คนที่เพิ่งทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือทำงานประจำควบคู่กับการขายของออนไลน์มักเจอปัญหาเรื่องการเสียภาษี ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาษีอะไรบ้างที่ต้องจ่าย และมีเอกสารอะไรที่ต้องเก็บบ้าง
ยิ่งการค้าขายยุคนี้ทำเรื่องซื้อขายกันผ่านสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น FB/IG/LINE หรือสื่อเจ้าอื่นๆ การส่งเอกสารทั้งใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้า หลักฐานการโอนเงิน หรือใบเสร็จ ก็ทำกันช่องทางนี้ หากไม่พิมพ์เอกสารเหล่านี้ออกมาเก็บไว้ พอถึงสิ้นปีที่จะต้องเสียภาษี ก็ไม่มีข้อมูลที่จะมาใช้คำนวณ ทำให้เสียภาษีไม่ถูกต้อง (อาจจะสูงไปหรือต่ำไป) และเป็นเหตุให้ต้องโดนสอบภาษีย้อนหลังได้
FB/IG/LINE เว็บไซต์ธุรกิจที่ตั้งขึ้น รวมถึงเว็บ E-Commerce เปรียบได้กับหน้าบ้านที่ช่วยให้ค้าขายได้สะดวกสบายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลาย แต่ก็ไม่ควรลืมระบบหลังบ้านที่ทำหน้าที่จัดการเอกสารและหลักฐานการซื้อขาย เพื่อเอาไว้ใช้คำนวณภาษีและยื่นภาษีแก่กรมสรรพากรตามที่กำหนดด้วย ไม่ว่าผลการประกอบการจะเป็นเช่นไร จะกำไรหรือขาดทุน ก็ต้องยื่นแบบนำส่งกรมสรรพากร
รายได้ในแต่ละช่องทางที่ได้รับคือตัวบอกว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไร หากมีรายได้จากแค่ เงินเดือน ค่าล่วงเวลา และโบนัส จะถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ต้องเสียภาษี ลงในฟอร์ม ภ.ง.ด. 91 แต่หากมีรายได้จากช่องทางอื่นๆ ก็จะเสียภาษีลงในฟอร์ม ภ.ง.ด.90
สำหรับรายได้ที่มาจากการทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือขายของออนไลน์ จะถือเป็นรายได้ประเภทที่ 8 ก็จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด.90
(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) = รายได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
รายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.005% = ค่าภาษี
หลังจากนั้นให้เทียบภาษีจากทั้ง 2 วิธี หากวิธีไหนคำนวณแล้วได้ว่าต้องเสียภาษีมากกว่า ให้เลือกเสียภาษีจากวิธีคำนวณนั้น
เมื่อเข้าสู่โลกของการทำธุรกิจ และมีรายได้แล้ว ก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษี แต่จะเสียภาษีได้อย่างไร หากไม่รู้ว่าธุรกิจที่ตัวเองทำอยู่มีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ ดังนั้นถ้าอยากรู้ว่าสิ้นปีเราจะมีรายได้เท่าไหร่ ก็ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายขึ้น
ในการดำเนินธุรกิจ จะมีคนที่เกี่ยวข้องในชีวิตเราอย่างน้อย 2 คนคือ นักบัญชี และผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งคนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจที่ยังไม่ได้จ้างนักบัญชีหรือสำนักบัญชี ก็ต้องมั่นใจว่าบัญชีที่เราทำนั้นถูกต้อง แต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจในบัญชีที่ทำอยู่ว่าถูกต้องหรือไม่ หรือไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ขอให้เริ่มจากสิ่งเหล่านี้ก่อน
สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้
ที่มา : flowaccount.com