4 เรื่องกฎหมายการเงินใหม่ ต้องทราบปี 2563

4 เรื่องกฎหมายการเงินใหม่ ต้องทราบปี 2563

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน ชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ต้องวางแผน วันนี้ผมมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการวางแผนการเงินของบริษัท Wealth Creation International Co., Ltd. คุณปิติพงษ์ รุ่งเรืองวุฒิกุล CFP® จะมาเล่าเรื่องกฎหมายการเงินที่จะออกใหม่ในปี 2563 ได้ผู้อ่านทุกท่านได้เตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ ครับ

1. การใช้สิทธิลดหย่อน LTFโดยในปี 2562 นี้จะเป็นปีสุดท้ายที่สามารถใช้ค่าซื้อ LTF มาเป็นค่าใช้จ่ายในการลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลได้

โดยในขณะที่ผู้เขียนเขียนบทความนี้นั้น ได้มีประกาศถึงมติ ครม. เกี่ยวกับกองทุน SSFที่จะมาเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการลงทุนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ เหมือนกับ LTFโดยที่ กองทุน SSF นั้นจะต่างจาก LTF ตรงที่ผู้ซื้อต้องถือกองทุนนี้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี และสามารถซื้อได้ ไม่เกิน 30% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อนำไปรวมกับ RMF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,กบข.,ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนออมแห่งชาติ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทอีกด้วย

157560154843

จากกฎเกณฑ์นี้ กลุ่มคนที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือกลุ่มผู้บริหารระดับสูง หรือผู้มีรายได้ประจำเฉลี่ยเกิน 250,000 บาทขึ้นไป เพราะจากเดิมที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อน LTF และ RMF รวมกันได้สูงสุด 1,000,000 บาท จะลดลงมาเหลือแค่ 500,000 บาทเท่านั้น จากการลองคำนวณดู ผู้บริหารที่มีรายได้ปีละ 3,400,000 บาท จะมีความเป็นไปได้ที่จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกปีละ 150,000 บาทเลยทีเดียว

2. 1 มกราคม 2563  จะเป็นวันแรกที่เริ่มมีการประเมิน และเรียกเก็บ

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง ณ วันที่ 1 มกราคมนั้น ที่ดินทุกที่ที่เรามีชื่อเป็นผู้ครอบครองนั้นจะถูกนำมาคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด โดยที่หากเป็นบ้านพร้อมที่ดินที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมูลค่าประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท ก็จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่หากเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินจะถูกนำไปคิดคำนวณภาษี ที่อัตรา 0.03%-0.10% ขึ้นอยู่กับราคาประเมิน แต่หากเป็นอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว ไม่มีที่ดิน (เช่น คอนโดมิเนียม)นั้น จะได้รับการยกเว้นที่ราคาประเมิน 10 ล้านบาทแรก

ส่วนที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ไม่ได้มีชื่อในทะเบียนบ้านนั้น จะถูกคิดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ 0.02%-0.10% ขึ้นอยู่กับราคาประเมิน

และเพื่อไม่ให้ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้างสูงโดยไม่จำเป็น กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่แนะนำให้นำมาใช้ก็คือการย้ายทะเบียนบ้านของตัวเราเข้าไปอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาแพงที่สุด เสียก่อนที่จะถึงวันที่ 1 มกราคม 2563 นั่นเองครับ 

3. วันที่ 31 มีนาคม 2563 จะเป็นวันที่ ธนาคารและสถาบันการเงินจะส่งข้อมูลทางบัญชีของผู้ใช้บริการให้กับสรรพากร

เพื่อตรวจสอบรายการเงินเข้าบัญชีบุคคลโดยจะเป็นข้อมูลที่เริ่มเก็บตั้งแต่ มีนาคม 2562 เป็นต้นไป โดยหากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ รายชื่อของบุคคลนั้นจะถูกส่งไปที่สรรพากรครับ นั่นคือ "มียอดธุรกรรมทางการเงินเข้าบัญชีเกิน 400 ครั้งต่อปี และยอดรวมเกิน 2,000,000 บาท" หรือ "มียอดเงินเข้าเกิน 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป"

เพราะฉะนั้น หากไม่อยากให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กับทางสรรพากร ก็อย่าลืมตรวจสอบยอดเงินเข้า ในปีนี้กันด้วยนะครับ ว่ามีบัญชีไหนใกล้จะถึงเงื่อนไขที่กำหนดไว้บ้างแล้ว และอาจจะเปลี่ยนไปใช้การทำธุรกรรมกับบัญชีต่างธนาคารอื่นแทนครับ อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้หลุดจากเงื่อนไขการส่งข้อมูลของธนาคาร สถาบันการเงินให้กับทางสรรพากรได้แล้วจริงๆ นั้น อาจจะต้องมานั่งคิดวางแผนภาษีในปีหน้าที่จะถึงอย่างเป็นเรื่องเป็นราวให้ถูกต้องแล้วละครับ

4. ในวันที่ 11 สิงหาคม 2563 นั้น สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะลดความคุ้มครองเงินฝากลงจากเดิมที่คุ้มครองอยู่ที่ 5,000,000 บาทต่อปี จะเหลือเพียงแค่ 1,000,000 บาท

เท่านั้นครับ ดังนั้นการฝากเงินในธนาคารก็ใช่ว่าจะปลอดภัยเหมือนเดิมอีกต่อไป

การลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำใกล้เคียงกับเงินฝาก แต่ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นครับ แต่อย่างไรก็ตามก่อนการลงทุน อย่าลืมศึกษาทำความเข้าใจในตัวสินค้าให้ดีเสียก่อน

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.bangkokbiznews.com

 1288
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวนึงที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว
732 ผู้เข้าชม
ทุกๆ ปีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมเวียนมาถึง คาดว่าท่านผู้อ่านและคนไทยทั้งประเทศคงจะมีพฤติกรรมเหมือนกับผู้เขียนคือ พอตกเย็นก็รีบกลับบ้านเพื่อมาเปิดโทรทัศน์ฟังกระแสพระราชดำรัสของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ซึ่งพระองค์จะมีพระราชดำรัสกับ คณะบุคคลต่างๆ ตั้งแต่คณะรัฐมนตรี คณะองคมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนประชาชนธรรมดาทั่วไป สำหรับผู้เขียนแล้ว คืนวันที่ 4 ธันวาคมจะเป็นค่ำคืนของการเรียนรู้แนวความคิดต่างๆ จากพระราชดำรัส ซึ่งแนวความคิดเหล่านั้น บางครั้งก็เป็นเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดิน การแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในเรื่องต่างๆ เช่น การเกษตร ฝนแล้ง ปัญหาน้ำท่วม บางครั้งก็เป็นเรื่องของ พระองค์เองที่ได้ทรงเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์และทรงนำมาถ่ายทอดให้เราได้ฟังและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตของเรา
21527 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ คนคงทราบดีอยู่แล้วว่า สวัสดิการพนักงาน นั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ทางบริษัท หรือนายจ้างมอบให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างทุก ๆ คน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของลูกจ้างและเพื่อให้ลูกจ้างมีสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานที่ดีขึ้นก็ตาม แต่สิ่งที่ได้รับมาเหล่านั้นก็ต้องถูกนำไปคิดคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินของเราในการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในรอบปีบัญชีนั้น ๆ เว้นแต่สวัสดิการต่าง ๆ ที่เราได้รับ จะถูกจัดอยู่ในข้อบัญญัติตามกฎหมายให้มีการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่จะมีสวัสดิการตัวใดกันที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมาคำนวณภาษี ค่าคลอดบุตรถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ ค่าเบี้ยเลี้ยงทางภาษี ถือเป็นสวัสดิการที่ได้รับการยกเว้นหรือเปล่า และค่าเดินทางเหมาจ่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
21442 ผู้เข้าชม
ด้วยปัจจัยตั้งต้นก็มักจะคล้ายกันในหลายๆ กิจการ ที่ก่อเกิดโดยคนเพียง 1 หรือ 2-3 คนในการคิดทำสินค้า หรือบริการ นั้น ๆ ออกขาย จะเรียกว่าเกิดจากไอเดีย (idea) ช่องทาง (Chanel) หรืออื่นๆ แม้จะเป็นความสร้างสรรค์หรือไม่ก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดความคิด ที่รวมๆ แล้วเรียกได้ว่า ความคิดจากการมองเห็น โอกาส (Opportunity)
1398 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์