• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ปี 2563 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้

ปี 2563 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ปี 2563 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้

ปี 2563 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้

ปีหน้านี้ (2563) พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ แต่การจัดเก็บภาษีที่จริงๆ จะล่าช้าออกไป 4 เดือน จากเดิมที่ประชาชนต้องชำระภาษี ภายในเดือน เม.ย. 63 เลื่อนไปเป็นเดือน ส.ค. 63 เพราะกฎหมายลูกอีก 8 ฉบับ ยังไม่แล้วเสร็จ

อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ. ใหม่นี้ ค่อนข้างซับซ้อน ทำให้หลายคนยังสับสนว่า ตนเองต้องเสียภาษีหรือไม่ แล้วต้องเสียภาษีในอัตราเท่าใด Workpoint News จึงเรียบเรียงข้อมูลมาสรุปให้แฟนข่าวในบทความนี้

1. ที่อยู่อาศัย

- สำหรับ “ที่อยู่อาศัย” หลังแรก  (ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน)

  • ถ้าผู้อ่าน มีบ้านแค่ 1 หลัง พร้อมที่ดิน โดยบ้านและที่ดินมีมูลค่ารวมกัน ไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องกังวลเลย เพราะกฎหมายยกเว้นภาษีให้ ไม่ต้องเสียภาษี

  • ส่วนคนที่มีบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ในช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 จะเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามมูลค่าของบ้านและที่ดิน ตั้งแต่ 0.03-0.10% (ตามภาพ)

  • หลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.3%


ส่วน วิธีคำนวณภาษี สำหรับคนที่มีบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป จะคำนวณตามนี้

1. สมมติว่า เรามีบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 60 ล้านบาท อัตราภาษีที่เราต้องเสียก็คือ 0.03% (มูลค่ามากกว่า 50-75 ล้านบาท)

2. แต่ไม่ได้เอามูลค่าทั้งหมด 60 ล้านบาท มาคำนวณนะ เพราะกฎหมายยกเว้นให้ 50 ล้านบาทแรก

ดังนั้น ต้องนำมูลค่าบ้านและที่ดิน มาลบ มูลค่าที่กฎหมายยกเว้นให้ก่อน นั่นคือ 60 – 50 = 10 ล้านบาท แล้วจึงนำ 10 ล้านบาท มาคูณ 0.03% เท่ากับ 3,000 บาท หมายความว่า ถ้าเรามีบ้านและที่ดิน มูลค่า 60 ล้านบาท เราจะเสียภาษี (ช่วง 2 ปีแรก) 3,000 บาท หรือล้านละ 300 บาทนั่นเอง

- อีกกรณีหนึ่ง สำหรับ “ที่อยู่อาศัย” คือ เป็นเจ้าของบ้าน แต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน  (บ้านหลังแรกและมีชื่อในทะเบียนบ้าน)

  • กฎหมายก็ยกเว้นให้เช่นกัน โดยคนที่เป็นเจ้าของบ้าน มูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี

  • ส่วนคนที่เป็นเจ้าของบ้าน มูลค่าเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ในช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 ต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามราคาของสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.02-0.10% (ตามภาพ)

  • แล้วหลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.3%

  • ส่วนวิธีคำนวณภาษีนั้นเหมือนกัน โดยลบมูลค่าที่กฎหมายยกเว้นให้ออกไปก่อน ซึ่งกรณีนี้คือ 10 ล้านบาทแรก  แล้วค่อยนำมูลค่าที่เหลือมาคูณอัตราภาษี

- “ที่อยู่อาศัย” หลังที่ 2 เป็นต้นไป

  • ไม่ได้รับการยกเว้นใดๆ

  • โดยช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 ต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.02-0.10% (ตามภาพ)

  • แล้วหลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.3%

การคำนวณภาษี จะคิดตั้งแต่บาทแรก เช่น มีดอนโดฯ มูลค่า 3 ล้านบาท ก็เอา 3 ล้านบาท คูณ 0.02% เท่ากับ 600 บาท หมายความว่า ถ้าเราเป็นเจ้าของคอนโดฯ มูลค่า 3 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ของเรา จะต้องเสียภาษี 600 บาท (ช่วง 2 ปีแรก) หรือล้านละ 200 บาทนั่นเอง

2. ที่ดินทำการเกตษร

- ที่ดินทำการเกษตร กรณี “บุคคลธรรมดา” (ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว)

  • สำหรับเกษตรกรทั่วๆ ไป ที่มีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องกังวลเช่นกัน เพราะกฎหมายยกเว้นให้ ไม่ต้องเสียภาษี

  • ส่วนเกษตรกร ที่มีที่ดินมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ช่วง 3 ปีแรก คือ 2563-2565 กฎหมายยกเว้นให้ ยังไม่ต้องเสียภาษี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เวลาประชาชนเตรียมตัว

  • หลังจากนั้น คือปี 2566 เป็นต้นไป เกษตรกรที่มีที่ดิน มูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.15%

  • วิธีคำนวณภาษี ก็เหมือนกับกรณีที่อยู่อาศัย โดยลบมูลค่าที่กฎหมายยกเว้นให้ออกไปก่อน กรณีนี้คือ 50 ล้านบาทแรก แล้วค่อยนำมูลค่าที่เหลือมาคูณอัตราภาษี


- ดินทำการเกษตร กรณี “นิติบุคคล”  (ขึ้นทะเบียนเป็นบริษัททำเกษตรกรรมแล้ว)

  • กรณีบริษัทที่ทำการเกษตร ไม่ได้รับการยกเว้นเหมือนบุคคลธรรมดา  โดยช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 จะต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.01-0.10% (ตามภาพ)

  • หลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.15%


3. ใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น ใช้เชิงพาณิชย์ ฯลฯ

  • เสียภาษีตั้งแต่บาทแรกเช่นกัน โดยช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 จะต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.30-0.70% (ตามภาพ)

  • หลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 1.2%


สำหรับที่ดินประเภทนี้ หลายคนกังวลว่าถ้ามีที่อยู่อาศัยหลายหลัง เช่น มีบ้านชานเมือง และมีคอนโดฯ ใกล้รถไฟฟ้า หรือมีบ้านต่างจังหวัด 1 หลัง และมีบ้านในกรุงเทพฯ ด้วย กรณีแบบนี้ บ้านหลังที่ 2 หรือดอนโดฯ จะถูกเรียกเก็บภาษีเป็น ที่อยู่อาศัย  หรือ ประเภทอื่นๆ  เพราะอัตราภาษีต่างกัน

อย่างไรก็ตาม กฎหมายเปิดโอกาสให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทักท้วงการเรียกเก็บภาษีได้ เมื่อได้รับเอกสาร “แบบประเมินภาษี” จากหน่วยงานของรัฐแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้รับประมาณเดือน มิ.ย. 63

4. ที่ดินว่างเปล่า

  • สำหรับที่ดินว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ช่วง 2 ปีแรก คือ 2563-2564 เจ้าของจะต้องเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามราคาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.30-0.70% (ตามภาพ)

  • หลังจากนั้น คือปี 2565 เป็นต้นไป จะเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 1.2%

  • หากทิ้งร้างติดต่อกัน 3 ปี อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นอีก 0.3% และจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 3 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 3%


สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : workpointnews.com

 2184
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ถ้ามีใครสักคนพูดขึ้นมาว่า “อยากวางแผนลดหย่อนภาษี” เชื่อเลยครับว่าต้องมีคนแนะนำ “ประกันชีวิต” ตามมาทันทีเป็นตัวเลือกแรกๆ แถมบางคนมักจะตบท้ายด้วยประโยคว่า เลือกประกันชีวิตนอกจากได้ลดหย่อนภาษีแล้ว เงินต้นยังไม่หาย แถมได้รับผลตอบแทนอีกด้วยนะ
944 ผู้เข้าชม
ในองค์กรของคุณมีพนักงานแบบนี้อยู่หรือเปล่า คนที่พร้อมเรียนรู้ ไม่อู้งาน ไม่หมกเม็ด เอาประโยชน์ของบริษัทเป็นที่ตั้ง มีมาตรฐานการทำงานสูง ทำให้ผู้อื่นมีความสุข ฯลฯ หากมีนับเป็นความโชคดีขององค์กรคุณ และควรเก็บรักษาพนักงานเหล่านี้ไว้ให้ดี สนับสนุนพวกเขาให้ถูกทาง
1774 ผู้เข้าชม
เชื่อว่าทุกองค์กรมีหลักสูตรสำหรับพนักงานใหม่ บางทีอาจเรียกว่า หลักสูตรปฐมนิเทศ Orientation Program, New Employee Program ฯลฯ จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ละองค์กร แต่ความหมายสำคัญ คือ เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นสำหรับพนักงานที่เข้างานใหม่กับองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ให้พนักงานรู้จักองค์กรมากขึ้น สามารถปรับตัวให้เข้ากับองค์กรได้ง่ายและเร็วมากขึ้น พร้อมที่จะทำงานให้กับองค์กร
4586 ผู้เข้าชม
ไม่ว่าจะทำงานในสายงานไหนปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดก็คงหนีไม่พ้นปัญหาจุกจิกกวนใจไม่ว่าจากเพื่อนร่วมงาน สถานที่การทำงานที่ไม่เอื้ออำนวย ปัญหารุมเร้าระหว่างลูกค้ากับแผนกที่ต้องประสานงานด้วย และอีกมากมาย ที่รบกวนการทำงานในทุกวัน จนเกิดเป็นความเครียดสะสม ซึ่งปัญหานี้ส่งผลต่อจิตใจ และประสิทธิภาพการทำงานอย่างแน่นอน
772 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์