โดยในขณะที่ผู้เขียนเขียนบทความนี้นั้น ได้มีประกาศถึงมติ ครม. เกี่ยวกับกองทุน SSFที่จะมาเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการลงทุนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ เหมือนกับ LTFโดยที่ กองทุน SSF นั้นจะต่างจาก LTF ตรงที่ผู้ซื้อต้องถือกองทุนนี้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี และสามารถซื้อได้ ไม่เกิน 30% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อนำไปรวมกับ RMF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,กบข.,ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนออมแห่งชาติ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทอีกด้วย
จากกฎเกณฑ์นี้ กลุ่มคนที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือกลุ่มผู้บริหารระดับสูง หรือผู้มีรายได้ประจำเฉลี่ยเกิน 250,000 บาทขึ้นไป เพราะจากเดิมที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อน LTF และ RMF รวมกันได้สูงสุด 1,000,000 บาท จะลดลงมาเหลือแค่ 500,000 บาทเท่านั้น จากการลองคำนวณดู ผู้บริหารที่มีรายได้ปีละ 3,400,000 บาท จะมีความเป็นไปได้ที่จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกปีละ 150,000 บาทเลยทีเดียว
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง ณ วันที่ 1 มกราคมนั้น ที่ดินทุกที่ที่เรามีชื่อเป็นผู้ครอบครองนั้นจะถูกนำมาคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด โดยที่หากเป็นบ้านพร้อมที่ดินที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมูลค่าประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท ก็จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่หากเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินจะถูกนำไปคิดคำนวณภาษี ที่อัตรา 0.03%-0.10% ขึ้นอยู่กับราคาประเมิน แต่หากเป็นอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว ไม่มีที่ดิน (เช่น คอนโดมิเนียม)นั้น จะได้รับการยกเว้นที่ราคาประเมิน 10 ล้านบาทแรก
ส่วนที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ไม่ได้มีชื่อในทะเบียนบ้านนั้น จะถูกคิดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ 0.02%-0.10% ขึ้นอยู่กับราคาประเมิน
และเพื่อไม่ให้ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้างสูงโดยไม่จำเป็น กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่แนะนำให้นำมาใช้ก็คือการย้ายทะเบียนบ้านของตัวเราเข้าไปอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาแพงที่สุด เสียก่อนที่จะถึงวันที่ 1 มกราคม 2563 นั่นเองครับ
เพื่อตรวจสอบรายการเงินเข้าบัญชีบุคคลโดยจะเป็นข้อมูลที่เริ่มเก็บตั้งแต่ มีนาคม 2562 เป็นต้นไป โดยหากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ รายชื่อของบุคคลนั้นจะถูกส่งไปที่สรรพากรครับ นั่นคือ "มียอดธุรกรรมทางการเงินเข้าบัญชีเกิน 400 ครั้งต่อปี และยอดรวมเกิน 2,000,000 บาท" หรือ "มียอดเงินเข้าเกิน 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป"
เพราะฉะนั้น หากไม่อยากให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กับทางสรรพากร ก็อย่าลืมตรวจสอบยอดเงินเข้า ในปีนี้กันด้วยนะครับ ว่ามีบัญชีไหนใกล้จะถึงเงื่อนไขที่กำหนดไว้บ้างแล้ว และอาจจะเปลี่ยนไปใช้การทำธุรกรรมกับบัญชีต่างธนาคารอื่นแทนครับ อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้หลุดจากเงื่อนไขการส่งข้อมูลของธนาคาร สถาบันการเงินให้กับทางสรรพากรได้แล้วจริงๆ นั้น อาจจะต้องมานั่งคิดวางแผนภาษีในปีหน้าที่จะถึงอย่างเป็นเรื่องเป็นราวให้ถูกต้องแล้วละครับ
เท่านั้นครับ ดังนั้นการฝากเงินในธนาคารก็ใช่ว่าจะปลอดภัยเหมือนเดิมอีกต่อไป
การลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำใกล้เคียงกับเงินฝาก แต่ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นครับ แต่อย่างไรก็ตามก่อนการลงทุน อย่าลืมศึกษาทำความเข้าใจในตัวสินค้าให้ดีเสียก่อน
ที่มา : www.bangkokbiznews.com