง สามารถทำงานเพื่อชดเชยสายได้ถึง 19.00 น. เท่านั้น
นั่นหมายความว่า ถ้าคุณมาทำงาน 10.00 – 19.00 น. แสดงว่าคุณทำงานครบ 8 ชั่วโมง และยังออกไม่เกิน 19.00 น. อีกด้วย แบบนี้ก็ไม่ถือว่าสาย
...แต่ ถ้าคุณมาทำงาน 10.30 น. แล้วองค์กรให้ทำได้ถึง 19.00 น. เท่านั้น แบบนี้ก็ยอมสายเถอะนะ ^^
แต่ยังไงเราต้องมี เคล็ดลับสร้างความสุขในการทำงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้และองค์กรก็จะพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง