ลดหย่อนภาษี ด้วยดอกเบี้ยบ้าน

ลดหย่อนภาษี ด้วยดอกเบี้ยบ้าน

เมื่อทำงานมาสักพัก หลายคนก็เริ่มคิดอยากมีทรัพย์สินใหญ่ๆ เป็นของตัวเองกันแล้ว โดยเฉพาะการซื้อบ้าน ที่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าใดเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่สำคัญ ทั้งราคาบ้าน ค่างวดบ้าน ไปจนถึงการใช้ดอกเบี้ยบ้านเพื่อลดหย่อนภาษีว่าต้องเลือกอย่างไรจึงจะเหมาะกับตัวเองมากที่สุด

“ค่างวดบ้าน” ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

การซื้อบ้านคือการซื้ออนาคต ซึ่งอาจกระทบกับการใช้จ่ายส่วนหนึ่งในครอบครัว ซึ่งอาจกินเวลาเพียงไม่กี่ปี หรือยาวนานไปจนถึง 20-30 ปีเลยก็ได้

ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อบ้านเราต้องดู กำลัง ของตัวเองก่อน ว่าสามารถจ่าย ค่างวด หรือเงินที่ใช้ผ่อนชำระในแต่ละเดือนได้ขนาดไหน ไม่ใช่แค่ว่าเงินเดือนสูงระดับหนึ่งจะสามารถซื้อได้ทุกแบบนะครับ ยังต้องสังเกตรายรับรายจ่ายของตัวเองด้วยว่าการผ่อนบ้านในครั้งนี้จะกระทบการใช้เงินโดยรวมหรือไม่ หรือสามารถลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวบางจุดได้หรือเปล่า

ด้วยความที่ค่างวดนั้นเป็นพันธะระยะยาวหลังจากการซื้อบ้าน ในช่วงเวลาการผ่อนบ้านจะมีรายจ่ายตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการมีครอบครัว มีลูก รวมไปถึงเงินเฟ้อ คนจำนวนไม่น้อยซื้อบ้านที่มีราคาสูงเกินกำลัง และหวังพึ่งเงินเดือนว่าจะสูงขึ้นตาม แต่ก็ไม่เป็นไปตามคาดจนต้องเดือดร้อนเงินใช้จ่ายในครอบครัวทางที่ดีที่สุดคือ เราควรรู้รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน เหลือเงินเท่าไหร่ แล้วค่อยซื้อบ้าน

แล้วเราควรมีบ้านราคาเท่าไหร่ดี

โดยทั่วไปแล้วสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มสร้างครอบครัว การผ่อนชำระบ้าน หรือ ค่างวด ต่อเดือน ขอแนะนำว่าไม่ควรเกิน 35-45% ของรายได้ครับ ถ้าอยากชำระหนี้แบบสบายๆ ควรจัดสรรให้ต่ำกว่า 35% และหากเกิน 45% ไปก็ควรจะลดสัดส่วนการผ่อนชำระลงมาหน่อย

เพราะแม้ว่ารายรับเราจะเยอะ แต่รายจ่ายมักจะเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ทั้งการใช้จ่ายส่วนตัวและการลงทุนอื่นๆ ดังนั้นการประเมินค่าใช้จ่ายต่ำเกินไปอาจส่งผลให้เราไม่สามารถหมุนเงินของตัวเองได้ทันในภายหลัง

ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนดว่าเราสามารถยื่นกู้เพื่อซื้อบ้านได้สูงสุด 60% ของรายได้ หมายความว่าถ้าเราเงินเดือน 40,000 บาท เราจะสามารถผ่อนชำระบ้านได้สูงสุด 24,000 บาทต่อเดือน เหลือให้ใช้
จ่ายอื่นๆ 16,000 บาท

หากคิดเป็นราคาบ้านจะตกราวๆ 3.5 ล้านบาท ถ้าราคาเกินจากนี้จะเริ่มเข้าโซนอันตรายสำหรับคนเงินเดือน 40,000 บาท ซึ่งคุณสามารถเปรียบเทียบจากตารางที่เราให้ได้เลยครับ

ตัวอย่าง ราคาบ้านที่เหมาะสมกับรายรับ

เงินเดือน (บาท)
40,000
100,000
ค่างวด (%)
40%
60%
40%
60%
ค่างวด (บาท)
16,000
24,000
40,000
60,000
คงเหลือ (บาท)
24,000
16,000
60,000
40,000

ถ้าหากคุณต้องการที่พึ่งพาตนเองเป็นหลัก ไม่พึ่งพาคนที่บ้าน หรือยังอยากมีเงินออมส่วนหนึ่งเก็บไว้ การกู้เงินเพียง 40% ของเงินเดือน ดูจะเป็นตัวเลือกที่สมเหตุสมผลมากกว่า เพราะสุดท้าย ต่อให้บ้านหลังใหญ่แค่ไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือความสุขของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านครับ

แต่ถ้าคุณเงินเดือนราว 100,000 บาทขึ้นไป มีความมัธยัสถ์ และสามารถวางแผนการเงินได้ในระยะยาวอยู่แล้ว อยากมีบ้านราคาสูงเป็น 10 หรือ 20 ล้านบาทก็สามารถซื้อได้

ดอกเบี้ยบ้านก็นำมาลดหย่อนภาษีได้

แน่นอนว่าการซื้อบ้านสักหลังอาจทำให้เราต้องผ่อนชำระเงินจำนวนหนึ่งเป็นระยะเวลานาน แต่ก็ยังมีเรื่องบางประการที่การผ่อนบ้านช่วยเราได้ นั่นคือการลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาด้วยดอกเบี้ยบ้านครับ

ซึ่งคนที่สามารถใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีได้จะต้องตรงตามเงื่อนไขดังนี้

  1. บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้สามารถใช้ดอกเบี้ยบ้านเพื่อลดหย่อนภาษีได้

  2. ดอกเบี้ยที่นำมาลดหย่อนภาษีต้องเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

  3. ต้องเป็นเงินกู้ที่กู้จากสถาบันทางการเงินหรือธนาคารในประเทศไทยเท่านั้น

โดยการซื้อบ้านจะสามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายจริงมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทครับ หากมีความสงสัยว่าลดหย่อนภาษีไปได้มากขนาดไหน เรามีตารางการคำนวณเปรียบเทียบที่คำนวณส่วนลดจากดอกเบี้ยบ้านแล้วเสร็จมาให้ครับ

ตัวอย่าง นาย ก. และนาย ข. ทำงานประจำมีรายได้ 100,000 บาทต่อเดือนเท่ากัน นาย ก. โสด จึงเลือกที่จะอยู่บ้านหลังเดิมคนเดียว นาย ข. มีครอบครัว จึงเลือกที่จะซื้อบ้านเพื่อครอบครัวของตัวเอง

รายได้

  • รายได้ทั้งปี 1.2 ล้าน

ค่าลดหย่อน

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัวของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

  • ค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 บาท

  • ค่าประกันสังคม 9,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนบ้าน 100,000 บาท (เฉพาะนาย ข.)

เงินสุทธิ นาย ก. 1,200,000 - (100,000 + 60,000 + 9,000) = 1,031,000
เงินสุทธิ นาย ข. 1,200,000 - (100,000 + 60,000 + 9,000) = 931,000

ตัวอย่าง การลดหย่อนภาษีด้วยดอกเบี้ยบ้าน

นาย ก. VS นาย ข.
1,200,000 เงินได้ 1,200,000
- ดอกเบี้ยบ้าน 100,000
25% อัตราภาษี 20%
135,000 ต้องเสียภาษี 101,200
10.88% อัตราภาษีแท้จริง 8.43%

การลดหย่อนภาษีด้วยดอกเบี้ยบ้านสามารถประหยัดเงินได้ถึง 130,500 - 101,200 = 29,300 เลยทีเดียว

Tips :  ในกรณีที่เป็นการกู้ร่วมเพื่อซื้อบ้านจะไม่สามารถโอนดอกเบี้ยกู้ยืมเงินให้ผู้อื่นได้ จะเฉลี่ยตามผู้กู้เสมอ ยกเว้นแต่เป็นการกู้ร่วมของสามีภรรยาที่จดทะเบียนตามกฎหมาย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีเงินได้ สามารถใช้สิทธิโอนดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับอีกฝ่ายได้

นอกจากบ้านจะเป็นเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตของสังคมแล้ว คงเห็นแล้วนะครับว่าการผ่อนบ้านสามารถนำมาลดหย่อนได้อีกด้วย

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.krungsri.com

 1122
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ความเป็นธรรมในการบริหารค่าจ้าง หลายๆ บริษัทที่มีการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ต่างก็พยายามที่จะสร้างความเป็นธรรมในเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นในองค์กรทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าองค์กรมีความเป็นธรรมในการบริหาร ค่าจ้างเงินเดือน
2690 ผู้เข้าชม
“ภาษี” อาจเป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนหลายคนคิดว่ายุ่งยากและน่าปวดหัวที่สุด โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มก้าวแรกของชีวิตการทำงานและยังไม่เคยมีประสบการณ์การยื่นแบบเพื่อจ่ายภาษีประจำปีมาก่อน คุณอาจมีคำถามและข้อสงสัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนของเราต้องจ่ายภาษีมั้ย? จ่ายภาษีอย่างไร? แล้วเงินภาษีส่วนเกินที่จ่ายไปนั้นจะได้คืนหรือเปล่า?
4111 ผู้เข้าชม
การวางแผนภาษีเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงปลายปีแบบนี้ ซึ่งเราทุกๆคนมีหน้าที่จะต้องจ่ายภาษีในช่วงต้นปีถัดไป ก่อนถึงกำหนดจ่ายภาษี การวางแผนภาษีไม่ใช่การหนีภาษีนะ แต่ถือเป็นกระบวนการที่ถูกต้องตามหลักสิทธิประโยชน์ทางภาษีทางกฎหมายที่ระบุไว้อยู่แล้ว
2059 ผู้เข้าชม
แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relation) เป็นความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้อง หรือการปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายนายจ้าง หรือฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายจัดการฝ่ายหนึ่ง กับฝ่ายลูกจ้าง หรือฝ่ายพนักงาน หรือฝ่ายผู้ปฏิบัติงานอีกฝ่ายหนึ่ง
22865 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์