พนักงานได้รางวัลจากบริษัทต้องเสียภาษีหรือไม่

พนักงานได้รางวัลจากบริษัทต้องเสียภาษีหรือไม่



ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศไทยนั้นนับวันยิ่งมีความดุเดือดมากขึ้น หากองค์กรหยุดนิ่งหรือไม่พัฒนาเท่าที่ควร ก็อาจส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กรได้ ดังนั้น ผู้บริหารในแต่ละองค์กรจึงต้องวางแผนสร้างหนทางให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอดและพัฒนาเหนือคู่แข่งให้ได้ และปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความมั่นคงและการพัฒนาขององค์กรก็คือ การมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมาทำงานในองค์กร และเมื่อได้บุคลากรดังกล่าวมาแล้ว จะทำอย่างไรเพื่อดึงดูดให้บุคลากรเกิดความรู้สึกรักและอยากทำงานให้กับองค์กรไปนานๆ ซึ่งแน่นอนว่าการมีสวัสดิการที่ดีและเหมาะสมเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นแรงดึงดูดให้พนักงานอยากทำงานกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง หรือสวัสดิการอื่นๆ เช่นมีรางวัลพิเศษจากการจัดแข่งขันกีฬาภายในบริษัท ซึ่งผู้เขียนขอหยิบยกประเด็นทางภาษีอากรของเงินรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันกีฬาภายในบริษัท

หลายท่านคงมีข้อสงสัยว่า หากมีรางวัลตอบแทนแก่ผู้ชนะการแข่งขัน เงินรางวัลที่พนักงานได้รับดังกล่าว จะถือว่าเป็นเงินได้  ที่พนักงานต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ และในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินบริษัทมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายได้อย่างไร ผู้เขียนมีเกร็ดความรู้ที่นำมาแบ่งปันดังนี้ค่ะ

กรณีที่พนักงานได้รับเงินรางวัลจากการแข่งขันกีฬาที่บริษัทจัดขึ้น ถือเป็นประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการจ้างแรงงาน อันเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ซึ่งบริษัทเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งสรรพากร ทั้งนี้ ควรจะมีการจัดทำระเบียบข้อบังคับของบริษัท เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและเงินรางวัลเพื่อเป็นสวัสดิการของพนักงานเป็นการทั่วไป ไม่เลือกปฏิบัติ คือ พนักงานทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขันชิงรางวัล ต่อมาเมื่อพนักงานได้รับเงินรางวัล จึงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และบริษัทในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าว ย่อมมีหน้าที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่บริษัทจะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร หลายท่านคงมีข้อสงสัยว่า


กรณีพนักงานได้รับรางวัล เสียภาษีต่างกับ กรณีประกวดแข่งขันชิงรางวัลหรือไม่

ขอเรียนว่า เงินรางวัลที่ได้จากการแข่งขันชิงรางวัล เช่น รางวัลจากการแข่งขันเกมส์โชว์ ในรายการโทรทัศน์ ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการประกวดแข่งขัน  เป็นเงินได้คนละประเภทกันกับเงินรางวัลของพนักงานที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ซึ่งในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เหมือนกัน และเงื่อนไขในการหักภาษี ณ ที่จ่ายก็แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง  เงินรางวัลที่ได้จากการแข่งขันเกมส์โชว์ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5  ส่วนเงินรางวัลที่พนักงานได้รับจากบริษัท จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีแบบก้าวหน้า นอกจากนี้พนักงานยังมีหน้าที่ต้องนำเงินได้จากรางวัลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง และสามารถนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้มาเป็นเครดิตภาษีได้

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า การแยกประเภทของเงินได้ให้ถูกต้องนับเป็นสิ่งสำคัญและต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณา ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในทางภาษีอากร ซึ่งหากมีการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีผิดประเภท อาจส่งผลให้บริษัทซึ่งเป็นผู้จ่ายต้องร่วมรับผิดกับพนักงานในจำนวนภาษีที่ขาดไป และอาจจะต้องรับผิดในการเสียเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่ม จากเหตุดังกล่าวด้วย ดังนั้น ไม่ว่าท่านจะอยู่ในฐานะเป็นผู้จ่ายเงินได้หรือผู้มีเงินได้ ก็ควรทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายภาษีอากร เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาและป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการคำนวณภาษีในภายหลัง


ที่มา : www.dlo.co.th

 2788
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

หากคุณมีลูกเล็กๆ หรือเคยมีประสบการณ์กับการเลี้ยงเด็ก จะพบว่าเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่สามารถพูดได้ ก็ต้องการการสื่อสาร พูดคุยเหมือนกัน จริงๆ แล้ว คนเราเกิดมาต้องการการสื่อสารทันทีที่คลอดเลยด้วยซ้ำ ดูได้จาก หากเด็กที่คลอดออกมาแล้วไม่ร้อง หมอจะตีหรือทำทุกวิธีที่ให้เด็กร้องเพื่อปอดจะได้เริ่มทำงาน พอโตขึ้นมาหน่อยก็เริ่มพูดเพื่อสื่อสารให้คนรอบข้างเข้าใจ
2658 ผู้เข้าชม
โซลูชั่นเพื่อการคิดคำนวณเวลาขององค์กรโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ค่าใช้จ่าย จะมุ่งเป้าไปยังการคิดและคำนวณเวลาทำงานของพนักงาน รวมถึงค่าตอบแทน หน้าที่และแผนกที่สังกัด ทั้งยังให้ส่วนบริหารตรวจสอบและติดตามผล พร้อมกับตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วย ต่อไปนี้เป็นการตรวจสอบและตรวจวัดที่คุณอาจนำไปใช้ เพื่อประเมินชุดซอฟต์แวร์สำหรับงานดังกล่าว
3532 ผู้เข้าชม
มีงานเขียนทำนอง White Paper ไม่ถึงกับเรียกว่าวิจัยทีเดียวนัก ชื่อว่า ระบบอัตโนมัติ : ผลกระทบต่อแรงงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต จัดทำโดย สถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล (บทความวิจัยฉบับเต็ม เผยแพร่ในงาน HR Day สามารถหาอ่านได้จากเว็บของสมาคมฯ หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่สมาคม)
1013 ผู้เข้าชม
ในภาวะเศรษฐกิจแผ่วลงทุกวัน เช่นในปีสองปีที่ผ่านมาจนลากยาวมาปีนี้ หากองค์กรมุ่งหมายให้อยู่รอดแล้วก็มักหนีไม่พ้นที่จะต้องลดงบประมาณค่าใช้จ่ายทุกทาง หลายองค์กรรัดเข็มขัดไม่เพิ่มอัตรากำลังคนเพื่อรองรับงานใหม่ แต่เน้นเพิ่มงาน (Job Enlargement) ให้กับพนักงานคนเก่าที่ยังทำงานอยู่แทนที่จะรับคนใหม่เข้ามา (เรียกว่ามุ่งใช้คนให้คุ้มค่าเงินที่ว่าจ้างให้มากที่สุด) ในขณะที่หลายองค์กรเลือกตัดลดงบประมาณฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรลง
5085 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์