บริหารแผนงาน ภาวะวิกฤติ

บริหารแผนงาน ภาวะวิกฤติ

โลกธุรกิจหนีไม่พ้น "ความเสี่ยง" ไม่มากก็น้อย ยิ่งยุคปัจจุบันยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นมาก เพราะการแข่งขันเข้มข้นมากขึ้นตั้งแต่ธุรกิจไร้พรมแดน ความสำเร็จแต่ละชิ้นนับวันแต่จะทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามเราในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ก็ต้องพยายามฟันฝ่าอุปสรรคของความลำบากนั้นไปบรรลุจุดหมายให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้

ซึ่งต้องทำความเข้าใจที่สภาวะใดเรียกว่า การบริหารแผนงานในภาวะวิกฤติ

1. แผนงานดำเนินไปตามระยะเวลาที่กำหนด แต่งบประมาณที่ขออนุมัติไว้ มีแนวโน้มไม่พอใช้จ่ายจนเสร็จแผนงาน อาจเป็นไปได้ว่าคาดการณ์งบประมาณไว้ผิดพลาด หรืออาจไม่มีวินัยในการใช้งบประมาณ

วิกฤติ ก็คือ มีแนวโน้มแผนงานจะไม่เสร็จตามแผน เพราะงบประมาณไม่พอใช้จ่าย

2. แผนงานดำเนินไปล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด แต่ งบประมาณใช้จ่ายต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า เพราะแผนงานดำเนินล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด งบประมาณจึงถูกเบิกไปใช้ล่าช้าไปด้วย หรืออาจเป็นไปได้ว่าตั้งงบประมาณไว้สูงเกินความต้องการของแผนงาน

วิกฤติ ก็คือ หากเป็นประเด็นตั้งงบประมาณไว้สูงเกินความต้องการของแผนงาน ก็จะทำให้การพิจารณางบประมาณครั้งต่อไป มีความเจือปนในเรื่องอคติในการตัดสินใจ เช่น เสนองบประมาณเผื่อตัด หรือลักไก่ของบเกินความต้องการ

3. แผนงานดำเนินไปล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด แต่งบประมาณใช้จ่ายสอดคล้องกับแผนงาน

วิกฤติ ก็คือ แผนงานไม่เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

4. แผนงานดำเนินไปล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด และงบประมาณใช้จ่ายสูงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นไปได้ว่า คาดการณ์งบประมาณผิดพลาด หรืออาจไม่มีวินัยในการใช้งบประมาณ

วิกฤติ ก็คือ มีแนวโน้มแผนงานจะไม่เสร็จตามแผน เพราะงบประมาณไม่พอใช้จ่าย

ในทางกลับกันยังมีอีก 3 รูปแบบของการบริหารแผนงานที่มิได้กล่าวถึง ก็คือ การบริหารแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ได้แก่

1. แผนงานดำเนินไปตามระยะเวลาที่กำหนด และใช้งบประมาณสอดคล้องกับความคืบหน้าของแผนงาน

2. แผนงานดำเนินไปตามระยะเวลาที่กำหนด แต่ใช้งบประมาณต่ำกว่าความคืบหน้าของแผนงาน ในที่นี้สาเหตุเป็นเพราะการบริหารงบประมาณแบบมีประสิทธิภาพ

3 .แผนงานดำเนินไปได้เร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนด และใช้งบประมาณต่ำกว่า ความคืบหน้าของแผนงาน ในที่นี้สาเหตุเป็นเพราะ การบริหารแผนงาน และงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ในลำดับต่อไปนี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึง วิธีการอย่างไรที่จะแก้ปัญหา การบริหารแผนงานในภาวะวิกฤติ ซึ่งมีด้วยกัน 5 วิธีการ คือ

1. กรณีแผนงานดำเนินไปอย่างล่าช้ากว่าระยะเวลา และงบประมาณไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายเพื่อให้แผนงานดำเนินไปจนเสร็จสมบูรณ์ มีวิธีแก้วิกฤติได้ ดังนี้ ผู้รับผิดชอบงาน ก็ยังคงดำเนินการตามแผนงานเดิม และงบประมาณเดิมที่ตั้งไว้ อาจทำได้โดย การลดขอบเขตของงานให้เล็กลง เช่น แทนที่จะดำเนินการในขอบเขตของประชากรที่มีอยู่ ก็อาจจะลดขอบเขตดำเนินการเพียงกลุ่มตัวอย่าง หรือที่เรียกว่า โครงการนำร่อง ซึ่งเป็นการลดขอบเขตให้สอดคล้องกับงบประมาณที่เหลืออยู่ ความสำเร็จยังคงพอมีให้เห็นเมื่อการประเมินมาถึง

2. ผู้รับผิดชอบงาน ยังคงดำเนินการตามแผนงานเดิม โดยของบประมาณเพิ่มเติม ซึ่งมีความเป็นไปได้หากมีเหตุอันสุดวิสัย เช่น ผู้มีอำนาจขยายขอบเขตของแผนงาน หรือ อัตราแลกเปลี่ยนด้านการเงิน เกิดความผันผวน ทำให้ลดค่าเงินปัจจุบัน

3. ผู้รับผิดชอบงาน ยังคงดำเนินการตามแผนงานเดิม โดยขอโอนงบประมาณจากส่วนแผนงานอื่นที่มีงบประมาณเหลือใช้เมื่อแผนงานบรรลุ สมบูรณ์ ในประเด็นนี้ ก็น่าจะมีความเป็นไปได้ เพราะกระทำไปโดยมิได้เพิ่มงบประมาณโดยรวม

4. ผู้รับผิดชอบงาน ตัดแผนงาน ณ ปัจจุบันออก และโอนงบประมาณให้แผนงานอื่นที่มีศักยภาพที่จะดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ได้ แต่ขาดงบประมาณดำเนินการเพื่อให้แผนงานดำเนินจนเสร็จสมบูรณ์

5. ผู้รับผิดชอบงาน ตัดแผนงาน ณ ปัจจุบันออก และให้รักษางบประมาณที่ได้อนุมัติไว้ เพื่อผู้รับผิดชอบอาจหาแผนงานอื่นมาทดแทนแผนงานเดิมที่ไม่สามารถดำเนินการ ต่อไปได้

ผู้เขียน เชื่อเป็นอย่างว่า ปัญหาทุกปัญหา มักมีทางออกอยู่เสมอ อาจไม่สามารถแก้วิกฤติได้อย่างสมบูรณ์ 100% แต่ก็น่าจะอยู่ในวิสัยที่เจ้าของเงินยอมรับได้ในระดับหนึ่งครับ คงไม่มีใครอยากเห็นแผนงาน ที่ต้องเผชิญกับวิกฤติโดยไม่จำเป็น

อย่างไรก็ตามดีที่สุด มุ่งบริหารแผนให้เป็นไปตามระยะเวลา และ บริหารงบประมาณให้สอดคล้องกับความคืบหน้าของแผนงาน "อย่าลืมนะครับว่า ยังมีอีกหลายโครงการที่ไม่ต้องอาศัยงบประมาณ ก็สามารถดำเนินการได้ หรืออาจใช้งบประมาณจากแหล่งอื่น พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ"

 1450
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

แก้ปัญหาลาออกให้เจอ ทำไมลูกน้องลาออกบ่อย เคยส่งไหมครับว่าทำไมพนักงานที่เข้ามาใหม่ ไม่ค่อยจะมีใครอยู่ได้ถึง สามปี สี่ปี พอครบปีก็พากันลาออกหมด บางคนนี่ยังไม่ถึงปีด้วยซ้ำเลย…. พยายามจะแก้ปัญหาก็เเล้ว เเต่ก็ดูเหมือนยังไม่ถูกจุด
2155 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ คนน่าจะมีคำตอบอยู่ในใจไปในทิศทางเดียวกัน งาน HR คือแผนกที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องพนักงานของบริษัท รับพนักงานเข้า ดูแลพนักงานที่อยู่ ทำเรื่องให้คนออก ดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคน ภาพต่าง ๆ เหล่านั้นอาจจะเป็นภาพที่ HR สร้างให้ตัวเองมาโดยตลอด แต่ในวันนี้ HR ยังควรรักษาเพียงภาพนี้เอาไว้อย่างเหนียวแน่นหรือไม่
908 ผู้เข้าชม
HR คือส่วนงานแรกขององค์กรที่ต้องเจอกับคลื่น Digital Disruption ส่งผลให้หลายองค์กรหันมามุ่ง Transform สู่ Digital HR เปิดเทรนด์ประเทศไทยและทั่วโลก พบคนส่วนใหญ่หันหน้าสู่อาชีพฟรีแลนซ์มากกว่าทำงานประจำ
1481 ผู้เข้าชม
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวนึงที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว
732 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์