• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • 10 ไอเดียที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานตั้งใจทํางานได้มากขึ้น

10 ไอเดียที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานตั้งใจทํางานได้มากขึ้น

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • 10 ไอเดียที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานตั้งใจทํางานได้มากขึ้น

10 ไอเดียที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานตั้งใจทํางานได้มากขึ้น

หัวหน้างานมักกังวัลเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของลูกน้องว่าจะทำอย่างไรให้พวกเขาทำงานกันได้อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันหัวหน้างานก็มักจะไม่ค่อยรู้วิธีสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานเลย แล้วทางออกที่ดีควรทำอย่างไร เรามี 10 ไอเดียดีๆ ที่จะมาแนะนำ ซึ่งจะทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานเพิ่มมากขึ้นได้

1. จัดการฝึกอบรมและพัฒนา

วิธีนี้เป็นวิธีอย่างหนึ่งที่สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้พวกเขามีความรู้ ตลอดจนมีทักษะเพิ่มมากขึ้น ทำให้เขาเกิดความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ตลอดจนพัฒนาในสายอาชีพของตน โดยการจัดการอมรมนั้นมีหลากหลายวิธีดังนี้

  • ฝึกอบรมการโค้ช (Coaching) : เป็นการฝึกพัฒนาตัวเองด้วยการตั้งเป้าหมายและดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ฝึกถึงความรับผิดชอบของตนได้ดี
  • การฝึกอบรมภายในองค์กรและนอกองค์กร (In house and public training) : เป็นการให้พนักงานได้ฝึกอบรมต่างๆ ทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร เพื่อให้พนักงานมีความรู้เพิ่มขึ้น หลากหลายขึ้น
  • การหมุนเวียนตำแหน่งงาน (Job Rotation) : การสับเปลี่ยน โยกย้าย หรือหมุนเวียนตำแหน่งงานนั้น มีประโยชน์ตรงที่ทำให้พนักงานไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการทำงาน ทั้งยังได้พัฒนาทักษะใหม่ๆ ในการทำงานเพิ่มขึ้น ได้ลองอะไรที่หลากหลาย ได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ

2. สวัสดิการและสิทธิพิเศษอื่นๆ

สวัสดิการและสิทธิพิเศษต่างๆ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแรงจูงใจในการทำงานได้ หัวหน้างานสามารถใช้สวัสดิการและสิทธิพิเศษที่เหมาะสมในการเป็นเครื่องมือสร้างแรงจูงใจกับลูกน้องได้ หรือองค์กรเองก็สามารถจัดสรรเรื่องนี้เพื่อเป็นแรงจูงใจพนักงานได้เช่นกัน เช่น

  • สวัสดิการด้านคอร์สเรียนภาษาต่างประเทศ : การจัดให้เรียนคอร์สภาษาต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ ตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น และควรเป็นภาษาที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานด้วย
  • สวัสดิการด้านสันทนาการและการผ่อนคลาย : หรืออาจเป็นสวัสดิการที่ช่วยทำให้ชีวิตผ่อนคลาย ออกกำลังกาย ตลอดจนลดความเครียดในการทำงาน ตัวอย่างเช่น คอร์สเรียนโยคะ, สมาชิกฟิตเนส, คอร์สกีฬาอื่นๆ เป็นต้น คนยุคปัจจุบันนั้นหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น การจัดสวัสดิการด้านนี้ก็อาจทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานได้ดี
  • สวัสดิการด้านการท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ : อีกตัวอย่างที่น่าสนใจก็คือสวัสดิการด้านการพักผ่อนและการท่องเที่ยว อย่างเช่นการจัดทริปประจำปี การให้ตั๋วเครื่องบินท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งเป็นการให้รางวัลพนักงานที่ทำงานหนักมาทั้งปี และช่วยให้พนักงานได้พักผ่อนอย่างมีความสุข เป็นการกระตุ้นแรงจูงใจในการทำงานได้ยอดเยี่ยมทีเดียว

3. ให้สิ่งตอบที่องค์กรจัดทำขึ้นพิเศษ

การที่พนักงานทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพนั้นการให้คำชมอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ องค์กรอาจให้สิ่งตอบแทนเพิ่มเติมที่แสดงถึงการขอบคุณจากองค์กร เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ โดยของขวัญนั้นควรเป็นของพิเศษที่องค์กรจัดทำขึ้นโดยเฉพาะ หาซื้อที่ไหนไม่ได้ เป็นการแสดงถึงการมอบของรางวัลที่ล้ำค่าให้กับพนักงานที่ตอบแทนองค์กรได้ดีด้วยเช่นกัน ความล้ำค่านี้อาจไม่ได้อยู่ที่ราคาเป็นหลัก หากแต่อยู่ที่ความตั้งใจขององค์กรที่จะทำของขวัญพิเศษนั้นขึ้นมา อาทิ

  • อุปกรณ์สำนักงานที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นพิเศษให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • ของใช้ส่วนตัวในชีวิตประจำวัน แต่เป็นการจัดทำพิเศษแบบ Limited Edition ขององค์กรโดยเฉพาะ และควรเป็นของที่มีดีไซน์น่าใช้ วัตถุดิบมีคุณภาพ เช่น เสื้อผ้า, กระเป๋า, เป็นต้น
  • รับประทานอาหารมื้อพิเศษกับผู้บริหารระดับสูง
  • จัดงานเลี้ยงสังสรรในโอกาสพิเศษต่างๆ ของพนักงาน เช่น การเลื่อนตำแหน่ง, งานวันเกิด เป็นต้น

4. การสื่อสารในเชิงบวก

คำพูดเป็นเสมือนดาบสองคม บางทีอาจส่งผลในทางบวก บางทีอาจส่งผลในทางลบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกาลเทศะและสถานการณ์แต่ละครั้งได้เหมือนกัน ควรหลีกเลี่ยงคำพูดที่มีความหมายในทางลบ คำพูดประชดประชัน การเหน็บแนม หรือนินทาว่าร้าย ควรพูดในเชิงบวก พูดด้วยไมตรี สุภาพ พูดบนพื้นฐานของความหวังดี ไม่พูดโกหก

ขณะเดียวกันก็ควรหลีกเลี่ยงการพูดที่แสดงอำนาจเกิดความจำเป็น อย่างเช่น พูดเชิงออกคำสั่ง ดุด่าว่ากล่าว เสียงดังโดยไม่จำเป็น เป็นต้น การพูดที่ดีอีกอย่างคือลักษณะของการพูดเชิงสร้างสรรค์ อย่างการพูดให้กำลังใจ การพูดชมเชยเมื่อทำงานได้ดี และพูดปลอบโยนให้กำลังใจในยามที่ทำงานผิดพลาด ไม่ซ้ำเติม หรือให้คำปรึกษาในยามที่เกิดความกังวล ตลอดจนการพูดขอบคุณที่ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

5. สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทํางาน

สภาพแวดล้อมในการทำงานมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่ดี กระตุ้นให้เกิดการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ลดความเบื่อหน่ายกับสภาพแวดล้อมเดิมๆ ซึ่งการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นนั้นมีหลายวิธี เช่น

  • ปรับเปลี่ยนรูปโฉม ตกแต่งออฟฟิศใหม่ ในที่นี้ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนเล็กๆ อย่างเช่นการจัดโต๊ะใหม่ ปรับมุมใหม่ เปลี่ยนเก้าอี้ใหม่ ตกแต่งห้องทำงานใหม่ เพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อหน่าย ไปจนถึงยกเครื่องตกแต่งออฟฟิศใหม่หมด เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ใหม่หมด เปลี่ยนสไตล์การตกแต่งใหม่หมด เป็นต้น
  • สร้างโซนให้พนักงานได้พักผ่อนหย่อนใจ ผ่อนคลายจากการทำงาน เช่น ห้องนั่งเล่น, ห้องกิจกรรมบันเทิง, ห้องกีฬา, หรือแม้แต่สวนหย่อม เป็นต้น
  • จัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เช่น เก้าอี้ที่ดีต่อสุขภาพ, จอคอมพิวเตอร์ที่ถนอมสายตา, โคมไฟเพื่อช่วยเพิ่มแสงสว่างให้เหมาะสม เป็นต้น
  • สร้างบรรยากาศที่สุนทรีย์ เช่น อนุญาตให้พนักงานผ่อนคลายโดยการเปิดเพลงเบาๆ
  • สร้างบรรยากาศในการทำงานเป็นทีมให้เหมาะสม เช่น จัดประชุมเพื่อกระชับความสามัคคีในการทำงาน, จัดประชุมนอกสถานที่เพื่อป้องกันความเบื่อหน่าย กรณีนี้เป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่เกี่ยวกับตัวบุคคลและระบบการทำงานนั่นเอง

6. เพิ่มเวลาส่วนตัวตลอดจนเวลาพักผ่อนให้พนักงานมากขึ้น

การเพิ่มเวลาส่วนตัวให้พนักงาน ตลอดจนเพิ่มเวลาพักผ่อนให้กับบุคลากรในองค์กรให้ผ่อนคลายมากขึ้น ก็เป็นการสร้างพลังในการทำงานที่ดี

  • เพิ่มเวลาในการรับประทานอาหารกลางวัน ทำให้พนักงานไม่ต้องเร่งรีบ มีเวลาเหลือที่จะทำกิจกรรมอย่างอื่นต่อบ้าง
  • เลิกงานเร็วกว่าปกติ ให้พนักงานได้ใช้เวลาหลังเลิกงานไปทำธุรส่วนตัวต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น หรือพักผ่อนหย่อนใจ พบปะเพื่อนฝูง ให้พนักงานได้ผ่อนคลาย เจอสังคม เจอครอบครัว จะทำให้พนักงานเครียดหรือเบื่อหน่ายน้อยลง
  • เพิ่มวันหยุดประจำปี ให้พนักงานมีโอกาสลาหยุดได้เพิ่มขึ้น โดยมีเงื่อนไขที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานได้ดีอีกวิธีหนึ่ง

7. สร้างแรงจูงใจส่วนบุคคลให้ถูกต้องและเหมาะสม

หัวหน้างานตลอดจนฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรวิเคราะห์ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ และความต้องการของพนักงานแต่ละคนได้ แน่นอนว่าทุกคนมีความแตกต่างกัน แต่เราก็ควรเรียนรู้ความเฉพาะเจาะจงของแต่ละคนให้ได้มากที่สุด ซึ่งมันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างแรงจูงใจส่วนบุคคลได้แตกต่างกันด้วย วิธีการหนึ่งอาจจะไม่เหมาะกับอีกคนหนึ่ง แต่วิธีการหนึ่งอาจจะเหมาะกับคนอีกประเภทหนึ่ง

สิ่งเหล่านี้ควรทำความเข้าใจให้ดี และควรใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานให้เกิดประโยชน์ อย่างเช่น หากรู้ว่าพนักงานคนนี้มีความกระตือรือร้นในการทำงาน เราก็อาจจะมอบหมายงานที่มีความรับผิดชอบสูงให้ ในขณะเดียวกันก็ต้องตอบแทนความสำเร็จที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน หรือพนักงานบางคนชอบคิดวิเคราะห์ ละเอียดละออ ถี่ถ้วน ใช้เวลานาน ก็ควรมอบงานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ ให้เวลาในการทำงาน ไม่ใช่ให้งานที่ต้องการความไวและรวดเร็ว เป็นต้น

8. ให้เกียรติพนักงาน

การให้เกียรติพนักงานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ควรพูดจาด้วยน้ำเสียงที่ดี แสดงความจริงใจ มีไมตรี เปิดใจ สามารถให้คำปรึกษาได้ในยามที่มีปัญหา และต้องแสดงให้พนักงานเห็นว่าทุกคนมีความสำคัญกับองค์กรเช่นกัน การพูดคุยต่อกันไม่ควรแสดงกิริยาก้าวร้าว พูดจาเอะอะโวยวาย ยกตนข่มท่าน แสดงอำนาจ เพราะจะทำให้พนักงานเกิดความหวาดกลัว หรือไม่ก็หมดศรัทธา ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ หมดกำลังใจในการทำงานได้ การให้เกียรติซึ่งกันและกันจะทำให้เคารพซึ่งกันและกัน และส่งเสริมกำลังใจซึ่งกันและกันในการทำงานได้ด้วย

9. มีความยุติธรรม

องค์กรตลอดจนบุคลากรทุกคนควรมีความยุติธรรม โดยเฉพาะหัวหน้างานที่ต้องไม่ลำเอียง ไม่เลือกปฎิบัติ ไม่เป็นธรรม ไม่ให้ความเท่าเทียม ตลอดจนไม่ใส่ใจคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่ละเลยใส่ใจคนใดคนหนึ่งเลยเพียงเพราะไม่ถูกใจตน หากหัวหน้างานไม่เกิดความยุติธรรม ก็ย่อมทำให้การทำงานเกิดปัญหาได้ ความสัมพันธ์ภายในทีม หรือระหว่างทีมอื่น เกิดปัญหา ตลอดจนสร้างความไม่น่าเชื่อถือ ไม่น่านับถือ การมีความยุติธรรม ปฎิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกันก็ย่อมสร้างแรงจูงใจที่ดีในการทำงานได้เช่นกัน

10. ทำให้บุคลากรรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

การที่องค์กรตลอดจนหัวหน้างานทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาก็เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มีความสำคัญกับองค์กรเหมือนกันทุกคน ตลอดจนมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน ย่อมสร้างแรงจูงใจที่จะทำให้ทุกคนตั้งใจทำงานได้ ทุ่มเทและจริงใจในการทำงาน เสียสละเพื่อองค์กรและส่วนร่วม ร่วมกันพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และร่วมกันผลักดันองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ตลอดจนภูมิใจกับความสำเร็จร่วมกัน การไว้วางใจองค์กร ในขณะที่องค์กรก็ไว้วางใจบุคลากร จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้องค์กรยืนอยู่ในระยะยาวได้

สรุป

ทราบเคล็ดลับกันอย่างนี้แล้ว องค์กรตลอดจนหัวหน้างานอาจจะเริ่มมีการสำรวจตนเองไปจนถึงลูกน้องในที่ทำงานมากขึ้นว่าเรามีความใส่ใจซึ่งกันและกันมากน้อยเพียงไร งานที่กำลังทำกันอยู่ประสบความสำเร็จหรือไม่ หรือมีศักยภาพพอหรือเปล่าที่จะขับเคลื่อนองค์กรร่วมกัน รวมถึงการสร้างแรงจูงใจอย่างไรให้ทกุคนเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานร่วมกัน และขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า พัฒนาสู่ความสำเร็จ

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : th.hrnote.asia

 2968
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ต้องยอมรับว่าทันทีที่โลกก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายและรวดเร็ว นั่นรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพ และการปฎิวัติทางการทำงานที่ทุกฝ่ายต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ตั้งแต่ตัวองค์กรเองไปจนถึงพนักงานทุกระดับ
2451 ผู้เข้าชม
แก้ปัญหาลาออกให้เจอ ทำไมลูกน้องลาออกบ่อย เคยส่งไหมครับว่าทำไมพนักงานที่เข้ามาใหม่ ไม่ค่อยจะมีใครอยู่ได้ถึง สามปี สี่ปี พอครบปีก็พากันลาออกหมด บางคนนี่ยังไม่ถึงปีด้วยซ้ำเลย…. พยายามจะแก้ปัญหาก็เเล้ว เเต่ก็ดูเหมือนยังไม่ถูกจุด
2253 ผู้เข้าชม
การทำ Succession Planning เชิงรุกเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดพนักงานในตำแหน่งสำคัญๆ ได้มาก เพราะบริษัทจะทำการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเป็นระยะๆ มีการสรรหา พัฒนา และตระเตรียมคนไว้ทดแทนอยู่ตลอดเวลา แทนที่จะรอพนักงานคนเก่งลาออกไปแล้วค่อยมาคิดหาคนทดแทน ซึ่งกว่าจะหาคนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงมาทดแทนได้ก็ยาก และบางทีก็ใช้เวลานาน
9083 ผู้เข้าชม
HR (Human Resource) ตำแหน่งที่ต้องเจอทุกคน ต้องแก้ทุกปัญหา เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีความรู้รอบด้าน เอาทั้งศาสตร์และศิลป์มาปรับใช้กับทุกสถานการณ์ที่ต้องเจอ ทำให้องค์กรหลาย ๆ แห่งมักจะมีตำแหน่งนี้อยู่ด้วยเสมอเพื่อจัดการความเรียบร้อยให้องค์กร
1528 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์