• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • อัปเดตการยื่นภาษี 2563 แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มเติมอย่างไร ?

อัปเดตการยื่นภาษี 2563 แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มเติมอย่างไร ?

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • อัปเดตการยื่นภาษี 2563 แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มเติมอย่างไร ?

อัปเดตการยื่นภาษี 2563 แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มเติมอย่างไร ?

เข้าสู่ช่วงต้นปีเป็นช่วงที่ใครหลายคนมีการเริ่มวางแผนวางแผนการเงินสำหรับปี 2563 นี้ โดยสิ่งที่ไม่พูดถึงเลยไม่ได้คือเรื่องการยื่นภาษีสำหรับรายได้ในปี 2562 ที่ทุกคนที่มีรายได้ต้องยื่นภาษีเงินได้ แต่การยื่นภาษีปีนี้มีอะไรใหม่และแตกต่างจากเดิมหรือไม่นั้นวันนี้ gettgo จะมาอัปเดตเงื่อนไขยื่นภาษี พร้อมกับการลดหย่อนต่าง ๆ ที่ควรรู้กัน

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี ?

ทุกคนที่มีรายได้ จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึงแม้จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ต้องยื่นแบบภาษีประจำปี และโดยทั่วไปจะยื่นเพียงปีละ 1 ครั้ง แต่มีบางกรณีที่จะต้องยื่น 2 ครั้งที่เรียกว่าการยื่นภาษีครึ่งปี โดยจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณมีเงินได้ประเภทที่ 5, 6,7,8 รวมกันเกิน 60,000 บาทเท่านั้น โดยนับระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. เพื่อแสดงรายได้สะสมในช่วงปีที่ผ่านมา

โดยจะมีสูตรคำนวณคือ “เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิ” โดยที่ค่าใช้จ่ายจะเหมาจ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เมื่อคำนวณได้แล้วให้นำมาเทียบกับตารางอัตราภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งปีนี้ยังคงใช้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกับปี 2560

ดังนั้นการยื่นภาษีและเสียภาษีเป็นสิ่งที่ทุกคนที่ได้รับเงินได้จะต้องทำ และการยื่นภาษีไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ และระยะเวลาการทำงาน ต่อให้รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ต้องยื่นจ่ายภาษี (เกณฑ์ขั้นต่ำอยู่ที่ 150,000 บาทต่อปี) แต่ไม่ต้องจ่ายภาษีเพราะไม่ถึงเกณฑ์ขึ้นต่ำที่กำหนด

ยื่นภาษีได้ที่ไหนและใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

การยื่นภาษีโดยใครที่มีรายได้จากเงินเดือนและโบนัส โดยไม่มีรายได้ประเภทอื่น ให้เตรียมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) พร้อมเอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว ให้รีบยื่นแสดงภาษีให้เร็วที่สุด ซึ่งเปิดให้ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 63 – 30 มิถุนายน 63 โดยยื่นได้หลายช่องทาง ได้แก่

      สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สำนักงานสรรพากรเขต/อำเภอ)

สำหรับการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ผู้มีเงินได้สามารถยื่นแบบฯ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง

      ธนาคารพาณิชย์ และสาขาที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด สำหรับการยื่นแบบฯ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน เท่านั้น และมีภาษีที่ต้องชำระพร้อมกับการยื่นแบบฯ ดังนี้ 

          ธนาคารพาณิชย์ (ยกเว้น บมจ.ธนาคารกรุงไทย) มีหลักเกณฑ์ดังนี้

               • ใช้แบบ ภ.ง.ด.90 หรือแบบ ภ.ง.ด.91 ฉบับที่พิมพ์ชื่อ ที่อยู่ ฯลฯ ที่ กรมสรรพากร จัดทำขึ้น และจัดส่งให้

               • มีเงินภาษีต้องชำระ พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือแบบ ภ.ง.ด.91

          ธนาคารกรุงไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้

               • มีเงินภาษีต้องชำระ โดยต้องชำระทั้งจำนวน

               • ไม่มีเงินภาษีต้องชำระ หรือขอคืนเงินภาษี

      ที่ทำการไปรษณีย์ สำหรับการยื่นแบบฯ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 63 เท่านั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้

           ผู้มีเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร

          ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือ ธนาณัติ (ตามจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวน)

          กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบและชำระภาษี และจะส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ยื่นแบบฯ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน<

          กรณีผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในต่างจังหวัด หรือประสงค์จะขอ ชำระภาษีเป็นงวด จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนไม่ได้

      Internet ทาง Web Site ของกรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th โดยชำระภาษี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารพาณิชย์ หรือชำระผ่าน e-payment หรือโดยวิธีอื่น ได้แก่ ATM, Internet Banking, Tele-Banking, Mobile Banking, Counter Service (ของธนาคาร), เคาน์เตอร์เซอร์วิส และ Pay at Post (ไปรษณีย์)

หากทำงานฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มอาชีพอิสระ ต้องยื่นภาษีไหม ?

หากคุณทำงานฟรีแลนซื หรือเป็นอาชีพอิสระ ที่ไม่มีรายได้เป็นเงินเดือนที่แน่นอน คุณก็ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะถือว่ามีเงินได้ซึ่งเข้าเงื่อนไขที่ ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยตามกฎหมาย กลุ่มคนทำงานอิสระยังใช้เกณฑ์เดียวกับ มนุษย์เงินเดือน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือรายได้ที่ผ่านมา จากช่องทางใดบ้าง และแต่ละแหล่งที่มามีจำนวนเท่าไร

โดยเงินได้ของกลุ่มอาชีพอิสระจะจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 2 เงินได้มาตรา 40 (2) ซึ่งหากเป็นมษุนย์เงินเดือนจะจัดอยู่ในประเภทที่ 1 เงินได้มาตรา 40(1) เงินที่ได้จากการจ้างงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เป็นต้น 

ดังนั้นสิ่งสำคัญเมื่อได้เงินจากการทำงานแล้วอย่าลืมเก็บใบ ทวิ 50 หรือใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง เพื่อเอาไว้ยื่นภาษี (ต้องเป็นรายได้ที่เกิน 1,000 ขึ้นไป)  ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้ว่าจ้างจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โดยมี 2 รูปแบบคือ

      หัก 3 % ของเงินที่จ่ายทุกครั้ง

      คำนวณภาษีเงินได้จากรายได้สะสมที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง

ดังนั้นทำงานฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มอาชีพอิสระ ก็ต้องมีการยื่นภาษีและอย่าลืมขอ ใบทวิ 50 ทุกครั้งที่ได้รับเงินหลังจากการว่าจ้างด้วยนะครับ หลักจากที่ทราบเงื่อนไข หลักการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ในปีนี้ 2563 ที่จะต้องยื่นภาษีประจำปีภาษี 2562 ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่น่าสนใจเกี่ยวกับการยื่นภาษีบ้าง

6 เรื่องอัปเดตการยื่นภาษี 2563 ที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม

1. มีการปรับขยายเวลาการยึดระยะเวลายื่นภาษีเงินได้ประจำปีภาษี 2562

โดยได้มีการขยายระยะเวลาการยื่นภาษีเงินได้ประจำปีภาษี 2562 (ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91) ออกไปอีก 3 เดือน จากเดิมที่ผู้เสียภาษีต้องยื่นเสียภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 63 – 31 มีนาคม 63 เป็น วันที่ 1 มกราคม 63 – 30 มิถุนายน 63 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้ผู้เสียภาษีมีเงินใช้จ่ายในช่วงต้นปีมากขึ้น

2. ด้านมาตราการการท่องเที่ยว

มีการปรับให้บริษัท (สำหรับริษัทหรือห้างร้านที่เป็นนิติบุคคล) จัดสัมมนาต่างจังหวัดสามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

สามารถนำค่ารีโนเวทสถานที่ท่องเที่ยว และที่พัก ของเรามาลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า ของจำนวนที่เราจ่ายจริง

3. โครงการ ชิม ช้อป ใช้ เฟส 4 

โดยโครงการ ชิม ช้อป ใช้ เฟส 4 ของกระทรวงการคลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนออกแบบและประเมินผล เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมากที่สุด โดยสำหรับผู้เสียภาษีที่เคยลงทะเบียนชิม ช้อป ใช้ แล้วไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ และสามารถใช้โครงการ ชิม ช้อป ใช้ เฟส 4 ได้เช่นกัน และยังมีการเปิดรับประชาชนลงทะเบียนเพิ่มเติมอีกด้วย

4. มีการจัดตั้งกองทุนใหม่ชื่อ SSF แทน LTF

การปรับเปลี่ยนกองทุนใหม่เป็น SSF หรือกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saveing Fund) สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 30 % ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท สามารถถือหน่วยลงทุนได้ 10 ปีและสามารถขายคืนได้เมื่อถือหน่วยลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี  โดยไม่การกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี และสามารถซื้อได้ 5 ปี (ปี 2563 - ปี 2567) โดยหลังจากนั้นการคลังจะพิจารณาอีกที และกำไรจากการขายหน่วยการลงทุนคืนจะได้รับการยกเว้นภาษี

5. กองทุน LTF ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้นับตั้งแต่ปีภาษี 2563 เป็นต้นไป 

หลังจากมีการปรับเปลี่ยนกองทุนใหม่จาก LTF เป็น SSF การลงทุนในกองทุน LTF จะสิ้นสุดการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2562 แต่นักลงทุนยังสามารถซื้อหน่วยการลงทุนในกองทุนดังกล่าวต่อไปได้ แต่จะไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีสำหรับเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

6. มีการปรับเกณฑ์กองทุน RMF และไม่มีขึ้นต่ำในการซื้อกองทุน

มีการปรับเกณฑ์กองทุน RMF โดยมีการเพิ่มเพดานการลดหย่อนภาษีสูงสุดจากเดิม 15% ไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นลดหย่อนภาษีสูงสุด 30 % ของเงินพึ่งประเมินแต่ไม่เกิน 5 แสนบาท และมีการยกเลิกขึ้นต่ำในการซื้อ แต่เดิมขึ้นต่ำในการซื้อกองทุน RMF อยู่ที่ 3 % ของเงินได้ หรือ 5,000 บาทต่อปี (แล้วแต่จำนวนใดต่ำกว่า) ปรับเป็นไม่มีขึ้นต่ำในการซื้อ ส่วนเงื่อนไขอื่นยังคงเดิม

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.gettgo.com

 2276
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ช่วงปลายปี-ต้นปี เป็นโอกาสของผู้ประกันตนคนทำงานแจ้ง เปลี่ยนหรือย้ายสถานพยาบาลใหม่ให้ถูกใจใกล้บ้าน ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น วิธีการยื่นแบบแจ้งเปลี่ยนสถานพยาบาลทำได้ง่ายๆ คือ
7191 ผู้เข้าชม
กองทุน SSF (Super Savings Fund) รูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งนอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังช่วยให้คนออมระยะยาวขึ้น ใครอยากทราบว่า SSF มีเงื่อนไขต่างจากกองทุน LTF อย่างไร ลองมาทำความเข้าใจกัน
3373 ผู้เข้าชม
เศรษฐกิจขาลงอย่างนี้ ตัวเลขคนว่างงานพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน ความยากในการหางานใหม่ก็ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว เราเลยรีบหยิบเทคนิคหางานให้รุ่งมาฝากกันโดยพลัน
793 ผู้เข้าชม
ปีหน้านี้ (2563) พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ แต่การจัดเก็บภาษีที่จริงๆ จะล่าช้าออกไป 4 เดือน จากเดิมที่ประชาชนต้องชำระภาษี ภายในเดือน เม.ย. 63 เลื่อนไปเป็นเดือน ส.ค. 63 เพราะกฎหมายลูกอีก 8 ฉบับ ยังไม่แล้วเสร็จ
2096 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์