วิธีจัดการกับพนักงานที่หน้างาน...อย่างมืออาชีพ

วิธีจัดการกับพนักงานที่หน้างาน...อย่างมืออาชีพ

บทความนี้ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้วิธีจัดการกับพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ โดยเบื้องต้นเราต้องแยกพนักงาน
ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. พนักงานไม่รู้ ไม่เข้าใจ 2. พนักงานรู้ แต่ประมาท ลืม หรือไม่ใส่ใจในงานอย่าง
เพียงพอ
 และ 3. พนักงานที่เจตนาทำผิด เมื่อเราแยกพนักงานแต่ละคนออกเป็นกลุ่มๆ ตามการปฏิบัติงานแล้ว

ขั้นตอนต่อไป คือ วิธีการจัดการกับพนักงานแต่ละกลุ่ม ซึ่งมี ดังนี้ 

1. พนักงานไม่รู้ ไม่เข้าใจ

ส่วนใหญ่เป็นพนักงานใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่เกิน 4 เดือน หรือพนักงานที่เพิ่งย้าย
จากแผนกอื่น โอกาสที่พนักงานกลุ่มนี้จะปฏิบัติงานผิดพลาดมีสูง อาจเพราะได้รับความรู้ไม่เพียงพอ หรือยังขาด
ประสบการณ์และทักษะ 
สำหรับแนวทางจัดการกับพนักงานกลุ่มนี้ คือ ให้ความรู้โดยการอบรม ให้เอกสารหรือคู่มือประกอบการปฏิบัติงาน
ให้เขาได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ นอกจากนี้ ต้องมีการทดสอบและติดตามผลการปฏิบัติงานด้วย
และถ้าจะดีมากๆ คือ พวกเราต้องจัดพี่เลี้ยงคอยประกบในช่วง 2 เดือนแรก 

2. พนักงานรู้ แต่ประมาท ลืม หรือไม่ใส่ใจในงานอย่างเพียงพอ

เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น หัวหน้าไว้ใจมาก เกินไปทำให้ขาดการควบคุมอย่างใกล้ชิด ปริมาณมากกว่าความสามารถของตนเองที่จะทำได้ จึงทำให้เกิด
ความรีบเร่ง คิดเรื่องปัญหาส่วนตัว ขณะที่ปฏิบัติงาน ทำให้ใจลอย ทำงานนานๆ แล้วขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
โดยเฉพาะพนักงานที่ทำงานล่วงเวลาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ เป็นประจำ หรือพนักงานคิดว่าตนเองมีความคิด
ที่ดีกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงอยากจะทำตามความคิดของตนเอง ทั้งที่จริงๆ แล้วเราต้องศึกษาผลกระทบต่างๆ
ก่อนที่จะทำ แต่พนักงานกลับทำโดยพละการ เป็นต้น 
สำหรับแนวทางในการจัดการกับพนักงานกลุ่มนี้ ต้องเข้าไปแก้ไขให้ตรงตามแต่ละสาเหตุ เช่น หมั่นเข้าไปพูดคุย
และทำการมอบหมายงาน ต้องควบคุมการปฏิบัติงานของพวกเขาอย่างใกล้ชิดมากกว่าพนักงานปกติ ต้องประเมิน
ผลงานอย่างเหมาะสม และถ้าหากเราหาเพื่อนที่เขาสนิทคอยประกบเขาขณะปฏิบัติงาน เพื่อให้เขาได้ แลกเปลี่ยน
ประสบการณ์จะดีมาก หากเขาทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ต้องกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสม และแจ้งให้พนักงานทราบ 

3. พนักงานที่เจตนาทำผิด 

สาเหตุที่พนักงานกลุ่มนี้มีพฤติกรรมอย่างนี้นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไม่พอใจในงาน
ไม่พอใจหัวหน้า ไม่พอใจเพื่อนร่วมงาน ไม่พอใจบริษัท เป็นต้น 
สำหรับแนวทางการจัดการกับปัญหานี้ คือ เบื้องต้นเราต้องหมั่นเข้าไปพูดคุยกับพนักงานบ่อยๆ เพื่อสังเกตความคิด
ว่าตอนนี้เขามีความรู้สึกอย่างไรกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และบริษัท ถ้าทัศนคติเขาเริ่มจะไปทางลบ คือ รู้สึก
ไม่ชอบ เกลียด ไม่พอใจ เราก็ต้องรีบพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติให้กลับมาดีขึ้น อย่าปล่อยให้พวกเขาคิดลบ หรือมี
ความรู้สึกไม่ดีต่อไปเรื่อยๆ เพราะนั่นอาจเป็นเหมือระเบิดเวลาที่รอวันระเบิด จนทำให้เกิดความเสียหายก็เป็นได้ 
แต่ถ้าวันนั้นมาถึง เมื่อเราจับได้มั่น มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าพนักงานคนนั้นเจตนาทำผิด ทำให้ความเสียหายเกิดขึ้น
เราก็ต้องปฏิบัติตาม 3 กฎ กฎแรก คือ ระเบียบของบริษัท กฎที่สอง คือ กฎหมายแรงงาน และกฎข้อที่สาม คือ
กฎหมายบ้านเมือง 


ที่มา : jobdst.com

 1002
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ปัญหาวุ่น ๆ ของการประสานงาน ไม่มีใครที่ไม่เคยเจอปัญหาในการติดต่อประสานงาน แม้แต่ตัวอลิสเองก็ยังต้องเจอะเจอกับเรื่องวุ่น ๆ ในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นเลย แต่สิ่งสำคัญก็คือ จะเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างไร พบว่าโดยส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดต่อประสานงานมักจะเป็นเรื่องของการบริหารคน เราไม่สามารถบังคับให้ใครทำอะไรตามใจเราได้ คนเป็นเรื่องที่เราควบคุมค่อนข้างลำบาก เรื่องหนักใจอยู่ที่ว่า เราต้องไปติดต่อประสานงานกับคนที่คุยกันแล้วจูนกันไม่ติด พูดกันไม่รู้เรื่อง คิดกันคนละอย่าง และที่ซ้ำร้ายหากคุณต้องไปติดต่อประสานงานกับคนที่ไม่ถูกชะตากัน รับรองว่าใครก็ใคร จะต้องคิดมาก กลุ้มใจ หรือมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาสารพัด
9678 ผู้เข้าชม
ช่วงปลายปี-ต้นปี เป็นโอกาสของผู้ประกันตนคนทำงานแจ้ง เปลี่ยนหรือย้ายสถานพยาบาลใหม่ให้ถูกใจใกล้บ้าน ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น วิธีการยื่นแบบแจ้งเปลี่ยนสถานพยาบาลทำได้ง่ายๆ คือ
8733 ผู้เข้าชม
หลังจากที่เราทราบกันแล้วนะครับว่า เรามีสิทธิประโยชน์ ในการลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง หากยังไม่ทราบอย่าลืม “เช็คสิทธิ ! ค่าลดหย่อนภาษีของคุณว่ามีอะไรบ้าง” กันด้วยนะครับ บทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อยเกี่ยวกับการใช้สิทธิ “ลดหย่อนภาษี” กันครับ
838 ผู้เข้าชม
การวิจารณ์ที่ดีเป็นไปเพื่อเสริมสร้างและชี้แนะผู้ถูกวิจารณ์ให้เกิดการพัฒนา ไม่ใช่เพื่อจ้องจับผิด หรือต้องการประจานให้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่บางครั้งบางคราที่ผู้วิจารณ์มีเจตนาดีแต่ไม่รู้วิธีพูด ความหวังดี จึงกลับกลายเป็นการทำร้ายให้เจ็บช้ำน้ำใจได้โดยไม่รู้ตัว ผู้มีหน้าที่ในการบริหารบุคลากรจึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
2062 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์