เจ็บแต่จบ หรือยืดเยื้อแบบเรื้อรัง

เจ็บแต่จบ หรือยืดเยื้อแบบเรื้อรัง


ถ้าทำตามทฤษฎีอย่างนี้แล้ว ในชีวิตจริงท่านคิดว่าคนที่ทำงานแบบเรื่อย ๆ มาเรียง ๆ จนเงินเดือนตันจะทำงานและรับผิดชอบมากขึ้นกว่าเดิมได้จริงหรือเปล่าล่ะครับ ?

เพราะความเป็นจริง (ที่ไม่ได้อยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์) ก็คือพอไปเลื่อนตำแหน่งคนที่เงินเดือนตันแต่ขาดศักยภาพ ขาดความสามารถที่จะรับผิดชอบในตำแหน่งที่สูงขึ้นไปได้นั้น ก็จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาอีกหลาย ๆ ด้านที่จะเข้าคิวกันมาให้แก้ไขกันแบบไม่จบไม่สิ้นยังไง อาทิ

1. เมื่อคนที่ถูกเลื่อนขึ้นไปไม่สามารถ perform ได้ในตำแหน่งนั้น ๆ

บริษัทจะลดตำแหน่งหรือลดเงินเดือนลงมาก็ไม่ได้ แถมปัญหายังตามมาอีกว่า แล้วจะย้ายคนคนนี้ไปที่ไหนดี เพราะถ้าปล่อยให้ทำงานในตำแหน่งนี้ก็จะทำให้งานสะดุดมีปัญหาไปหมด

2. แม้จะถูกเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น แต่เจ้าตัวก็ยังทำงานเหมือนเดิม แบบเดิม

ที่เพิ่มเติมคือเพดานเงินเดือนที่สูงมากขึ้น ในขณะที่บริษัทต้องแบกรับ staff cost ที่เพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่พนักงานทำงานเท่าเดิมหรือเผลอ ๆแย่กว่าเดิมเสียอีก อย่างนี้เป็นธรรมไหมสำหรับบริษัท

3. คนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกน้องก็ไม่ยอมรับ ไม่ศรัทธา

เพราะอายุงานมากขึ้นเพียงอย่างเดียวแต่ performance เท่าเดิมหรือลดลงก็จะไม่สามารถบริหารหรือจูงใจลูกน้องที่เป็นคนรุ่นใหม่เอาไว้ได้ โดยเฉพาะลูกน้องที่มีฝีมือมีศักยภาพก็จะทยอยกันหนี เข้าตำรา “เลื่อนตำแหน่ง 1 ครั้ง ได้หัวหน้าที่เลวเพิ่มขึ้น 1 คน แต่เสียลูกน้องที่เก่ง ๆไปเกือบหมด” เพราะไปนั่งขวางทางน้อง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่า

4. สร้างค่านิยมผิด ๆ ให้กับพนักงานในองค์กรว่าทำงานไม่ดีไม่เป็นไร

ขอให้ทู่ซี้อยู่ไปนาน ๆ ยาวไป…ยาวไปก็แล้วกัน เดี๋ยวบริษัทก็เลื่อนตำแหน่งให้เอง ถ้ามีคนคิดอย่างงี้มาก ๆ ถามว่าบริษัทนั้นจะเป็นยังไงในอนาคต

5. ฯลฯ

ทั้งหมดที่ผมพูดมานี้ไม่ได้แปลว่าไม่เห็นใจคนเก่าที่ทำงานอยู่กับบริษัทมานานนะครับ ผมเข้าใจดี เพราะทำงานอยู่กับเรื่องพวกนี้มากว่า 35 ปีแล้ว แต่อยากจะให้มองด้วยใจเป็นธรรมคือ “พนักงานต้องไม่เอาเปรียบบริษัท ในขณะที่บริษัทก็ต้องไม่เอาเปรียบพนักงาน” ด้วยเช่นเดียวกัน

การทำงานมายาวนานกับบริษัทเป็นเรื่องดี แสดงถึงความผูกพัน ความมี loyalty ที่ดีกับองค์กรในด้านหนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่งพนักงานก็ควรจะต้องพัฒนาตัวเองให้มีขีดความสามารถให้เพิ่มขึ้นเพื่อเติบโตไปพร้อมกับบริษัทเพื่อให้มีผลงานที่ดีมากขึ้นไปด้วยเช่นเดียวกัน

เพราะถ้าใครคิดว่าอยู่มานานเพียงอย่างเดียวแล้วทำทุกอย่างเหมือนเดิมมาโดยตลอดแล้วจะหวังให้เงินเดือนและตำแหน่งขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ไม่พัฒนาตัวเอง ความสามารถยังคงเท่าเดิมหรือแย่ลง ผลงานที่เป็นรูปธรรมก็ไม่มี ผมว่ามันก็คงผิดตรรกะความเป็นจริงแล้วล่ะครับ

เพราะ “มีแต่คนเสียสติเท่านั้นที่ทำทุกอย่างเหมือนเดิม แต่หวังจะให้ผลลัพธ์มันดีขึ้น” (ไอน์สไตน์กล่าวไว้) นี่จึงเป็นเหตุผลจากประสบการณ์ของผมว่าเหตุใดจึงไม่ควรเลื่อนตำแหน่งให้กับคนที่อยู่มานานจนเงินเดือนตัน

แม้ไม่เลื่อนตำแหน่งให้และจำเป็นจะต้อง freeze เงินเดือนเอาไว้เท่าเดิม (ที่ max) แต่เราก็ยังมีวิธีดูแลเยียวยาพนักงานที่อยู่มานานจนเงินเดือนตัน(ที่ยังมีทัศนคติที่ดีกับบริษัท) ได้อีกหลายวิธีโดยไม่ต้องไปขยายเพดาน max ขึ้นไปหรือไม่จำเป็นต้องเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นก็ได้

ส่วนพวกที่อยู่มานาน แล้วมีแต่ทัศนคติที่แย่ ๆ คอยแพร่ข่าวลือร้าย ๆ หรือคอยแต่จะเป็นหัวแถวเรียกร้องโน่นนี่จากบริษัท แต่ตัวเองไม่เคยคิดจะทำอะไรให้ดีขึ้น อย่างนี้ก็คงอยู่ที่ฝ่ายบริหารนะครับว่า ควรจะให้ไปต่อ…หรือพอแค่นี้จะให้เจ็บแต่จบ หรือยืดเยื้อแบบเรื้อรัง

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.prachachat.net

 1342
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

4 เรื่องกฎหมายทางการเงินใหม่ของปีหน้า 2563 ที่ควรรู้ไว้ตั้งแต่ปีนี้ 2562 มีอะไรบ้าง? กระทบกับเราหรือไม่? และจะต้องเตรียมตัวอย่างไร? สิ่งสำคัญคือต้องเร่งศึกษาและทำความเข้าใจตั้งแต่วันนี้ เพื่อเตรียมรับมือให้ทัน
1435 ผู้เข้าชม
จากกระทรวงแรงงานะระบุว่า ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 12 ล้านคน พร้อมกันนี้กระทรวงแรงงานโดยคณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมสำหรับ การจ้างงานผู้สูงอายุ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
10365 ผู้เข้าชม
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเข้าอยู่ในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องว่าจ้างให้ทำของหรือใช้บริการ ยกตัวอย่าง จ้างฟรีแลนซ์ (บุคคลทั่วไป) ให้ทำเว็บไซต์ ออกแบบกราฟิก จ้างช่างมาซ่อมแอร์ หรือการว่าจ้างบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี บริษัทออกแบบโฆษณา หรือค่าบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันภัยสินค้า ค่าประกันขนส่ง ค่าเช่าออฟฟิศ ฯลฯ รายจ่ายเหล่านี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจะมีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ของเงินค่าจ้างของผู้ให้บริการออกมาด้วย โดยที่เงินนี้จะไม่ใช่เงินของเรา แต่เป็นเงินที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร
6206 ผู้เข้าชม
จากสถิติประชากรศาสตร์ของประเทศนั้น จะเห็นว่า อีก 15 ปีข้างหน้า คนไทยอายุเกิน 60 ปี จะมีมากถึง 1 ใน 4 ของประเทศ ทำให้มีการผลักดันการแก้กฎหมาย โดยมีการเพิ่มมาตรา 118/1 ให้ถือว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรค 2 เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และกำหนดอายุของการเกษียณอายุไว้ที่ 60 ปีบริบูรณ์
2558 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์